omniture

การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรระดับโลก ประจำปี 2565 ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลระหว่างจีนกับอาเซียน

National Institute for South China Sea Studies, China
2022-11-08 15:08 115

ซานย่า จีน--8 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ระหว่างวันที่ 3 ถึง 4 พฤศจิกายน 2565 "การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทร" (Ocean Cooperation and Governance Forum) ประจำปี 2565 ซึ่งร่วมจัดขึ้นโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการศึกษาทะเลจีนใต้ (National Institute for South China Sea Studies) ประเทศจีน ได้เริ่มต้นขึ้นในเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน ความร่วมมือทางทะเลระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนได้พัฒนาขึ้นจากการสำรวจระยะแรกเริ่มในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่ขอบข่ายความร่วมมือนั้นขยายใหญ่และหลากหลายขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ในการมุ่งจัดการกับปัญหาภาวะโลกรวน ประเด็นสำคัญในการดำเนินงานของความร่วมมือทางทะเลระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียน ประกอบด้วยการบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล การวางแผนและจัดตั้งอุทยานทางทะเลหรือพื้นที่คุ้มครอง การป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางทะเล และการคุ้มครองสายพันธุ์ทางทะเลที่ใกล้สูญพันธุ์

การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรระดับโลก ประจำปี 2565 เสร็จสิ้นลงอย่างประสบความสำเร็จ ณ เมืองซานย่า ประเทศจีน
การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรระดับโลก ประจำปี 2565 เสร็จสิ้นลงอย่างประสบความสำเร็จ ณ เมืองซานย่า ประเทศจีน

ในแง่นี้ จีนและกลุ่มประเทศอาเซียนได้สำรวจและสร้างกลไกความร่วมมือระยะยาวอย่างหลากหลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ยกตัวอย่างเช่น จีนได้ตั้ง "กองทุนความร่วมมือทางทะเลจีน-อาเซียน" (China-ASEAN Maritime Cooperation Fund) และ "กองทุนความร่วมมือทางทะเลจีน-อินโดนีเซีย" (China-Indonesia Maritime Cooperation Fund) เพื่อให้การสนับสนุนโครงการความร่วมมือทางทะเลระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนอย่างสม่ำเสมอ การก่อตั้งศูนย์การวิจัยและการพัฒนาร่วมสำหรับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเล (Joint Research and Development Center for Marine Science and Technology) ระหว่างจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียน ได้ทำให้เกิดแพลตฟอร์มสำคัญในการเสริมสร้างการร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเทคโนโลยี ประกอบกับการฝึกอบรมพัฒนาความสามารถที่เกี่ยวข้องกับทะเลระหว่างทั้งสองฝ่าย

ในแง่ของการร่วมมือเชิงปฏิบัติ จีนและกลุ่มประเทศอาเซียนได้ดำเนินการอย่างจริงจังตามปฏิญญาผู้นำว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแนวชายฝั่งและทะเลในทะเลจีนใต้ในทศวรรษต่อไป (Leaders' Declaration on Coastal and Marine Environmental Protection in the South China Sea for the Next Decade) (ระหว่าง พ.ศ. 2560-2570) และได้ร่วมมือกันใน "โครงการลดพลาสติกในทะเล" (Marine Plastic Reduction Initiative), "แผนการคุ้มครองป่าชายเลน" (Mangrove Protection Plan) และโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลอื่น ๆ จีนและกลุ่มประเทศอาเซียนยังได้มีส่วนร่วมในองค์กรบริหารจัดการการประมงระดับภูมิภาค ปฏิบัติตามหลักการ "ความอดทนเป็นศูนย์" (zero tolerance) ต่อการประมงผิดกฎหมาย ตลอดจนศึกษาการเข้าร่วมความตกลงว่าด้วยมาตรการของรัฐเจ้าของท่าเรือในการป้องกัน ปราบปราม และขจัดการประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่มีการรายงาน และไม่มีการกำกับดูแล (Agreement on Port State Measures to Prevent, Deter and Eliminate Illegal, Unreported and Unregulated Fishing)

ในแง่ของสถานที่จัดการประชุม มณฑลไห่หนานเป็นเศรษฐกิจเกาะโดยแท้จริง โดยมีทะเลเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไห่หนาน ในปี 2564 เศรษฐกิจทางทะเลโดยรวมของไห่หนานมีมูลค่า 198,960 ล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วน 30.7% ของจีดีพีมณฑลไห่หนาน หลายคนเชื่อว่าไห่หนานเป็น "เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21" ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการ "ขยายการติดต่อและการร่วมมือกับภายนอก เสริมสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการท่องเที่ยวทางทะเล การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล การประมงในทะเล การค้นหาและกู้ภัยในทะเล" ทั้งนี้เป็นประเด็นที่ไห่หนานจะมุ่งสำรวจในการเปิดสู่โลกภายนอกในระดับสูงและการสร้างความตกลงการค้าเสรี อันเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการเป็นเมืองท่าการค้าเสรี

Source: National Institute for South China Sea Studies, China
Keywords: Maritime/Shipbuilding Transportation