omniture

ประกาศผลผู้ชนะรางวัลวินฟิวเจอร์ครั้งที่ 2

VinFuture Foundation
2022-12-22 02:01 156

ฮานอย, เวียดนาม, 21 ธันวาคม 2565 /PRNewswire/ -- วันนี้ คณะกรรมการรางวัลวินฟิวเจอร์ ไพรซ์ (VinFuture Prize Council) ได้ประกาศผลผู้ชนะรางวัลวินฟิวเจอร์ ไพรซ์ (VinFuture Prize) ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีโครงการวิจัยล้ำหน้าที่สามารถบรรลุความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์อย่างยอดเยี่ยมและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้คนบนโลกกว่าหลายพันล้านชีวิตทั้งในปัจจุบันและในอนาคต พวกเขาเหล่านี้เป็นตัวแทนความก้าวหน้าอันยิ่งใหญ่ของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่จะกำหนดทิศทางวิถีชีวิตในทุกด้านและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับมนุษยชาติ

The Grand Prize Winners being presented by Mr. Vuong Dinh Hue - Chairman of the National Assembly of Vietnam. From left to right: Sir Tim Berners-Lee, Dr. Vinton Gray Cerf, Dr. Emmanuel Desurvire and Professor Sir David Neil Payn
The Grand Prize Winners being presented by Mr. Vuong Dinh Hue - Chairman of the National Assembly of Vietnam. From left to right: Sir Tim Berners-Lee, Dr. Vinton Gray Cerf, Dr. Emmanuel Desurvire and Professor Sir David Neil Payn

จากจำนวนผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ 970 ราย จาก 70 ประเทศ 6 ทวีป มีผลงานทางวิทยาศาสตร์ 4 ชิ้นที่โดดเด่นและสอดคล้องกับธีม "Reviving and Reshaping" (ฟื้นฟูและพลิกโฉม) ที่ได้รับการเลือกให้เป็นผู้ชนะ

ผลงานเหล่านั้นประกอบด้วย ความก้าวหน้าที่ทำให้เทคโนโลยีเครือข่ายทั่วโลกเกิดขึ้นจริง การทำนายโครงสร้างโปรตีน 3 มิติโดยใช้ระบบ AI อัลฟาโฟลด์ 2 (AlphaFold 2); การแยกยีน Sub1A ที่ช่วยในการพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทนน้ำท่วม และระบบการกรองต้นทุนต่ำเพื่อกำจัดสารหนูและโลหะหนักอื่น ๆ ออกจากน้ำบาดาล

รางวัลใหญ่

รางวัลใหญ่มูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐมอบให้แก่เซอร์ ทิโมธี จอห์น เบอร์เนอร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee), ดร.วินตัน เกรย์ เซิร์ฟ (Vinton Gray Cerf), ดร.เอ็มมานูเอล เดเซอร์เวียร์ (Emmanuel Desurvire), ดร.โรเบิร์ต เอลเลียต คาห์น (Robert Elliot Kahn) และศาสตราจารย์ เซอร์ เดวิด นีล เพย์น (Sir David Neil Payne) สำหรับความสำเร็จในการทำให้เทคโนโลยีเครือข่ายทั่วโลกเกิดขึ้นจริง ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การสื่อสาร และการทำงาน ทั้งยังวางรางฐานให้กับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในอนาคต

เซอร์ ทิโมธี จอห์น เบอร์เนอร์ส-ลี ได้คิดค้นเวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web) และเป็นผู้เขียนเว็บเบราว์เซอร์ตัวแรก และเป็นผู้นำในการออกแบบและสร้างมาตรฐานอินเทอร์เน็ตที่สำคัญ 3 มาตรฐาน ได้แก่ HTML, HTTP และ URL ซึ่งสิ่งเหล่านี้ช่วยให้สามารถแบ่งปันและใช้งานทรัพยากรข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตทั่วโลกได้อย่างราบรื่น

ดร.วินตัน เกรย์ เซิร์ฟ และดร.โรเบิร์ต เอลเลียต คาห์น เป็นผู้นำในการออกแบบและดำเนินการทรานส์มิชชัน คอนโทรล โปรโตคอล และอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (Transmission Control Protocol และ Internet Protocol หรือ TCP/IP) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการทำงานของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

เทคโนโลยีเครือข่ายทั่วโลกในปัจจุบันพึ่งพาการสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสง (optical fiber) ซึ่งเป็นผลงานจากการพัฒนากว่า 50 ปีของเซอร์ เดวิด นีล เพย์น โดยงานของเขาเกี่ยวข้องกับการออกแบบเส้นใยไฟเบอร์ อุปกรณ์ขยายสัญญาณแสง (optical amplifier) เส้นใยชนิดพิเศษ (specialty fiber) เลเซอร์และอุปกรณ์ขยายสัญญาณแสงกำลังสูง ร่วมกับผลงานสุดล้ำของคุณเอ็มมานูเอล เดเซอร์เวียร์ อย่างอุปกรณ์ขยายสัญญาณแสงเส้นใยเจือแร่เออร์เบียม ทำให้การส่งผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นไปได้ในระดับโลกด้วยความสามารถในการขยายสัญญาณแสงความเร็วสูงซ้ำไปมาของอุปกรณ์เหล่านี้

การวิจัยที่ล้ำหน้าเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครือข่ายระดับโลกนี้ เกิดขึ้นได้จากการประดิษฐ์คิดค้นมากมายที่ซ้อนทับกัน ทำให้สามารถสื่อสาร ถ่ายโอน และแบ่งปันข้อมูลทุกรูปแบบได้อย่างมั่นคงด้วยความเร็วแสง ซึ่งช่วยให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ขึ้นแบบเรียลไทม์ การทำงานร่วมกัน และการสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลก นวัตกรรมเหล่านี้สร้างผลกระทบข้ามทวีปและข้ามมหาสมุทร ตั้งแต่การสื่อสารผ่านเส้นใยถึงบ้านและองค์กร สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อโลกของเราในทุกด้าน ไม่ว่าจะสังคม รัฐบาล เศรษฐกิจ ความมั่นคง และการป้องกันประเทศ

รางวัลพิเศษ

นอกจากรางวัลใหญ่แล้ว ในการประกาศรางวัลยังมีรางวัลพิเศษ 3 รางวัลที่แต่ละรางวัลมีมูลค่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ มอบให้แก่นวัตกรในสาขาเกิดใหม่ นวัตกรหญิง และนวัตกรจากประเทศกำลังพัฒนา

รางวัลพิเศษสำหรับนวัตกรผู้มีผลงานโดดเด่นด้านสาขาเกิดใหม่มอบให้แก่ดร.เดมิส ฮัสซาบิส (Demis Hassabis) และดร.จอห์น จัมเปอร์ (John Jumper) สำหรับผลงานบุกเบิกอย่างอัลฟาโฟลด์ 2 ซึ่งเป็นโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่ปฏิวัติการสร้างแบบจำลองโครงสร้างโปรตีน ซึ่งช่วยเร่งความก้าวหน้าในด้านชีวการแพทย์ สุขภาพ และการเกษตร

การระบุโครงสร้างโปรตีนเป็นหัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจพื้นฐานของกระบวนการเซลล์ การพัฒนายาชนิดใหม่ การนำเสนอชีววิทยาสังเคราะห์แบบใหม่ และการประยุกต์ใช้อื่น ๆ อีกมากมาย

ดร.เดมิส ฮัสซาบิส คิดค้นวิธีการแก้ปัญหานี้ผ่านการเรียนรู้เชิงลึก โดยรวบรวมทีมดีปมายด์ (DeepMind) รุ่นบุกเบิก โดยมีดร.จอห์น จัมเปอร์ มาเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ พวกเขาร่วมกันลดงานที่ก่อนหน้านี้ใช้เวลานานหลายปีให้เหลือเพียงไม่กี่ชั่วโมง ตลอดจนเร่งความคืบหน้าสำหรับปัญหาที่สำคัญที่สุดบางประการในด้านชีวเวชศาสตร์และสุขภาพ การเกษตร ความยั่งยืน และอื่น ๆ ทีมงานได้จัดทำฐานข้อมูลโครงสร้างของโปรตีนกว่า 200 ล้านชนิดที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเปิดเผย ซึ่งทำให้สาธารณชนได้รับประโยชน์จากผลงานของพวกเขาและช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หลายพันคนจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ทั่วโลกได้

รางวัลพิเศษสำหรับ  "นวัตกรหญิง"  มอบให้ศาสตราจารย์พาเมลา คริสติน โรนัลด์ (Pamela Christine Ronald) สำหรับผลงานการแยกยีน Sub1A ซึ่งช่วยพัฒนาพันธุ์ข้าวที่ทนต่อสภาพน้ำท่วมฉับพลัน และยังช่วยเลี้ยงผู้คนหลายล้านคนในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับภูมิภาคนี้ ต้องสูญเสียข้าวจำนวน 4 ล้านตันที่เพียงพอต่อการเลี้ยงผู้คน 30 ล้านคนไปกับน้ำท่วมในแต่ละปี

ศาสตราจารย์โรนัลด์และทีมแสดงให้เห็นว่า การแสดงออกของยีนข้าวเดี่ยวอย่าง Sub1a นั้นเพียงพอที่จะช่วยให้ทนต่อสภาพน้ำท่วมฉับพลัน การค้นพบนี้ช่วยพัฒนาพันธุ์ข้าวใหม่โดยนักปรับปรุงพันธุ์ที่สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute) พันธุ์ข้าว Sub1 ใหม่มีข้อได้เปรียบด้านผลผลิต 60% เมื่อเทียบกับพันธุ์ข้าวทั่วไปหลังน้ำท่วม สายพันธุ์ข้าวใหม่นี้ที่ทนทานต่อสภาพน้ำท่วมฉับพลันกำลังช่วยเหลือเกษตรกรในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากน้ำท่วม ซึ่งเกิดขึ้นตามระยะเวลาและความถี่ที่เพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

รางวัลพิเศษสำหรับ "นวัตกรจากประเทศกำลังพัฒนา" มอบให้กับศาสตราจารย์ธาลัปปิล ประทีป (Thalappil Pradeep) จากการพัฒนาระบบกรองน้ำดื่มต้นทุนต่ำเพื่อกำจัดสารหนูและสารโลหะหนักอื่น ๆ ออกจากน้ำบาดาล ซึ่งช่วยให้ผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลกที่อาศัยอยู่กับน้ำที่ปนเปื้อนสามารถเข้าถึงน้ำสะอาดได้

น้ำสะอาดเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการดำรงชีวิตและมีความสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม

ในการลดอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้น้ำที่ปนเปื้อนสารหนู เหล็ก และสารโลหะอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเดียเหนือ ศาสตราจารย์ประทีปได้ค้นพบวัสดุนาโนที่มีราคาย่อมเยาและมีความยั่งยืน ซึ่งสามารถนำมาใช้ผลิตน้ำสะอาดได้ สารหนูและวัสดุอื่น ๆ ที่ถูกกำจัดโดยวัสดุเหล่านี้จะไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ วิธีนี้ซึ่งใช้การออกแบบที่เรียบง่าย เป็นวิธีที่ทำให้น้ำบาดาลบริสุทธิ์ด้วยต้นทุนที่ต่ำมากเพื่อเข้าถึงครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบหลายล้านครัวเรือน ในพื้นที่ห่างไกล เทคโนโลยีนี้ยิ่งมีประโยชน์มากขึ้น เพราะไม่ต้องใช้ไฟฟ้า

ฤดูกาลที่สองของรางวัลวินฟิวเจอร์ ไพรซ์ (VinFuture Prize) และพิธีมอบรางวัลวินฟิวเจอร์ประจำปี 2565 เกินความคาดหมายของสภารางวัลทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ การใช้งาน และผลกระทบเชิงปฏิบัติ ซึ่งช่วยตอกย้ำสถานะและชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์ของเวียดนามในสายตาชุมชนวิทยาศาสตร์ระดับโลก ผู้ได้รับรางวัลล้วนพัฒนาโครงการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปี่ยมนวัตกรรมใหม่ ซึ่งมุ่งส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย และสร้างความก้าวหน้าที่หลากหลายและโดดเด่นแก่มนุษยชาติ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างโลกที่รุ่งโรจน์ เท่าเทียม และยั่งยืน

ฤดูกาลที่สามของรางวัลวินฟิวเจอร์ ไพรซ์ ได้เปิดฉากขึ้นแล้ว ทันทีที่เสร็จสิ้นพิธีมอบรางวัลวินฟิวเจอร์ ไพรซ์ ประจำปี 2565 หลังจากสำเร็จพันธกิจด้านการฟื้นฟูและแปลงโฉม รางวัลวินฟิวเจอร์ ไพรซ์ ประจำปี 2566 จะมุ่งยกย่องสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือความคิดริเริ่มที่มีส่วนในการสร้างโลกที่มีความยืดหยุ่นและปฏิวัติวงการ รางวัลวินฟิวเจอร์ ไพรซ์ จะเปิดให้เสนอชื่ออย่างเป็นทางการตั้งแต่เวลา 7:00 น. (EST) ของวันที่ 9 มกราคม จนถึงเวลา 7:00 น. (EST) ของวันที่ 15 พฤษภาคม 2566

https://vinfutureprize.org/

รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/1972232/VinFuture_winners.jpg?p=medium600
โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1972233/VinFuture_Logo.jpg?p=medium600

 

Source: VinFuture Foundation
Keywords: Computer/Electronics Multimedia/Online/Internet Awards STEM (Science,Technology,Engineering,Mathematics)
Related News