omniture

หัวเว่ย, IUCN และพันธมิตรระดับโลก เน้นย้ำการใช้เทคโนโลยีล่าสุดเพื่อการปกป้องธรรมชาติ

Huawei
2023-06-06 23:15 221

การประชุมสุดยอดเทคฟอร์เนเจอร์ (Tech4Nature) ครั้งที่ 3 จัดขึ้นในวันครบรอบ 50 ปี วันสิ่งแวดล้อมโลก

Innovative technologies used for tracking and monitoring biodiversity and nature conservation projects
Innovative technologies used for tracking and monitoring biodiversity and nature conservation projects

เซินเจิ้น, จีน, 6 มิ.ย. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี วันสิ่งแวดล้อมโลก หัวเว่ย (Huawei) และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ ไอยูซีเอ็น (IUCN) ได้เน้นย้ำถึงโซลูชันอัจฉริยะสำหรับการสนับสนุนการจัดการและการกำกับดูแลพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพและยุติธรรม ตลอดจนความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีในการติดตามสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม และปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสัตว์เหล่านี้

หัวเว่ยและไอยูซีเอ็นได้ร่างวิสัยทัศน์สำหรับพื้นที่คุ้มครองและอนุรักษ์ เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล ในการช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก โดยในการประชุมสุดยอดนั้น ได้มีการเปิดตัวสมุดปกขาวพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ (Smart Protected Areas White Paper) ซึ่งพัฒนาร่วมกันโดยหัวเว่ยและไอยูซีเอ็นประจำประเทศจีน และสถาบันวนศาสตร์จีน (Chinese Academy of Forestry) เพื่อแบ่งปันพิมพ์เขียวสำหรับการสร้างพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์จากพื้นที่คุ้มครองของจีน

กุญแจสำคัญในการคุ้มครองสัตว์ป่าคือการทำความเข้าใจการกระจายตัวของสัตว์ พฤติกรรมของสัตว์ พฤติกรรมตามฤดูกาลของแต่ละสายพันธุ์ และว่ากิจกรรมของมนุษย์อาจส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของสัตว์เหล่านี้อย่างไร การจะทำสิ่งนี้ได้จำเป็นต้องมีข้อมูลอย่างมหาศาล และการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวอาจเป็นเรื่องท้าทายเนื่องจากพื้นที่บางแห่งห่างไกลและเข้าถึงได้ยาก ซึ่งก็มักมีอุปสรรคจากสภาพอากาศที่รุนแรงเพิ่มมาด้วย ความพยายามในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิจัยในช่วงต้นจึงต้องพึ่งพากลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่เดินทางลงพื้นที่เพื่อติดตั้งกล้องสำหรับดักจับภาพ ซึ่งกล้องเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษา เปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนการ์ดหน่วยความจำ ตลอดจนการวิเคราะห์ กระบวนการเหล่านี้มักจะกินแรงและกินเวลามากจนส่งผลให้ข้อมูลและรูปภาพที่ได้นั้นเก่าไปนานหลายเดือน

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลล้ำสมัย เช่น คอมพิวเตอร์ระบบคลาวด์, ไอโอที (IoT), อินเทอร์เน็ตมือถือ, บิ๊กดาต้า (Big Data) และเอไอ (AI) ช่วยให้สามารถรวบรวมข้อมูลและมีการสื่อสารระหว่างกันได้แบบเรียลไทม์ นี่เป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงการตรวจจับอัจฉริยะ การวิเคราะห์และการจัดการการคุ้มครองสายพันธุ์และความพยายามในการอนุรักษ์ตามพื้นที่ ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงช่วยอนุรักษ์ธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น

นั้บตั้งแต่ปี 2562 หัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ระดับโลกมากกว่า 30 ราย รวมถึงไอยูซีเอ็น ในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อให้บรรลุการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพในพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ 46 แห่งทั่วโลก ตั้งแต่ป่าฝนเขตร้อนในมณฑลไห่หนานของจีน ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสายพันธุ์ชะนีที่หายากที่สุดในโลก ไปจนถึงโอเอซิสในพื้นที่ชุ่มน้ำของอิตาลี และแนวปะการังนอกชายฝั่งตะวันออกของมอริเชียส

ยกตัวอย่างเช่น ภายใต้เทคฟอร์เนเจอร์ในเม็กซิโก ซึ่งหัวเว่ยร่วมมือกับไอยูซีเอ็น, ซีไมนด์ส (C-Minds), มหาวิทยาลัยโพลีเทคนิคแห่งยูกาตัน (Polytechnic University of Yucatan), เรนฟอเรสต์ คอนเนกชัน (Rainforest Connection) และชุมชนท้องถิ่นของดซิลัม ได้รวบรวมภาพถ่ายสัตว์ป่ามากกว่า 30,000 ภาพ การบันทึกเสียงสัตว์ป่ามากกว่า 550,000 ชิ้น และคลิปวิดีโอสัตว์ป่าอีกเป็นจำนวนมาก โดยอัลกอริทึมได้รับการพัฒนาและฝึกฝนเพื่อช่วยระบุสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเสือจากัวร์ และจนถึงตอนนี้ ทีมงานสามารถระบุสายพันธุ์สัตว์ได้ 119 สายพันธุ์ รวมถึงเสือจากัวร์ 5 ตัว

ดร.เกรเธล อากีลาร์ (Dr Grethel Aguilar) รองผู้อำนวยการของไอยูซีเอ็น กล่าวว่า "เราได้อะไรต่าง ๆ มากมายตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ได้ร่วมงานกัน ในระหว่างนั้นหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับเราเพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างมีความรับผิดชอบในการปกป้องธรรมชาติ ไอยูซีเอ็นตั้งตารอที่จะได้ร่วมมือระยะยาวกับหัวเว่ยในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายระดับโลก อาทิ เป้าหมายในการอนุรักษ์ผืนดินและผืนน้ำอย่างน้อย 30% ของโลกภายในปี 2573"

วัตถุประสงค์หลักของสมุดปกขาวพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ คือการอนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตามเป้าหมายนี้ สมุดปกขาวจึงได้ระบุสถานการณ์สำคัญ 7 ประการ อาทิ การปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ, การจัดการทรัพยากร, การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และอื่น ๆ

ในสถานการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวจำเป็นต้องนำความสามารถหลัก 4 ประการมาใช้ ได้แก่ การตรวจจับระบบนิเวศแบบหลายมิติที่ครอบคลุม การสื่อสารหลายเครือข่ายแบบบูรณาการที่สามารถปรับให้เข้ากับภูมิประเทศที่ซับซ้อน การวิเคราะห์อัจฉริยะที่สามารถประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลจากแหล่งต่าง ๆ และความสามารถในการนำผลการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานและการจัดการพื้นที่คุ้มครอง พิมพ์เขียวนี้นำเสนอสถาปัตยกรรมโซลูชันแบบครอบคลุมสำหรับพื้นที่คุ้มครองอัจฉริยะ โดยใช้พัฒนาการล่าสุดในเทคโนโลยีดิจิทัล

คุณเต๋า จิงเหวิน (Tao Jingwen) กรรมการของหัวเว่ยและประธานคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร (CSD) กล่าวว่า "การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นสองวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกที่เกี่ยวข้องกันซึ่งจำเป็นต้องมีการตอบสนองร่วมกัน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการปกป้องธรรมชาติสามารถช่วยให้เกิดการพัฒนาสีเขียวในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นับพัน และช่วยให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น"

คุณเผิง ซ่ง (Peng Song) รองประธานอาวุโสและประธานฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด ICT ของหัวเว่ย กล่าวว่า "โลกคือบ้านเพียงหลังเดียวของเรา เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยปกป้องเขตอนุรักษ์ธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ความตั้งใจเดิมของเราคือการรวมแนวปฏิบัติระหว่างด้านวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีในการช่วยปกป้องธรรมชาติ และทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเขตอนุรักษ์ธรรมชาติอัจฉริยะมากขึ้น"

รายงานเศรษฐกิจธรรมชาติแบบใหม่ (New Nature Economy Report) ของ WEF ระบุว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของ GDP ของโลก หรือประมาณ 44 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ พึ่งพาธรรมชาติและบริการที่ธรรมชาติมอบให้ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพกำลังคุกคามความอยู่รอดและการพัฒนาที่ยั่งยืนของมนุษยชาติ เศรษฐกิจธรรมชาติแบบใหม่สามารถสร้างมูลค่าธุรกิจต่อปีได้ถึง 10.1 ล้านล้านดอลลาร์ และสร้างงาน 395 ล้านตำแหน่งภายในปี 2573

การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจศักยภาพในอนาคตของการอนุรักษ์ธรรมชาติอัจฉริยะ โดยการประชุมพันธมิตรเทคฟอร์ออล ซึ่งประกอบด้วยรัฐบาลแห่งมลรัฐยูกาตันของประเทศเม็กซิโก, ซีไมนด์ส หน่วยงานด้านนวัตกรรมของเม็กซิโก, ไอยูซีเอ็นประจำประเทศจีน, องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลประจำประเทศอิตาลี (WWF Italy), เรนฟอเรสต์ คอนเนกชัน และเขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติสามเหลี่ยมปากแม่น้ำหวงมณฑลชานตง

คลิกเพื่อรับชมการประชุมสุดยอด: https://www.huawei.com/en/tech4all/news-and-events/events/environment-day-2023

ภูมิหลัง

เทคฟอร์เนเจอร์เป็นโครงการริเริ่มด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติที่หัวเว่ยและไอยูซีเอ็นเปิดตัวในปี 2563 โดยมีเป้าหมายเพื่อประเมินความสำเร็จด้านการอนุรักษ์ของพื้นที่คุ้มครองมากกว่า 300 แห่งทั่วโลกผ่านการใช้มาตรฐานบัญชีสีเขียวไอยูซีเอ็น (IUCN Green List) และเทคโนโลยีดิจิทัล

วันที่ 5 มิถุนายนนี้เป็นวันครบรอบ 50 ปีของวันสิ่งแวดล้อมโลก ริเริ่มโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในวันที่ 5 มิถุนายน มาตั้งแต่ปี 2516 วันสิ่งแวดล้อมโลกเป็นเวทีระดับโลกที่ใหญ่ที่สุดในการปลุกจิตสำนึกสาธารณะเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และมีการเฉลิมฉลองโดยผู้คนหลายล้านคนทั่วโลก ประเทศเจ้าภาพจัดงานในปี 2566 นี้คือโกตดิวัวร์

เกี่ยวกับโครงการเทคฟอร์ออล

เทคฟอร์ออล (TECH4ALL) เป็นโครงการริเริ่มและแผนปฏิบัติการระยะยาวของหัวเว่ย ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัยและความร่วมมือ เพื่อช่วยส่งเสริมความเท่าเทียมและความยั่งยืนในโลกดิจิทัล

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์โครงการเทคฟอร์ออลของหัวเว่ย
https://www.huawei.com/en/tech4all

ติดตามเราได้ที่
https://twitter.com/HUAWEI_TECH4ALL

ติดต่อสำนักงานโครงการเทคฟอร์ออล
tech4all@huawei.com



 

Dr Grethel Aguilar, Deputy Director General for IUCN, delivered a welcome speech at the summit
Dr Grethel Aguilar, Deputy Director General for IUCN, delivered a welcome speech at the summit

Tao Jingwen, Director of the Board, Chairman of CSD Committee, Huawei
Tao Jingwen, Director of the Board, Chairman of CSD Committee, Huawei

Peng Song, Senior Vice President and President of Huawei's ICT Strategy & Marketing Department
Peng Song, Senior Vice President and President of Huawei's ICT Strategy & Marketing Department

Source: Huawei
Keywords: Computer/Electronics Environmental Products & Services Conservation/Recycling
Related News