โมนาโก, 21 มีนาคม 2566 /PRNewswire/ -- คณะกรรมาธิการมินเดอรู-โมนาโกว่าด้วยพลาสติกและสุขภาพของมนุษย์ (Minderoo-Monaco Commission on Plastics and Human Health) ได้นำเสนอบทวิเคราะห์ที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะนักวิจัยชั้นนำระดับโลกจากแวดวงสุขภาพ มหาสมุทร และสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินความเสี่ยงมากมายของพลาสติกที่มีต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกใบนี้ โดยพบว่า
สามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่
https://www.multivu.com/players/uk/9150051-plastic-threatens-human-and-planetary-health/
คณะกรรมาธิการฯ สรุปว่า รูปแบบการผลิต การใช้งาน และการกำจัดพลาสติกในปัจจุบันนั้น ไม่ยั่งยืนและก่อให้เกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ จึงแนะนำให้กำหนดมาตรฐานคุ้มครองสุขภาพจากสารเคมีในพลาสติกภายใต้สนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global Plastics Treaty) ซึ่งกำหนดให้มีการทดสอบความเป็นพิษของพอลิเมอร์และสารเคมีในพลาสติกทั้งหมดก่อนเข้าสู่ตลาด รวมทั้งต้องมีการตรวจสอบหลังวางตลาดไปแล้วด้วย
ศาสตราจารย์ ซาราห์ ดันลอป (Sarah Dunlop) หัวหน้าฝ่ายพลาสติกและสุขภาพของมนุษย์ มูลนิธิมินเดอรู (Minderoo Foundation) อธิบายว่า "ผลการค้นพบนี้ทำให้เราอยู่บนเส้นทางที่ชัดเจนในการเรียกร้องให้มีการห้ามหรือจำกัดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงได้ และเป็นปัญหา ซึ่งหลายชนิดมีสารเคมีที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อผู้คนและโลกใบนี้"
ดร.ฟิลิป แลนดริแกน (Philip Landrigan) ผู้อำนวยการฝ่ายสังเกตการณ์สุขภาพของโลก วิทยาลัยบอสตัน (Boston College) มีความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับการขาดความคืบหน้าของหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหลาย "บรรดาผู้ผลิตพลาสติกแทบไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเคมี การเติมแต่งทางเคมี หรือความเป็นพิษของสารเคมีในพลาสติก และประเทศส่วนใหญ่ก็ไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมายที่จะต้องทำเช่นนั้นด้วย"
ในแง่ของชีววิทยาทางทะเลนั้น ผลการค้นพบของทางคณะกรรมาธิการฯ เผยให้เห็นถึงความจำเป็นมากขึ้นในการตรวจวัดผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสัตว์ทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่สัตว์ทะเลกินอนุภาคพลาสติกระดับไมโครและนาโนเข้าไป
ดร.แอร์เว แรปส์ (Hervé Raps) แพทย์จากศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งโมนาโก (Centre Scientifique de Monaco) อธิบายว่า "ขยะพลาสติกเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศของมหาสมุทรที่มนุษย์ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัย และนอกเหนือจากผลกระทบโดยตรงแล้ว พลาสติกยังสามารถเป็นพาหะของจุลินทรีย์ก่อโรคได้อีกด้วย"
ท่ามกลางสถานการณ์ที่น่ากังวลนี้ก็ยังมีข่าวดีอยู่บ้าง โดยคณะกรรมาธิการฯ ระบุว่า อันตรายหลายอย่างของพลาสติกสามารถหลีกเลี่ยงได้ด้วยการใช้แนวปฏิบัติในการผลิตที่ดีกว่าเดิม การออกแบบพลาสติกทางเลือกใหม่ การใช้สารเคมีที่เป็นพิษน้อยลง และการบริโภคให้น้อยลง
สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://drive.google.com/file/d/1wSnmF5Pu0z9BocPRm0drqOru2GywNhhy/view
ศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งโมนาโก
ตีแยรี อัปปารู (Thierry Apparu)
อีเมล: thierry@tapcommunication.com
รูปภาพ - https://mma.prnasia.com/media2/2034711/Plastic_Life_Cycle.jpg?p=medium600