เซี่ยงไฮ้—29 มิถุนายน 2566—พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดงานประกาศเปิดตัวนวัตกรรมและแนวปฏิบัติว่าด้วยผลิตภัณฑ์และโซลูชันของหัวเว่ย (Huawei Product & Solution Innovation and Practice) ระหว่างงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (Mobile World Congress หรือ MWC) ประจำปี 2566 ที่เซี่ยงไฮ้ และได้ใช้โอกาสนี้ในการเปิดตัวแนวปฏิบัติในการนำโซลูชันอินเทลลิเจนซ์ อ็อปติกซ์ (Intelligent OptiX) ไปใช้ประโยชน์รวม 4 ด้านด้วยกัน เพื่อนำเทคโนโลยี F5.5G ไปใช้ในแวดวงสมาร์ทโฮม องค์กรธุรกิจขนาดเล็กและรายย่อย การผลิตอัตฉริยะ และเครือข่ายบริเวณเมืองใหญ่
คุณริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคอลของหัวเว่ย เปิดเผยว่า 1Gbps นั้นมีอยู่ทุกที่ และ 10Gbps ก็กำลังเริ่มขึ้น โดยในปีที่ผ่านมา นวัตกรรม F5.5G ของหัวเว่ย เช่น FTTR F30/B30, 50G PON, Alps-WDM และ 400G/800G ได้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในเอเชีย ยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตและการทำงานของผู้คนอย่างมาก เราหวังว่าผู้ให้บริการและพันธมิตรจะหันมามองนวัตกรรม F5.5G กันมากขึ้น และร่วมกันเพื่อเดินหน้าสู่ยุค "10Gbps ทุกที่"
Richard Jin Delivered the Speech
- สำหรับสมาร์ทโฮมนั้น ครัวเรือนกว่า 4.6 ล้านรายใช้บริการหัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ (Huawei FTTR) เพื่อสร้างการเชื่อมต่อไวไฟในบ้านความเร็วระดับ 1Gbps โดยในบราซิลนั้น ออย (Oi) และหัวเว่ยได้ริเริ่มนำเอฟทีทีอาร์ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ในลาตินอเมริกา ทั้งสองใช้ประโยชน์จากแบนด์วิดท์สูงพิเศษ การครอบคลุมที่กว้างเป็นพิเศษ การทำงานพร้อมกันที่สูงเป็นพิเศษ และบริการระดับ 5A เพื่อสร้างบ้านอัจฉริยะที่มีระบบอัจฉริยะทั้งบ้านระดับอัลตรากิกะบิต (ultra-gigabit) ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความพึงพอใจของผู้บริโภค และรายได้เฉลี่ยต่อลูกค้าหนึ่งคน (ARPU) ให้กับออย
- สำหรับองค์กรขนาดเล็กและรายย่อยแล้ว ธุรกิจองค์กรหลายหมื่นแห่งได้นำโซลูชันหัวเว่ย เอฟทีทีอาร์ มาใช้ โดยไชน่า ยูนิคอม เหอหนาน (China Unicom Henan) ใช้ประโยชน์จากข้อดีของ B30 เช่น ไวไฟระดับอัลตรากิกะบิต, เทอร์มินัลที่ทำงานพร้อมกัน 300 ตัว และระบบซ่อมบำรุงอัจฉริยะบนแอป และได้เปิดตัวแพ็กเกจฟิวชัน เอฟทีทีอาร์ B30 เพื่อรองรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น สำนักงาน ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และการป้องกันความปลอดภัย ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ไชน่า ยูนิคอม เหอหนาน ดึงดูดผู้ใช้ระดับองค์กรได้เกือบ 10,000 ราย และเพิ่มความพึงพอใจของผู้บริโภคได้ถึง 20% ซึ่งช่วยองค์กรขนาดเล็กและรายย่อยพลิกโฉมสู่ดิจิทัลได้อย่างมาก
- ในแง่ของการผลิตอัจฉริยะนั้น สถาบันวิจัยไชน่า เทเลคอม (China Telecom Research Institute) ได้ทำงานร่วมกับหัวเว่ย เพื่อดำเนินการนำร่องอินเทอร์เน็ตเชิงอุตสาหกรรมที่ใช้ 50G PON จนสำเร็จเป็นรายแรกของโลก โดยเครือข่าย 50G PON ของหัวเว่ยให้แบนด์วิดท์ 10Gbps สำหรับแคมปัส ช่วยให้ตรวจสอบด้วยแสงอัตโนมัติ (AOI) ได้อย่างน่าเชื่อถือและยืดหยุ่นในภาคอุตสาหกรรม ทั้งยังทำให้ตรวจสอบได้ดีขึ้นถึง 10 เท่า มอบผลประโยชน์อันดีสำหรับการผลิตอัจฉริยะ ปัจจุบัน หัวเว่ยได้ดำเนินการตรวจสอบนวัตกรรมสำหรับโซลูชัน 50G PON ร่วมกับพันธมิตรกว่า 30 รายทั่วโลก
- ไชน่า ยูนิคอม ฉงชิ่ง (China Unicom Chongqing) นำโซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยมาใช้สร้างเครือข่ายรถไฟใต้ดิน โดยมีต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ที่เหมาะสมที่สุด โซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยเพิ่มอัตราความยาวคลื่นเดียวจาก 10G เป็น 100G ณ จุดเข้าถึงแบบรวม และสร้างกลุ่มทรัพยากรแบนด์วิดท์ที่ใช้ร่วมกันได้หลายพื้นที่เพื่อรองรับการใช้งานตามความต้องการ นอกจากนี้ยังช่วยสร้างวงเวลาแฝงต่ำเป็นพิเศษ โดยมี "ความครอบคลุม 1 มิลลิวินาทีในเมืองหลัก 2.5 มิลลิวินาทีสำหรับทั้งเมือง และ 3 มิลลิวินาทีในเฉิงตู-ฉงชิ่ง" จนถึงขณะนี้ โซลูชัน Alps-WDM ของหัวเว่ยมีการนำไปใช้ทางการค้าในหลายรูปแบบทั่วโลก
ทั้งนี้ ยุค 10Gbps อยู่ใกล้แค่เอื้อม โดยหัวเว่ยขอเชิญชวนให้ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรม ร่วมสร้างสรรค์และยกระดับสถานการณ์การใช้งาน F5.5G และใช้ F5.5G กับทุกด้านของเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้เกิด "10Gbps ทุกที่"