omniture

หุ่นยนต์ของ "ดรีมมี เทคโนโลยี" ขโมยซีนในงานประชุมหุ่นยนต์โลกประจำปี 2566

Dreame Technology
2023-08-25 13:35 103

ปักกิ่ง, 25 ส.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม งานประชุมหุ่นยนต์โลก (World Robot Conference หรือ WRC) ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นในกรุงปักกิ่งภายใต้ธีม "ส่งเสริมนวัตกรรมเพื่ออนาคต" (Spurring Innovation for the Future) ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง มหกรรมวิทยาการหุ่นยนต์โลก (World Robotics Expo) และการประกวดหุ่นยนต์โลก (World Robot Contest) ประจำปี 2566 จัดขึ้นในโอกาสเดียวกันนี้ โดยรวบรวมบริษัทและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้านวิทยาการหุ่นยนต์ราว 160 แห่งจากทั่วโลก และจัดแสดงผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีขั้นสูงเกือบ 600 รายการ ในการนี้ ตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศ, นักวิชาการ, ผู้เชี่ยวชาญชื่อดัง และผู้ประกอบการทั้งในประเทศและจากต่างประเทศกว่า 320 รายได้รับเชิญให้เข้าร่วม

ในฐานะบริษัทวิทยาการหุ่นยนต์ทั่วไป ดรีมมี เทคโนโลยี (Dreame Technology) เป็นจุดสนใจของงานประชุมหุ่นยนต์โลกเป็นครั้งแรก โดยได้เปิดตัวหุ่นยนต์หลากหลายประเภท ทั้งหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์อเนกประสงค์, หุ่นยนต์ไบโอนิกสี่เท้าเกรดผู้บริโภค, หุ่นยนต์สี่เท้าเกรดอุตสาหกรรม, หุ่นยนต์ทำความสะอาดสระน้ำไร้สาย, หุ่นยนต์ส่งอาหารเชิงพาณิชย์ และหุ่นยนต์ทำความสะอาดพื้น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ตอกย้ำความสามารถของดรีมมีในการแข่งขันที่กว้างขวางในหลากหลายด้านของการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่ออีโคซิสเต็มและเทคโนโลยีหุ่นยนต์, ห่วงโซ่อุปทาน, การผลิตและกระบวนการผลิต, การพัฒนาบุคลากร และการดำเนินการเชิงพาณิชย์

หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ของดรีมมีสร้างสรรค์ศิลปะฟองนมกาแฟ

หุ่นยนต์ยูนิเวอร์แซล ฮิวแมนนอยด์ (Universal Humanoid Robot) ของดรีมมีสร้างความประหลาดใจให้กับหลายคนในงานประชุมด้วยการสร้างสรรค์ศิลปะฟองนมกาแฟหรือลาเต้อาร์ตได้สำเร็จ โดยเป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ตัวแรกของโลกที่ทำเช่นนี้ได้ คุณเชา ยฺหวี (Chao YU) ผู้อำนวยการฝ่ายหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ของดรีมมี เทคโนโลยี เผยว่า "หุ่นยนต์ยูนิเวอร์แซล ฮิวแมนนอยด์ของดรีมมีใช้โมเดลแมชชีนเลิร์นนิงและการฝึกเชิงลึกเพื่อระบุแก้วและเครื่องมือต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งทำให้มันสามารถสร้างศิลปะฟองนมกาแฟอย่างแม่นยำได้ งานประชุมนี้เป็นโอกาสสำคัญให้หุ่นยนต์ยูนิเวอร์แซล ฮิวแมนนอยด์ได้ก้าวออกมาจากห้องแล็บและนำทักษะของมันออกมาทดสอบในสภาพแวดล้อมในโลกจริง"

Dreame Technology Robots
Dreame Technology Robots

หลังจากอีเวนต์เปิดตัวเมื่อเดือนมีนาคมในปีนี้ หุ่นยนต์ยูนิเวอร์แซล ฮิวแมนนอยด์ของดรีมมีออกมาอวดลีลานอกห้องแล็บ โดยเดินไปรอบ ๆ ทั้งบริเวณภายในและภายนอกอาคารพร้อมทั้งโบกมือให้กับผู้คน หุ่นยนต์ดังกล่าวนี้ยังแข็งแรงพอที่จะเดินอย่างมั่นคงหลังจากโดนกระแทกอย่างรุนแรงอีกด้วย หุ่นยนต์ยูนิเวอร์แซล ฮิวแมนนอยด์ของดรีมมีได้รับการระบุว่าเป็นหุ่นยนต์ไบโอนิก สูง 178 เซนติเมตร หนัก 56 กิโลกรัม มีองศาเสรี (degrees of freedom) โดยรวมอยู่ที่ 44 ส่วนขาแต่ละข้างมีองศาเสรีอยู่ที่ 6 ทำให้สามารถยืนขาเดียวได้

ดรีมมี ด็อก

บูธจัดแสดงของดรีมมีเป็นที่นิยมอย่างมากในงานประชุมนี้ และมีดรีมมี ด็อก (Dreame Dog) หุ่นยนต์ไบโอนิกสี่เท้าเกรดผู้บริโภค คอยโพสต์ท่าให้กล้องถ่าย ดรีมมี ด็อกเป็นหุ่นยนต์ไบโอนิกสี่เท้ารุ่นแรกของอุตสาหกรรมที่มีการทำงานประสานกันระหว่างหัวกับลำตัว อีกทั้งยังมีองศาเสรีอยู่ที่ 15 ซึ่งเป็นระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรม นอกจากความแข็งแรงและความคล่องแคล่วว่องไวแล้ว ดรีมมี ด็อกยังสามารถสื่ออารมณ์ได้โดยใช้หัวในการแสดงการตอบสนองทางอารมณ์ต่อผู้ใช้

"ดรีมมี ด็อกมีระบบการรับรู้ห้ามิติ ซึ่งเราใช้ในการพัฒนาระบบอารมณ์ที่ทำให้มันสามารถแสดงปฏิกิริยาทางอารมณ์แบบต่าง ๆ ขณะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้" เจ้าหน้าที่ของดรีมมีอธิบายในงานประชุมว่า "ฟีเจอร์ของดรีมมี ด็อกรองรับทั้งการพัฒนาแบบโอเพนซอร์สและชุดเครื่องมือพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) แบบเปิด ทำให้เอื้อต่อการพัฒนาเสริมและการใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การเรียนการสอน และด้านอื่น ๆ"

หุ่นยนต์พาณิชย์ของดรีมมี

นอกจากหุ่นยนต์เกรดผู้บริโภคแล้ว ดรีมมียังนำเสนอหุ่นยนต์พาณิชย์และหุ่นยนต์สี่เท้าเกรดอุตสาหกรรมสำหรับการใช้งานหนัก โดยในงานประชุมนี้ หุ่นยนต์ส่งอาหารระดับไฮเอนด์ของดรีมมีรุ่น D1 แสดงให้เห็นว่าสามารถครอบคลุมทุกภาพเหตุการณ์เชิงพาณิชย์ โดยสับเปลี่ยนระหว่างหลากหลายโหมด อย่างเช่น การจัดที่นั่งให้แขก, การส่งอาหาร, การเก็บจาน และการตรวจตรา หุ่นยนต์ส่งอาหารอัจฉริยะดรีมมี D1 (Dreame D1) ใช้เทคโนโลยีการนำทางและระบุตำแหน่งดูอัล-สแลม (Dual-SLAM) ที่พัฒนาขึ้นเองของดรีมมี ซึ่งสามารถสร้างแผนที่ของร้านอาหารและแผนเส้นทางได้อย่างรวดเร็วและอัจฉริยะ หุ่นยนต์ D1 มอบโซลูชันครบวงจรสำหรับการจัดบริการอาหารด้วยการดูแลการจัดที่นั่งให้แขก, การส่งอาหาร และการตรวจตรา นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ตรวจตราสี่เท้าเกรดอุตสาหกรรม ซึ่งสาธิตการบรรทุกคนและสิ่งของ และการปีนข้ามสิ่งกีดขวาง โดยมีสมรรถนะการหลบหลีกสิ่งกีดขวางอย่างมีไดนามิกยอดเยี่ยม ทำให้เป็นหุ่นยนต์ที่เหมาะมากสำหรับการใช้งานในภารกิจด้านความมั่นคงปลอดภัย, การลาดตระเวนตรวจตรา, การกู้ภัย, การค้นหา และการทำแผนที่ และจะมีประโยชน์ในหลายภาคส่วนและอุตสาหกรรม อย่างเช่น การดับเพลิง, พลังงานไฟฟ้า และเหมืองแร่

การเผยโฉมหุ่นยนต์ดรีมมีหลากหลายรุ่นในงานประชุมปัญญาประดิษฐ์โลก (World Artificial Intelligence Conference) แสดงให้เห็นว่าดรีมมีได้วางรากฐานเป็นบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างแท้จริงในด้าน R&D วิทยาการหุ่นยนต์, ห่วงโซ่อุปทาน, การผลิตและกระบวนการผลิต, การพัฒนาบุคลากร และการดำเนินการเชิงพาณิชย์

ปัจจุบัน ดรีมมีใช้ประโยชน์จากสมรรถภาพในการสร้างระบบของวิทยาการหุ่นยนต์ในการประยุกต์ใช้งานเชิงปฏิบัติแบบต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมในระดับที่ลึกยิ่งขึ้นและเพิ่มคุณค่าของหุ่นยนต์ในหลายภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ดรีมมีไม่ได้นิยามตนเองเป็นเพียงบริษัทอุปกรณ์หุ่นยนต์เท่านั้น ด้วยการยึดมั่นในหลักการ "โรบอต+" (Robot+) ดรีมมีใช้เทคโนโลยีและสมรรถนะหุ่นยนต์ในการตอบสนองต่อความท้าทายในอุตสาหกรรม ยกระดับประสิทธิภาพของอุตสาหกรรม และเพิ่มคุณค่าของหุ่นยนต์อย่างมีนัยสำคัญ

"ทศวรรษหน้านี้จะเป็น 10 ปีที่ดีที่สุดสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์ทั่วไป" คุณฮ่าว ยฺหวี (Hao YU) ผู้ก่อตั้งดรีมมี เทคโนโลยี กล่าว "การพัฒนาสมรรถนะที่แข็งแกร่งและหลากหลายในด้านวิทยาการหุ่นยนต์จะช่วยให้ดรีมมีสานต่อการพัฒนาการสร้างระบบหุ่นยนต์ทั่วไป โดยนำเสนอหุ่นยนต์ในทุกอุตสาหกรรมและทุกภาคส่วน ซึ่งจะสร้างการประยุกต์ใช้งานเชิงปฏิบัติในภาคธุรกิจ, เกษตรกรรม, การแพทย์ และการคมนาคมขนส่ง ประกอบกับค่อย ๆ บูรณาการอีโคซิสเต็มหุ่นยนต์ทั่วไปที่เอื้อให้หุ่นยนต์สามารถให้บริการครอบครัวและสังคมโดยรวมได้ดียิ่งขึ้น"

เกี่ยวกับดรีมมี เทคโนโลยี

ดรีมมี เทคโนโลยี (Dreame Technology) ก่อตั้งขึ้นในปี 2560 และเป็นผู้ผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่ทันสมัย โดยมุ่งเน้นไปที่เครื่องทำความสะอาดบ้านอัจฉริยะ บริษัทมีวิสัยทัศน์ในการมอบพลังให้กับทุกชีวิตด้วยเทคโนโลยี ติดตามเราได้ทางเฟซบุ๊กอินสตาแกรม และทวิตเตอร์ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://www.dreametech.com/

Source: Dreame Technology
Keywords: Computer/Electronics Trade show news Artificial Intelligence