ฉงชิ่ง, จีน, 19 เม.ย. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
รายงานข่าวจากไอฉงชิ่ง (iChongqing) เปิดเผยว่า การประชุมสุดยอดการเชื่อมโยงทางการเงินจีน-สิงคโปร์ (ฉงชิ่ง) หรือ China-Singapore (Chongqing) Connectivity Initiative Financial Summit (CCI-FS) ครั้งที่ 5 มีกำหนดจะจัดคู่ขนานกันที่นครฉงชิ่งของจีนและประเทศสิงคโปร์ในระหว่างวันที่ 20-21 เมษายนนี้
ภายใต้ธีม "กำหนดเส้นทางใหม่สำหรับการพัฒนาศูนย์การเงิน สร้างแรงผลักดันใหม่สำหรับการเปิดเสรีทางการเงิน" (Charting a New Path for Financial Centre Development, Creating New Impetus for Financial Opening-up) การประชุมสุดยอด CCI-FS ในปีนี้มีเป้าหมายมุ่งผนวกรวมการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวิจัยเชิงคาดการณ์ล่วงหน้า ความร่วมมือที่เป็นแบบอย่าง และการแสดงผลสำเร็จระดับชั้นนำ สถานที่จัดงานหลัก ได้แก่ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล ฉงชิ่ง แรฟเฟิลส์ ซิตี้ ในเขตยฺหวีจง นครฉงชิ่ง
สำหรับปีนี้ การประชุมสุดยอด CCI-FS ได้เปิดตัวมณฑลรับเชิญเป็นครั้งแรก โดยเชิญมณฑลเสฉวนเข้ามารับบทบาทในครั้งนี้ อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่ได้เชิญกงสุลใหญ่ของกลุ่มประเทศสมาชิก RCEP ในนครฉงชิ่ง, เฉิงตู และคุนหมิง พร้อมด้วยรัฐบาลสมาชิกและหน่วยงานตลาดของการให้คำปรึกษาระหว่างมณฑล "13+2" และกลไกความร่วมมือของระเบียงการค้าเชื่อมทางบก-ทางทะเลระหว่างประเทศสายใหม่ หรือ New International Land-Sea Trade Corridor (ILSTC) ซึ่งได้ขยายแวดวงพันธมิตรของการประชุมสุดยอดและอิทธิพลระดับโลก
จนถึงตอนนี้ แขกต่างชาติกว่า 52 คน จาก 12 ประเทศได้ยืนยันแล้วว่าจะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดจากแขกผู้มีเกียรติทั้งหมด 177 ราย ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีกระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศและรัฐมนตรีลำดับที่ 2 จากกระทรวงมหาดไทยของสิงคโปร์, กรรมการผู้จัดการธนาคารกลางสิงคโปร์ ตลอดจนผู้นำองค์กรการเงินระหว่างประเทศ, ผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศในอาเซียน และผู้บริหารจากสถาบันการเงินต่างประเทศ
การประชุมสุดยอดในปีนี้มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมสำคัญ 12 รายการและกิจกรรมพิเศษ 9 รายการ โดยมีวาระการประชุมที่สอดคล้องกับประเด็นยอดนิยมของอุตสาหกรรมและประเด็นสำคัญ เช่น การเชื่อมโยงโครงข่ายทางการเงิน, นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน, การเงินสีเขียว และความร่วมมือในตลาดทุน
การประชุมสุดยอดครั้งนี้จะหารือเกี่ยวกับโอกาสเชิงกลยุทธ์ใหม่สำหรับการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินภาคตะวันตกของจีนและการดำเนินการ RCEP พร้อมแสวงหาความร่วมมือทางการเงินคุณภาพสูงระหว่างจีนกับสิงคโปร์ และส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการเงินจีน-อาเซียนตามกลไกการสร้างร่วมของ ILSTC
นอกจากนี้ การประชุมสุดยอดจะช่วยอำนวยความสะดวกในการลงนามในโครงการสำคัญ ซึ่งตอกย้ำความร่วมมือทางการเงินระหว่างจีนกับสิงคโปร์ และการพัฒนาศูนย์กลางทางการเงินของตะวันตกและนวัตกรรมบริการทางการเงิน
ตัวอย่างเช่น โครงการต่าง ๆ จะได้รับการลงนามในประเด็นสำคัญ เช่น การลงทุนและการเงินข้ามพรมแดน การชำระเงินและข้อตกลงข้ามพรมแดน และเทคโนโลยีทางการเงินระหว่างจีนกับสิงคโปร์ โครงการเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการยกระดับรูปแบบการดำเนินงานกองทุนจีน-สิงคโปร์ และเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดหาทางการเงินของการค้ารูปแบบใหม่ ๆ