omniture

ศูนย์มะเร็งอพอลโลโปรตอนแคนเซอร์เซ็นเตอร์ ผ่าตัดบายพาสสมองเด็กแฝดผู้ป่วยโรคโมยาโมยาได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในเอเชีย

Apollo Proton Cancer Centre (APCC)
2022-12-07 19:34 191

เจนไน, อินเดีย, 6 ธันวาคม 2565 /PRNewswire/ -- ศูนย์มะเร็งอพอลโลโปรตอนแคนเซอร์เซ็นเตอร์ (Apollo Proton Cancer Centre - APCC) เพิ่งทำการผ่าตัดบายพาสสมองครั้งแรกในเอเชียกับเด็กแฝดอายุ 8 ขวบจากเนเธอร์แลนด์ การผสานเทคโนโลยีขั้นสูงและความเชี่ยวชาญของ APCC ช่วยให้เด็กทั้งคู่ได้รับการผ่าตัดและฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

Left to Right (bottom row): Dr Rajesh Menon, Associate Consultant - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Adhithyan Rajendran, Consultant - Radiology, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Saranyan, Associate Consultant - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr V R Roopesh Kumar, Senior Consultant & Lead - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Arvind Sukumaran, Senior Consultant - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Arulvelan, Senior Consultant - Anaesthesiology, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Lijo Thomas, Chief Nursing Officer, Apollo Proton Cancer Centre
Left to Right (bottom row): Dr Rajesh Menon, Associate Consultant - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Adhithyan Rajendran, Consultant - Radiology, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Saranyan, Associate Consultant - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr V R Roopesh Kumar, Senior Consultant & Lead - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Arvind Sukumaran, Senior Consultant - Neurosurgery, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Arulvelan, Senior Consultant - Anaesthesiology, Apollo Proton Cancer Centre; Dr Lijo Thomas, Chief Nursing Officer, Apollo Proton Cancer Centre

ครั้งนี้นับเป็นการพบผู้ป่วยโรคโมยาโมยา (Moya Moya) เป็นครั้งแรกในเอเชีย โดยโมยาโมยา เป็นโรคหายากที่ทำให้เส้นเลือด (หลอดเลือด) แดงคาโรติด (carotid) ในกะโหลกศีรษะตีบตันหรือถูกปิดกั้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังสมองลดลง อาการดังกล่าวถูกตรวจพบในเด็กหญิงฝาแฝดอายุแปดขวบ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ฝาแฝดคนหนึ่งมีอาการ เช่น การสั่นกระตุกที่มือและขาขวา ซึ่งไม่บ่งชี้ชัดเจนว่าเป็นโรคอะไร การสแกน MRI สมองแสดงให้เห็นว่าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างมีนัยสำคัญในสมองทั้งสองซีก โดยเฉพาะทางด้านซ้าย แต่เดิมคาดกันว่านี่เป็นอาการชักรูปแบบหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วคือภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหลายครั้ง (multiple mini-strokes) ซึ่งมักเรียกว่าโรคลมชักแบบแขนขากระตุก ซึ่งบ่งบอกว่าเลือดไหลเวียนไปยังสมองลดลง ทั้งนี้ เนื่องจากเด็กหญิงทั้งสองเป็นฝาแฝด ทั้งคู่จึงได้รับการตรวจ MRI และมีผลตรวจออกมาคล้ายคลึงกัน ทั้งคู่ได้รับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ระบบประสาทอาวุโส ซึ่งวินิจฉัยว่าทั้งสองเป็นโรคโมยาโมยา

ทีมประสาทวิทยาที่นำโดยดร.รูพีช คุมาร์ (Roopesh Kumar) ที่ปรึกษาอาวุโสแผนกศัลยแพทย์ในทางโรคประสาทของ APCC ได้ตรวจเด็กทั้งคู่เพิ่มเติมโดยใช้ MRI เพื่อประเมินเนื้อสมองที่ยังสามารถช่วยให้กลับคืนมาได้เทียบกับเนื้อสมองที่ตายแล้ว (brain perfusion) ผลตรวจของฝาแฝดทั้งสองออกมาเกือบจะคล้ายกันคือสมองด้านซ้ายได้รับผลกระทบมากกว่าด้านขวา และเนื่องจากไม่มียารักษาโรคนี้ ทีมแพทย์จึงเสนอวิธีการผ่าตัดแบบบายพาสสมอง โดยในกระบวนการดังกล่าว เลือดจากผิวหนังบนศีรษะจะถูกส่งไปยังสมองผ่านช่องที่สร้างขึ้นบนกระดูกกะโหลกศีรษะ ทั้งนี้ แฝดคนที่มีอาการได้รับการผ่าตัดบายพาส STA-MCA ก่อน จากนั้นในวันที่สอง เด็กอีกคนก็เข้ารับการผ่าตัดแบบเดียวกัน

ดร.รูพีช คุมาร์ ที่ปรึกษาอาวุโสแผนกศัลยแพทย์ในทางโรคประสาทของ APCC กล่าวว่า "การผ่าตัดเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีในสมองซีกซ้ายและลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองให้เหลือน้อยที่สุดนั้น ประสบความสำเร็จและเข้ากับร่างกายได้ดี การตัดสินใจทำการผ่าตัดที่ซับซ้อนนี้ทันเวลาได้ช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้ทันท่วงที ที่ APCC ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจะได้รับการดูแลรักษาในศูนย์เฉพาะทางระดับตติยภูมิพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยอดเยี่ยม เทคนิคการผ่าตัดขั้นสูงและความพร้อมของเทคโนโลยี ตลอดจนความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ ช่วยเพิ่มโอกาสในการช่วยชีวิตผู้ป่วยแม้ในภาวะวิกฤต"

รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1962604/APCC.jpg?p=medium600

Source: Apollo Proton Cancer Centre (APCC)
Keywords: Health Care/Hospital Medical/Pharmaceuticals Pharmaceuticals Clinical Trials/Medical Discoveries