omniture

หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชัน "5กิกะกรีน" ยกระดับประสิทธิภาพเครือข่ายและการประหยัดพลังงานขั้นสูงสุด

Huawei
2023-06-30 14:38 144

เซี่ยงไฮ้, 30 มิถุนายน 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

ภายในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส (MWC) เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 หัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวโซลูชัน "5กิกะกรีน" (5GigaGreen) สำหรับการสื่อสารไร้สายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพของเครือข่ายและการประหยัดพลังงานขั้นสูงสุดร่วมกับผู้ให้บริการทั่วโลก

คุณก่าน ปิน (Gan Bin) รองประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของสายผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายของหัวเว่ย เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงานขั้นสูงสุดคือแรงผลักดันสำหรับนวัตกรรมไร้สายของหัวเว่ย เรายึดมั่นในปรัชญาแห่ง 5กิกะกรีน โดยยังคงพัฒนาความสามารถในแถบความถี่กว้างพิเศษ ที่ใช้เสาอากาศหลายเสาแบบพาสซีฟสูงสุด รวมถึงอุปกรณ์และเครือข่าย "0 บิต 0 วัตต์" เพื่อสร้างนวัตกรรม 5G ที่ดีกว่าเดิม

Gan Bin from Huawei delivering a keynote speech
Gan Bin from Huawei delivering a keynote speech

แถบความถี่กว้างพิเศษคือทางเลือกที่ดีที่สุด เพื่อลดการใช้พลังงานของเครือข่ายหลายความถี่

โซลูชันแถบความถี่กว้างพิเศษของหัวเว่ยรวมความถี่หลายแถบไว้ด้วยกัน เพื่อลดการใช้พลังงาน และสามารถใช้ได้กับทุกแถบความถี่และสถานการณ์การใช้งาน

ด้วยนวัตกรรมคลื่นความถี่วิทยุกว้างพิเศษและอัลกอริทึมขยายสัญญาณ หัวเว่ยได้เปิดตัว FDD 4T4R RRU แบบสามย่านความถี่ ซึ่งมีการใช้พลังงานต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม รองรับการปรับใช้ RAT ทั้งหมดบนทุกย่านความถี่ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานกว่า 20% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การทดสอบจากไซต์ในยุโรปที่เปลี่ยนแถบความถี่จาก 4 เป็น 6 แถบ พบว่าลดการใช้พลังงานลงถึง 30% ปัจจุบัน 4T4R RRU แบบย่านความถี่กว้างพิเศษได้ถูกนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ในวงกว้างแล้วทั่วโลก โดยมีการจัดส่งไปแล้วกว่า 100,000 ชุด

หัวเว่ยยังได้ขยายเทคโนโลยีแถบความถี่กว้างพิเศษจาก FDD เป็น TDD MetaAAU ขนาด 800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นแบนด์วิดท์ที่ใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรม ครอบคลุมความถี่แถบ C เต็มรูปแบบ และลดการใช้พลังงานลง 20% เมื่อเทียบกับโมดูลขนาด 400 MHz แบบแยกสองโมดูล

นวัตกรรมคลื่นความถี่วิทยุกว้างพิเศษยังขยายจากสถานีฐานมาโครเป็นคลื่นไมโครเวฟและ DIS โดยสำหรับคลื่นไมโครเวฟ ตัว 2T ODU รุ่นใหม่ช่วยให้สามารถรวมผู้ให้บริการได้มากขึ้นในการส่งมอบแบนด์วิดท์ขนาด 800 เมกะเฮิรตซ์ ลดการใช้พลังงานลง 50% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ แลมป์ไซต์ (LampSite) แถบความถี่กว้างพิเศษยังทำให้สามารถใช้งานแบนด์วิดท์ขนาด 2 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งลดการใช้พลังงานของทั้งไซต์ลง 40%

โซลูชันหลายเสาอากาศที่เหมาะสมที่สุด เพื่อยกระดับประสิทธิภาพพลังงานบิต

โซลูชัน TDD Massive MIMO ของหัวเว่ยที่ใช้เทคโนโลยีหลายเสาอากาศและแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่สามารถยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานบิตขึ้นถึง 20 เท่าเมื่อเทียบกับ 4T4R ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่มีจำนวนทราฟฟิกเครือข่ายเชิงพาณิชย์หนาแน่นในตะวันออกกลาง โซลูชัน TDD 64T64R Massive MIMO ได้มอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานบิตที่เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า หลังใช้เทคโนโลยีการจับคู่หลายเลเยอร์ ในอนาคต ปริมาณการรับส่งข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจะมีการกำหนดเลเยอร์เพิ่มเติมเพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานบิตให้ได้ถึง 20 เท่า

หัวเว่ยยังเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี FDD หลายเสาอากาศ โดยโซลูชัน FDD 8T8R ที่ใช้ในยุโรปที่มาพร้อมอัลกอริทึมการสร้างลำแสงอัจฉริยะ ได้มอบประสิทธิภาพพลังงานบิตที่เพิ่มขึ้นกว่า 1.5 เท่าเมื่อเทียบกับ 4T4R แบบดั้งเดิม โซลูชัน FDD M-MIMO ซึ่งเป็นโซลูชันเดียวในอุตสาหกรรมที่ถูกใช้งานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานถึง 3 เท่า ขณะที่การเพิ่มประสิทธิภาพใน 3GPP Release 18 ขึ้นไป จะทำให้สามารถประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น 4-6 เท่า

เพิ่มขีดความสามารถแบบพาสซีฟให้สูงสุด และสำรวจแนวทางใหม่เพื่อลดการใช้พลังงาน

การป้อนสัญญาณแบบฉีดตรง (SDIF) เป็นเทคโนโลยีเสาอากาศขั้นสูงที่ไม่เหมือนใครของหัวเว่ย ปราศจากการใช้สายเคเบิลและลดการสูญเสียของสัญญาณลง 1.5 เดซิเบล สามารถทำงานร่วมกับเมตะเลนส์ (Meta Lens) เพื่อรวมพลังงานลำแสงที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพคลื่นวิทยุของเสาอากาศดีขึ้นอย่างมาก เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานถึง 25% ทั้งนี้ หัวเว่ยได้ส่งมอบเสาอากาศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้ไปแล้วมากกว่า 250,000 เสาสู่เครือข่ายเชิงพาณิชย์ทั่วโลก

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้พัฒนาโซลูชัน TDD Massive MIMO อย่างต่อเนื่อง นำเสนอนวัตกรรม MetaAAU ที่เป็นเอกลักษณ์ในอุตสาหกรรม มาพร้อมเทคโนโลยีเสาอากาศขนาดใหญ่พิเศษ (ELAA) ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานลง 33% เมื่อเปรียบเทียบกับ AAU แบบดั้งเดิมจากการใช้งานในยุโรปในรูปแบบเดียวกัน MetaAAU มาพร้อมอัลกอริทึม สถาปัตยกรรม ซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ที่ทันสมัย รวมถึงมีการใช้งานเชิงพาณิชย์ในวงกว้างแล้วทั่วโลก โดยมีการจัดส่งแล้วมากกว่า 100,000 ชิ้น

"0 บิต 0 วัตต์": เกณฑ์มาตรฐานใหม่ เพื่อให้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานกว่าเดิม

หัวเว่ยใช้การออกแบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ขั้นสูง จนประสบความสำเร็จในการประหยัดพลังงานแบบซูเปอร์ดีปด้วยอัตราส่วนการชัตดาวน์ที่ 99% ลดกำลังการทำงานของอุปกรณ์ให้เหลือน้อยกว่า 5 วัตต์ มาพร้อมอัลกอริทึมการตื่นตามคำสั่ง อุปกรณ์สามารถตื่นได้ตลอดเวลา เพื่อรับประกันประสบการณ์การใช้งานที่ดี

หัวเว่ยยังเป็นบริษัทแรกในอุตสาหกรรมที่บรรลุผลการชัตดาวน์แครีเออร์และช่องระดับมิลลิวินาทีด้วยนวัตกรรมร่วมกับโมดูลดิจิทัลและคลื่นความถี่วิทยุ นำไปสู่การประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับการชัตดาวน์ในระดับนาทีที่พบเห็นได้ทั่วไปในอุตสาหกรรม

ความชาญฉลาดเพื่อ "0 บิต 0 วัตต์" ระดับเครือข่าย

ในเครือข่ายเดี่ยวนั้น ปริมาณทราฟฟิก คุณสมบัติการประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพแถบความถี่และพลังงานของอุปกรณ์ ไปจนถึงความครอบคลุมของแต่ละแถบความถี่ย่อมแตกต่างกันออกไปในแต่ละไซต์ โซลูชัน Huawei iPowerStar ใช้การประสานกลยุทธ์การประหยัดพลังงานอัจฉริยะที่อิงตามลักษณะของทราฟฟิก ลักษณะการประหยัดพลังงาน กริดประสิทธิภาพพลังงาน และกริดประสบการณ์บนเครือข่ายสดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครือข่ายหลายแถบความถี่โดยอาศัยกลยุทธ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละไซต์ในแต่ละครั้ง

ในช่วงวันหยุดวันแรงงานในเมืองเหอเป่ย ประเทศจีน โซลูชัน iPowerStar สามารถลดการใช้พลังงานลง 19% ในขณะที่มีทราฟฟิกเพิ่มขึ้น 19% ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยรวมของเครือข่ายเพิ่มขึ้น 45%

ในช่วงท้าย คุณก่าน ปิน เน้นย้ำว่า หัวเว่ยจะไม่หยุดการพัฒนานวัตกรรม 5กิกะกรีน และจะทำงานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่อไปเพื่อสร้างนวัตกรรม 5G ที่ดีกว่าเดิม

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส เซี่ยงไฮ้ ประจำปี 2566 จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 28-30 มิถุนายน ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน โดยหัวเว่ยจะร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่บูธ E10 และ E50 ณ ฮอลล์ N1 ของศูนย์จัดแสดงสินค้านานาชาติเซี่ยงไฮ้ (SNIEC) หัวเว่ยจะร่วมมือกับผู้ให้บริการระดับโลก ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม และผู้นำทางความคิดในการอภิปรายหัวข้อต่าง ๆ เช่น การเร่งการเติบโตของเทคโนโลยี 5G การก้าวสู่ยุค 5.5G และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลอัจฉริยะ ทั้งนี้ เทคโนโลยี 5.5G ได้มอบโอกาสในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจใหม่ ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตของผู้คน (IoP) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) และยานพาหนะที่สื่อสารกันได้ผ่านอินเทอร์เน็ต (IoV) สนับสนุนอุตสาหกรรมจำนวนมากในขณะที่กำลังก้าวไปสู่โลกอัจฉริยะ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/mwcs2023 

Source: Huawei
Keywords: Computer Networks Computer/Electronics Internet Technology Telecommunications Telecommunications Equipment Wireless Communications New products/services Trade show news