omniture

ราชกรรมาธิการอัลอูลาสนับสนุนการวิจัย 'ว่าวทะเลทราย' ไขความกระจ่างกับดักสัตว์โบราณขนาดใหญ่ในยุคหิน

Royal Commission for AlUla
2022-10-25 18:10 80
  • ผลการศึกษาที่ได้ช่วยขยายคลังข้อมูลและขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของกับดักสัตว์ขนาดยักษ์ ซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ที่สุดที่มนุษย์ยุคโบราณสร้างขึ้น
  • สัตว์ถูกไล่ต้อนไปตามกำแพงหินระยะทางหลายร้อยเมตรที่ไปบรรจบกันตรงหน้าผาหรือหลุมพรางดักจับ
  • ราชกรรมาธิการอัลอูลาเดินหน้าสนับสนุนการค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมของภูมิภาคผ่านการวิจัยดังกล่าว เพื่อเป็นรากฐานทางปัญญาให้กับสถาบันราชอาณาจักร (Kingdoms Institute) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางด้านโบราณคดีของอัลอูลา

อัลอูลา ซาอุดีอาระเบีย, 24 ตุลาคม 2565 /PRNewswire/ -- งานวิจัยฉบับใหม่เกี่ยวกับกับดักสัตว์โบราณที่สร้างขึ้นในยุคหิน หรือที่รู้จักในชื่อ 'ว่าวทะเลทราย' (Desert Kites) ผ่านการพิจารณากลั่นกรองและประเมินคุณภาพทางวิชาการแล้ว โดยงานวิจัยเผยให้เห็นถึงวิธีการล่าสัตว์ป่าในช่วงปลายยุคหินใหม่ ซึ่งมีความซับซ้อนและครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ทั้งยังแสดงถึงความเฉลียวฉลาดและลักษณะการทำงานร่วมกันของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ในอดีต

รับชมข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่  

https://www.multivu.com/players/uk/9102251-research-supported-by-royal-commission-alula-insights-into-ancient-animal-traps/

โครงสร้างเหล่านี้ถูกเรียกว่า 'ว่าว' โดยนักบินในช่วงทศวรรษที่ 1920 เนื่องจากเมื่อสังเกตจากด้านบน รูปแบบของโครงสร้างเหล่านี้ชวนให้นึกถึงว่าวเด็กสมัยก่อนที่มีหางยาวสะบัดพลิ้ว อย่างไรก็ตาม จุดกำเนิดและหน้าที่ของโครงสร้างขนาดใหญ่โตมโหฬารเหล่านี้ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่

ดร.เรมี คราสสาร์ด (Dr Remy Crassard) ผู้เชี่ยวชาญด้านว่าวทะเลทรายในระดับแนวหน้า กล่าวว่า ว่าวทะเลทรายคือโครงสร้างโบราณที่ใหญ่ที่สุดของยุคนั้น ว่าวที่เก่าแก่ที่สุดทางตอนใต้ของจอร์แดนมีอายุถึง 7000 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนว่าวที่เพิ่งค้นพบใหม่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอาระเบียยังคงอยู่ระหว่างการกำหนดอายุ แต่เชื่อว่าน่าจะอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากปลายยุคหินใหม่เป็นยุคสำริด (5000–2000 ปีก่อนคริสตกาล) ดร.คราสสาร์ดเป็นนักวิจัยในสังกัดศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติของฝรั่งเศส (CNRS) อีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการร่วมของโครงการโบราณคดี เคย์บาร์ ล็องก์ ดูเร (Khaybar Longue Durée Archaeological Project) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากราชกรรมาธิการอัลอูลา (Royal Commission for AlUla: RCU) และพันธมิตรอย่าง สำนักงานเพื่อการพัฒนาอัลอูลาของฝรั่งเศส (Afalula) ดร.คราสสาร์ดประมาณการว่า เมื่อ 20 ปีก่อนมีการค้นพบว่าวทะเลทรายประมาณ 700-800 แห่ง เทียบกับตัวเลขปัจจุบันที่ประมาณ 6,500 แห่ง และยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ

จากการวิจัยล่าสุดที่ดำเนินการในซาอุดีอาระเบีย จอร์แดน อาร์เมเนีย และคาซัคสถาน ทีมของดร.คราสสาร์ดยืนยันว่า ว่าวถูกใช้สำหรับการล่าสัตว์ ไม่ใช่เพื่อการเลี้ยงสัตว์ ว่าวทะเลทรายนับ "เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการดักจับสัตว์ของมนุษย์" และ "การพัฒนากับดักขนาดใหญ่เหล่านี้สร้างผลกระทบต่อภูมิทัศน์ของมนุษย์อย่างน่าทึ่ง" ว่าวอาจนำไปสู่การล่าในระดับที่สูงกว่าการยังชีพ ซึ่งสัมพันธ์กับ "พฤติกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารและโครงสร้างทางสังคม" สัตว์ป่าบางชนิด เช่น ละมั่ง อาจเปลี่ยนแปลงเส้นทางการอพยพของพวกมัน และสัตว์ชนิดอื่น ๆ อาจถูกล่าจนสูญพันธุ์

ในซาอุดีอาระเบีย งานวิจัยที่นำโดยคุณรีเบกกา เรปเปอร์ (Rebecca Repper) จากทีมโบราณคดีทางอากาศในอัลอูลาของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก RCU สำรวจพบว่าวที่ยังไม่เคยค้นพบมาก่อน 207 แห่งในเขตอัลอูลา ว่าวเหล่านี้ถูกค้นพบมากเป็นพิเศษบน Harrat 'Uwayrid ซึ่งเป็นพื้นที่สูงที่มีภูเขาไฟที่ดับแล้ว ทีมวิจัยพบว่า ว่าวรูปตัว V เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุดในพื้นที่วิจัย ต่างกับว่าวที่พบในพื้นที่อื่น ๆ ในภูมิภาคแถบนี้ ทั้งนี้ นักโบราณคดีมักอธิบายลักษณะของว่าวเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น รูปตัว V, ถุงเท้า, ขวานเล็ก และรูปตัว W

ว่าวทั้งหมดในภูมิภาคนี้ ไม่ว่ารูปทรงใด จะมีแนวกำแพงหินเตี้ย ๆ ที่ลู่เข้าหากับดักสัตว์ทรงกรวยซึ่งไปบรรจบกับหลุมหรือหน้าผา โดยเฉลี่ยแล้ว เส้นทางของว่าวที่พบในอัลอูลามีความยาวประมาณ 200 เมตร อย่างไรก็ตาม ว่าวที่พบที่อื่นอาจมีระยะทางยาวถึงหลายกิโลเมตร น.ส.เรปเปอร์กล่าวว่า ความยาวที่สั้นกว่านั้นแสดงถึงความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ของนักล่า ซึ่งทำให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะวางกับดักในพื้นที่ที่ภูมิประเทศจำกัดการเคลื่อนไหวของสัตว์โดยธรรมชาติ การวางกับดักเหล่านี้ยังชี้ให้เห็นว่า นักล่ามีความรู้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเหยื่อเป็นอย่างดีอีกด้วย

การศึกษาวิจัยพบว่า ว่าวที่พบในภูมิภาคอัลอูลามักจะเป็นรูปทรงกรวยที่ไล่ต้อนสัตว์ให้ตกลงไปยังหน้าผา ต่างจากว่าวที่อื่นที่มักจะจบลงในหลุมพราง ซึ่งสัตว์หลายร้อยตัวอาจถูกฆ่าระหว่างการล่าเพียงครั้งเดียว ความแตกต่างนี้อาจเป็นการปรับตัวให้เข้ากับภูมิศาสตร์ท้องถิ่น หรือเป็นวิวัฒนาการของการล่าสัตว์โดยใช้กับดัก

การวิจัยของทีมนักโบราณคดีทางอากาศในภูมิภาคนี้ช่วยเสริมการทำงานของดร.คราสสาร์ดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ดร.คราสสาร์ดเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับว่าวของเคย์บาร์ในการศึกษาเรื่องลำดับเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กันของประเภทว่าว ซึ่งนำโดยดร.โอลิวิเยร์ บาร์ก (Dr Olivier Barge) จาก CNRS และได้รับการตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ ทั้งนี้ในเคย์บาร์ พบว่าวแตกต่างกันอยู่สองประเภท ได้แก่ ว่าวทะเลทรายที่มีรูปทรงตามแบบแผน และว่าวรูปแบบแรกเริ่ม (Proto-kites) ที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยไม่มีกับดักหรือหลุมล้อมรอบ ทีมวิจัยชี้ว่า ว่าวรูปแบบแรกเริ่มอาจเกิดก่อนว่าวทะเลทราย ว่าวที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอาจสะท้อนถึงเทคนิคการล่าที่ฉวยโอกาสน้อยลง และมีรูปแบบที่เป็นทางการมากขึ้น

ดร.รีเบกกา ฟูต (Dr Rebecca Foote) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยโบราณคดีและมรดกทางวัฒนธรรมของ RCU กล่าวว่า "การศึกษาเหล่านี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจของเราเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของชาวอาระเบียทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งในกรณีนี้คือการให้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับพิธีกรรมในยุคก่อนประวัติศาสตร์ การศึกษาล่าสุดขยายต่อยอดจากการค้นพบก่อนหน้านี้ของเราเกี่ยวกับยุคหินใหม่ ซึ่งรวมถึงการสร้างโครงสร้างพิธีกรรมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Mustatils ขณะที่เราเริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงของงานภาคสนามทางโบราณคดีที่ได้รับการสนับสนุนจาก RCU พร้อมด้วยทีมงานจากราชอาณาจักรซาอุฯ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย เยอรมนี และอื่น ๆ เราตั้งตารอการค้นพบเชิงลึกอีกมากมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานอันยิ่งใหญ่ของเราในการสร้างศูนย์กลางการวิจัยและการอนุรักษ์ทางโบราณคดีในอัลอูลา"

ศูนย์กลางดังกล่าวคือ สถาบันราชอาณาจักร (Kingdoms Institute) ซึ่งปัจจุบันมีบทบาทเป็นองค์กรวิจัย และมีแผนที่จะเปิดสถานที่ดำเนินงานที่อัลอูลาภายในปี 2573 งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก RCU ทั้งในและรอบ ๆ อัลอูลากำลังเพิ่มฐานความรู้ให้กับสถาบันราชอาณาจักร ทั้งนี้ RCU คาดว่าสถาบันแห่งนี้จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญเมื่อถึงเวลาที่อัลอูลาเปิดรับผู้มาเยือน 2 ล้านคนต่อปีในปี 2578

ดร.อิงกริด เปริสเซ วาเลโร (Dr Ingrid Périssé Valéro) ผู้อำนวยการฝ่ายโบราณคดีและมรดกของ Afalula กล่าวว่า "ว่าวที่ถูกค้นพบใหม่ในอัลอูลาและเคย์บาร์เปิดมุมมองที่สำคัญเกี่ยวกับจุดกำเนิด การพัฒนา และการแพร่กระจายของโครงสร้างการล่าสัตว์เหล่านี้ ซึ่งเป็นหมุดหมายสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การวิจัยที่ทีมนานาชาติเหล่านี้ค้นพบ ซึ่งรวมถึงผลงานของดร.เรมี คราสสาร์ด ผู้เชี่ยวชาญของฝรั่งเศสนั้น ได้รวมผลการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมและงานภาคสนาม ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้เราทราบหลักการทำงานและกำหนดอายุของว่าวได้อย่างแม่นยำ โดยการวิเคราะห์วัตถุที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเหล่านี้ ทั้งนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า การวิจัยที่ดำเนินอยู่นี้จะเป็นหมุดหมายของการศึกษาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์"

อ่านผลการค้นพบโดยละเอียดได้จากงานวิจัยล่าสุด ดังต่อไปนี้:

  • 'The Use of Desert Kites as Hunting Mega Traps: Functional Evidence and Potential Impacts on Socioeconomic and Ecological Spheres' by Rémy Crassard, et al, published in Journal of World Prehistory. Project sponsored by CNRS and French National Research Agency.
  • 'Kites of AlUla County and the Ḥarrat 'Uwayriḍ, Saudi Arabia' by Rebecca Repper, et al, published in Arabian Archaeology and Epigraphy. Project sponsored by RCU.
  • 'New Arabian desert kites and potential proto-kites extend the global distribution of hunting mega-traps' by Olivier Barge, et al, published in Journal of Archaeological Science: Reports. Khaybar data in this article results from the Khaybar Longue Durée Archaeological Project.

ดาวน์โหลดเอกสารสรุปข้อมูลสำคัญ และแผนภาพโครงร่างของว่าวทะเลทราย ได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/13DjahX1JKFkiSY2DJvXVE6i5CXlhMwC6 

เกี่ยวกับราชกรรมาธิการอัลอูลา

ราชกรรมาธิการอัลอูลา (Royal Commission for AlUla: RCU) ก่อตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาในเดือนกรกฎาคมปี 2560 เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองอัลอูลาในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ แผนการระยะยาวของราชกรรมาธิการอัลอูลาคือการพัฒนาเศรษฐกิจและเมืองด้วยความระมัดระวัง รับผิดชอบ และยั่งยืน พร้อมกับอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมให้เมืองอัลอูลาเป็นจุดหมายปลายทางการอยู่อาศัย ทำงาน และท่องเที่ยว เป้าหมายเหล่านี้ก่อให้เกิดโครงการมากมายทั้งในด้านโบราณคดี การท่องเที่ยว การศึกษา ศิลปะ ธรรมชาติ และอีกมากมาย ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในการตอบสนองต่อความหลากหลายทางเศรษฐกิจ การสร้างพลังให้กับชุมชน และการอนุรักษ์มรดกตกทอดตามวิสัยทัศน์ปี 2573 หรือ Vision 2030 ของซาอุดีอาระเบีย

รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1926110/Royal_Commission_for_AlUla.jpg?p=medium600
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1926109/Royal_Commission_AlUla_Logo.jpg?p=medium600

 

Aerial view of a kite in the Khaybar area of north-west Saudi Arabia. These ancient hunting structures were named ‘kites’ by aviators in the 1920s because, observed from above, their form is reminiscent of old-fashioned child’s kites with streamers. (Diaa Albukaai and Kévin Guadagnini, Khaybar Longue Durée Archaeological Project, RCU-Afalula-CNRS)
Aerial view of a kite in the Khaybar area of north-west Saudi Arabia. These ancient hunting structures were named ‘kites’ by aviators in the 1920s because, observed from above, their form is reminiscent of old-fashioned child’s kites with streamers. (Diaa Albukaai and Kévin Guadagnini, Khaybar Longue Durée Archaeological Project, RCU-Afalula-CNRS)

 

 

Source: Royal Commission for AlUla
Keywords: Art Education Environmental Products & Services Travel Broadcast feed announcements Survey, Polls & Research Outdoors/Camping/Hiking
Related News