ไทเป--15 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับความสนใจจากโลกอีกครั้ง ในขณะที่โลกกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ จากการระบาดของโควิด-19 โดยก่อนหน้านี้แม้จะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในหมู่ผู้เข้าร่วมอยู่บ้าง แต่การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 ( COP26) ก็บรรลุข้อตกลงด้านการลดการใช้ถ่านหินทั่วโลกฉบับแรกด้วยกันได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทและบุคคลทั่วไปจะต้องพยายามต่อไป เพื่อมุ่งสู่อนาคตของการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDG)
รางวัลเชิดชูความยั่งยืนขององค์กรระดับโลก ( GCSA) นำเป้าหมาย UN SDG ที่ร่างไว้ในวาระประจำค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติเป็นเกณฑ์ และผู้เข้าร่วมจะได้ประโยชน์จาก
ในปี 2565 รางวัลเชิดชูความยั่งยืนขององค์กรระดับโลกจะให้รางวัลและการยกย่องใน 3 สาขาด้วยกัน ดังนี้
ปิดรับสมัครในวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 โดยจะแจ้งให้ผู้ชนะรางวัลทราบในวันที่ 8 ตุลาคม 2565 และพิธีมอบรางวัลจะมีขึ้นในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ระหว่างการประชุมระดับโลกด้านความยั่งยืนขององค์กร ( Global Corporate Sustainability Forum หรือ GCSF) ครั้งที่ 5 ที่กรุงไทเปของไต้หวัน โดยผู้ชนะที่เข้าร่วมพิธีไม่ได้จะได้รับการยกย่องผ่านแพลตฟอร์มสื่อ และส่งถ้วยรางวัลให้ทางไปรษณีย์
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัลเชิดชูความยั่งยืนขององค์กรระดับโลกได้ที่ www.globalcsaward.org
หากต้องการคำชี้แจงเพิ่มเติม โปรดติดต่อกองเลขาธิการรางวัลทาง gcsa@taise.org.tw
สรุปข้อมูลแนะนำรางวัลเชิดชูความยั่งยืนขององค์กรระดับโลก
รางวัลเชิดชูความยั่งยืนขององค์กรระดับโลก ( GCSA) ก่อตั้งขึ้นในปี 2561 เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดย GCSA มอบรางวัลและยกย่องบริษัท องค์กร และบุคคล จากความพยายามในการบรรลุความยั่งยืน ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา มีผู้ได้รับรางวัลไปแล้ว 93 ราย จากฝรั่งเศส ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เยอรมนี สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา