กรุงเทพฯ--20 ก.ย. 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
งานหัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี 2565 หรือ HUAWEI CONNECT 2022 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 19 กันยายนที่งานประชุมสุดยอด Huawei Cloud Summit ภายใต้ธีม "จุดประกายนวัตกรรมด้วยสรรพสิ่งในรูปแบบบริการ" (Inspire Innovation with Everything as a Service) คุณเจิง ซิงอวิ๋น (Zeng Xingyun) ประธานหัวเว่ยคลาวด์ (Huawei Cloud) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก, คุณวิลเลียม ฟ่าง (William Fang) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย คลาวด์ รวมถึงลูกค้าและคู่ค้าได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ ในระหว่างงาน หัวเว่ย คลาวด์ได้เผยแพร่สมุดปกขาวว่าด้วยสถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟ 2.0 (Cloud Native 2.0 Architecture White Paper) และเปิดตัวคลาวด์ เนทีฟ อีลิท คลับ (Cloud Native Elite Club: CNEC) ประจำภูมิภาคร่วมกับคลาวด์ เนทีฟ คอมพิวติ้ง ฟาวน์เดชัน (Cloud Native Computing Foundation: CNCF) เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ย คลาวด์ได้เสนอความคิดริเริ่ม 3 ประการ ได้แก่ การดำเนินการด้วยปณิธานเชิงกลยุทธ์, การเปิดรับคลาวด์เนทีฟ และการปลูกฝังบุคลากรด้านดิจิทัล
คุณเจิงกล่าวปาฐกถาพิเศษว่า การเริ่มใช้งานคลาวด์เนทีฟคือการคิดแบบคลาวด์เนทีฟและทำแบบคลาวด์เนทีฟ หัวเว่ย พร้อมด้วยลูกค้าและพันธมิตร จะได้เห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลที่ขับเคลื่อนโดยคลาวด์เนทีฟในเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ย คลาวด์ยึดมั่นในแนวทาง "โดยท้องถิ่น เพื่อท้องถิ่น" โดยจะส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกผ่านการเสริมสร้างการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน, บริการ B2B ระดับมืออาชีพ, อีโคซิสเต็มของคู่ค้า บริการสำหรับนักพัฒนา และการสนับสนุนสตาร์ตอัป
หัวเว่ย คลาวด์ได้จัดตั้งศูนย์บริการท้องถิ่นแล้ว 13 แห่งในเอเชียแปซิฟิก โดยมีวิศวกรที่ผ่านการรับรองมากกว่า 1,000 คนเพื่อให้บริการที่ออกแบบมาให้เหมาะสม นอกจากนี้ การพัฒนาอีโคซิสเต็มยังประสบผลสำเร็จ โดยมีคู่ค้าในท้องถิ่นมากกว่า 2,500 รายที่สร้างรายได้มากกว่า 50% ของหัวเว่ย คลาวด์ นอกจากนี้ หัวเว่ย คลาวด์ยังก้าวไปข้างหน้าด้วยความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม, ภาครัฐ และภาคการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การลงทุนในหัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี (Huawei ASEAN Academy) และโครงการเมล็ดพันธุ์เพื่ออนาคต (Seeds for the Future) จะนำไปใช้เพื่อบ่มเพาะผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลมากกว่า 1 ล้านคนในช่วง 5 ปีข้างหน้า
ในฐานะผู้บุกเบิกคลาวด์เนทีฟ หัวเว่ย คลาวด์ให้บริการ 80% ของบริษัทอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด 50 แห่งในประเทศจีน และบริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่กว่า 200 แห่งในเอเชียแปซิฟิก ส่วนในเมืองซาราวัก ประเทศมาเลเซียนั้น หัวเว่ย คลาวด์ ร่วมกับพันธมิตรได้สร้างโครงสร้างพื้นฐานแบบคลาวด์เนทีฟเพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันของหน่วยงานรัฐบาลมากกว่า 30 หน่วยงานใน 5 สาขา และให้บริการรัฐบาลดิจิทัลและเมืองอัจฉริยะมากกว่า 80 รายการเพื่อให้แน่ใจว่ามีประสิทธิภาพและมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น ในอินโดนีเซีย หัวเว่ย คลาวด์ได้มอบรากฐานข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียวเพื่อช่วยให้ซีที คอร์ป (CT Corp) โยกย้ายบริการสื่อ, การค้าปลีก และการเงินไปยังคลาวด์ ช่วยให้คำแนะนำที่แม่นยำสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 200 ล้านคน เทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟของหัวเว่ย คลาวด์ช่วยให้ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในประเทศไทยเปิดตัวบริการสินเชื่อดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว การอนุมัติและการออกเงินกู้ซึ่งเคยใช้เวลาดำเนินงานหนึ่งเดือน กลายเป็นระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ และสามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 5 นาที
คุณวิลเลียมยืนยันอีกครั้งถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ย คลาวด์ในการคิดและทำแบบคลาวด์เนทีฟ และยึดมั่นในกลยุทธ์ Everything-as-a-Service เป้าหมายสูงสุดคือการนำเสนอความสามารถแบบคลาวด์เนทีฟแบบฟูลสแตกแก่ลูกค้า มีการเปิดตัวบริการ 4 อย่างและผลิตภัณฑ์มากกว่า 10 รายการที่งานหัวเว่ย คอนเนกต์ในปีนี้ เช่น ซีซีอี เทอร์โบ (CCE Turbo) (เอ็นจิ้นคอนเทนเนอร์รุ่นใหม่) และ UCS (บริการคลาวด์เนทีฟแบบทุกหนทุกแห่ง) จะเปิดตัวในเอเชียแปซิฟิกและขยายไปทั่วโลก ในอนาคตหัวเว่ย คลาวด์จะก้าวไปไกลกว่านั้นเพื่อเติมความมีชีวิตชีวาให้กับโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์เนทีฟ การพัฒนาแอปพลิเคชันบนคลาวด์เนทีฟ และการบรรจบกันของข้อมูลและ AI นอกจากนี้ การประชุมสุดยอดครั้งนี้ยังทำให้หัวเว่ย คลาวด์ได้เปิดตัวสมุดปกขาวว่าด้วยสถาปัตยกรรมคลาวด์เนทีฟ 2.0 ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าพัฒนาและก้าวไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลในอนาคต
เพื่อเร่งการแปลงเป็นดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกด้วยคลาวด์เนทีฟ หัวเว่ย คลาวด์ได้ร่วมมือกับ CNCF และผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเพื่อเปิดตัว CNEC ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก CNEC มีส่วนทำให้เทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟเป็นที่นิยมและเติบโตเต็มที่ในประเทศจีนในช่วงสองปีที่ผ่านมา CNEC ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านคลาวด์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ และมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลขององค์กรในท้องถิ่น CNEC เป็นแพลตฟอร์มสำหรับแลกเปลี่ยนประสบการณ์บนคลาวด์เนทีฟเพื่อให้องค์กรจำนวนมากขึ้นสามารถเจาะลึกเข้าไปในระดับแนวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟและใช้งานคลาวด์เนทีฟได้ดียิ่งขึ้น การแลกเปลี่ยนความคิดจะสร้างโอกาสมากขึ้นสำหรับระบบคลาวด์เนทีฟในการเสริมพลังให้กับนวัตกรรมอุตสาหกรรม สร้างสรรค์สิ่งใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นดิจิทัลในเอเชียแปซิฟิก
คุณวิลเลียมกล่าวว่าหัวเว่ย คลาวด์จะยังคงสร้างสรรค์นวัตกรรมเทคโนโลยีแบบฟูลสแตกต่อไปเพื่อบุกเบิกด้านคลาวด์เนทีฟ เพิ่มขีดความสามารถให้อุตสาหกรรมผ่านโครงสร้างพื้นฐานในฐานะบริการ (Infrastructure as a Service), เทคโนโลยีในฐานะบริการ (Technology as a Service) และความเชี่ยวชาญในฐานะบริการ (Expertise as a Service) ตลอดจนปลดปล่อยผลิตภาพดิจิทัลด้วยสรรพสิ่งในรูปแบบบริการ (Everything as a Service)