ปักกิ่ง--27 ก.ค. 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ภาพถ่ายทางอากาศรูปวัดไคหยวน (Kaiyuan Temple) ในเมืองเฉวียนโจว มณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกของจีน (ภาพโดยเฉิน เสี่ยวหยาง (Chen Xiaoyang))
เป็นเวลาหนึ่งปีแล้วที่ "เฉวียนโจว ศูนย์กลางทางการค้าของโลกสมัยราชวงศ์ซ่ง-หยวนของจีน" ("Quanzhou: Emporium of the World in Song-Yuan China") ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก (UNESCO) และเฉวียนโจว เมืองชายฝั่งในมณฑลฝูเจี้ยน ทางตะวันออกของจีน ได้พยายามอย่างหนักมาตลอดทั้งปีเพื่อตั้งตัวเป็นแบบอย่างในด้านการคุ้มครองและการใช้ประโยชน์จากแหล่งมรดกโลก
เฉวียนโจวเป็นหนึ่งในเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามเส้นทางสายไหมทางทะเลในประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์ซ่งของจีนโบราณ (พ.ศ. 1503-1822) และราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1814-1911) โดยชุดทรัพย์สมบัติของ "เฉวียนโจว ศูนย์กลางทางการค้าของโลกสมัยราชวงศ์ซ่ง-หยวนของจีน" ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างและอาคารสถานที่ราชการ, ศาสนสถาน และรูปปั้น รวมทั้งสิ้น 22 แห่ง
ทั้งนี้ เฉวียนโจวได้พยายามอย่างหนักมาตลอดทั้งปีเพื่อเสริมสร้างการคุ้มครองและการใช้ประโยชน์จากมรดกทางวัฒนธรรม
เมื่อต้นปี เฉวียนโจวออกมาตรการคุ้มครองและจัดการมรดกโลก "เฉวียนโจว ศูนย์กลางทางการค้าของโลกสมัยราชวงศ์ซ่ง-หยวนของจีน" และในปีนี้ กฎเกณฑ์การคุ้มครองเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเฉวียนโจวก็มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการด้วยเช่นกัน โดยให้การสนับสนุนทางกฎหมายสำหรับการคุ้มครองและการใช้ประโยชน์จากมรดกโลกในระยะยาวอย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ เฉวียนโจวยังได้สร้างแพลตฟอร์มการจัดการข้อมูลสำหรับโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ และได้จัดตั้ง "ฐานการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายสำหรับมรดกทางวัฒนธรรม"
ถัง หงเจี๋ย (Tang Hongjie) หัวหน้าสถาบันวิจัยโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีแห่งเฉวียนโจว (Quanzhou Cultural Relics and Archaeology Research Institute) กล่าวว่า "การได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้วไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นใหม่" โดยให้ข้อสังเกตว่า การทำงานด้านโบราณคดีในระยะยาวและยั่งยืนนับเป็นสิ่งจำเป็นต่อการคุ้มครองและใช้ประโยชน์จากมรดกโลก ต่อการแผยแพร่และแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของมรดกโลก ต่อการบอกเล่าเรื่องราวของประเทศจีน
เฉวียนโจวใช้โอกาสจากการได้รับสถานะมรดกโลกทางวัฒนธรรมของยูเนสโก โดยให้ความสำคัญกับการก่อสร้างอุทยานโบราณสถานของเมือง นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนการวิจัยเบื้องต้นทางโบราณคดีเกี่ยวกับมรดกโลกทางวัฒนธรรมเฉวียนโจว ปี 2564-2578 อีกด้วย
เพื่อให้โบราณวัตถุทางวัฒนธรรมมีชีวิตชีวาขึ้นมา เฉวียนโจวจึงได้สร้างห้องจัดแสดงนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อมอบประสบการณ์ดื่มด่ำในแหล่งมรดก ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวมรดกและประวัติศาสตร์ของเมืองเฉวียนโจวด้วยภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของนิทรรศการ
นอกจากนี้ เมืองเฉวียนโจวยังใช้แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ๆ และแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เพื่อฉายภาพเฉวียนโจวจากมิติการท่องเที่ยว มิติการสร้างวัฒนธรรม คำอธิบาย และมิติอื่น ๆ โดยคนดังในแวดวงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นเองก็มีส่วนอย่างมากในการโปรโมตเฉวียนโจว
ดูลิงก์ต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/329221.html