กรุงเทพฯ--6 ก.ย. 2566--พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
สถาปัตยกรรมการพัฒนา Software แบบ Cloud Native นั้นได้กลายเป็นมาตรฐานหลักในการพัฒนา Application สำหรับภาคธุรกิจองค์กรทั่วโลกไปแล้ว ทั้งด้วยข้อดีในแง่ของกระบวนการพัฒนา Software ไปจนถึงการปรับใช้ระบบที่ง่ายดายต่อการทำงานและการดูแลรักษา ไปจนถึงเชิงของเทคโนโลยีที่ทำให้ Application เหล่านั้นสามารถใช้งานในแบบ Hybrid Multicloud ได้ทันที
Huawei Cloud ในฐานะของผู้นำด้านบริการ Cloud ระดับโลก ได้ร่วมมือกับ Cloud Native Computing Foundation หรือ CNCF จัดงานสัมมนา Cloud Native Tech Summit Thailand 2023 ขึ้นในประเทศไทย ภายใต้ธีม Great minds discuss cloud native เพื่ออัปเดตแนวโน้มใหม่ๆ ด้านสถาปัตยกรรมของ Cloud และการบริการที่จะช่วยให้ธุรกิจองค์กรสามารถพัฒนา Application และ AI ซึ่งจะตอบโจทย์การใช้งานจริงได้ดียิ่งกว่าที่เคย
Huawei Cloud ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และประเทศไทยก็เป็นตลาดที่มีความสำคัญ
Huawei Cloud ที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2023 ที่ผ่านมามีการเติบโตอย่างรวดเร็วที่น่าสนใจมาก จนปัจจุบันมีพาร์ทเนอร์ไทยมากถึง 300 ราย ทำให้ประเทศไทยถือเป็นตลาดหนึ่งที่มีความสำคัญมากและกลยุทธ์ของ Huawei Cloud ในอนาคตมีดังนี้
1. ให้ความสำคัญกับ Local Strategy ในไทย ด้วยการเป็นผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่มี Data Center ในประเทศไทย
2. ยังคงนำบริการใหม่ๆ เข้ามาเปิดตัวเพิ่มเติมในไทย ไม่ว่าจะเป็น Database, AI หรืออื่นๆ ก็ตาม ทำให้ในไทยสามารถนำนวัตกรรมล่าสุดจาก Huawei มาใช้งานได้ทันที และมีกรณีการใช้งานที่น่าสนใจเกิดขึ้นทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง อย่างเช่น Pangu AI Model ได้มีการนำเข้ามาในไทย
3. สร้าง Cloud Ecosystem ในประเทศไทย โดยจะส่งเสริมนักพัฒนาชาวไทยให้ได้มากที่สุด
สำหรับในระดับโลกนั้น Huawei Cloud ต้องการที่จะเติบโตร่วมไปกับ Ecosystem จึงได้จับมือกับ CNCF เพื่อร่วมผลักดันและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น โดยนักพัฒนา Software ในไทย สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาต่อยอดพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต
Huawei Cloud: Regionless and Flexible Computing สถาปัตยกรรม Cloud แห่งอนาคต
อีกประเด็นสำคัญที่ Huawei Cloud ได้ออกมาเผยในงานสัมมนาครั้งนี้ คือการวางสถาปัตยกรรมใหม่สำหรับบริการ Cloud แห่งอนาคต ที่จะเปลี่ยนไปรองรับ Cloud Native Application อย่างเต็มตัว ภายใต้ชื่อ Huawei Cloud Overall Unified Cloud Architecture นอกจากนี้ Huawei Cloud ยังมีการเสริม Global Cloud Resource Orchestration & Scheduling (GOS) สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรบน Cloud โดยอัตโนมัติ หมดปัญหาด้านการจัดการแยกภูมิภาคและ Global Application and Database ที่จะทำให้การปรับใช้ Application ได้ทั่วโลกเป็นไปได้ง่ายขึ้น สามารถเขียนอ่านข้อมูลได้จากทุกภูมิภาค ทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในการเชื่อมต่อเครือข่ายข้ามประเทศนั้นจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากเพราะสามารถเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดได้ ช่วยให้การรับส่งข้อมูลที่มีความหน่วง (Latency) ต่ำที่สุด และลดอัตราความเสียหายของข้อมูลได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้ค่าใช้จ่ายด้านเครือข่าย (Network) บน Cloud ลดลงด้วย
แล้วธุรกิจองค์กรไทยจะก้าวสู่การเป็น Cloud Native Infrastructure ที่แท้จริงได้อย่างไร?
การเติบโตของ Cloud Native Computing Foundation หรือ CNCF มีความน่าสนใจมาก สามารถเห็นได้ชัดว่าแนวโน้มของ Cloud Native นั้นมีการเติบโตที่ชัดเจน โดยในปี 2022 มีโครงการที่ใช้ไปแล้วถึง 157 โครงการ 187,000 และทุกวันนี้ Cloud Native ก็กลายเป็นเทคโนโลยีมาตรฐานสำหรับทุกกรณีการใช้งานไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันการใช้ Cloud Native ในปี 2023 มีมากถึง 80% และเชื่อว่าภายในปี 2025 จะมีการใช้สัดส่วนเกือบ 100% อีกทั้งในปี 2024 การใช้งาน Container จะมีสัดส่วนที่สูงขึ้น
ปัจจุบัน Huawei Cloud ได้เข้าร่วมใน CNCF เพื่อร่วมพัฒนาในเทคโนโลยีใหม่ๆและนำมาเปิดให้ใช้งานบน Cloud ได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งาน Huawei Cloud ให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างดีที่สุด
Cloud Native Database: ทางเลือกใหม่ในการวางระบบฐานข้อมูลสำหรับ Cloud Native Application ขนาดใหญ่
อีกหนึ่งบริการที่ถูกเน้นย้ำในงานสัมมนาครั้งนี้ก็คือบริการ Cloud Native Database ของ Huawei Cloud ภายใต้ชื่อ GaussDB Series
GaussDB จะมาช่วยเติมเต็มให้ Huawei Cloud สมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม เพราะเดิมทีบริการ Database อย่าง RDS/DDS นั้นจะมุ่งเน้นไปยังประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้งานเป็นหลัก แต่ GaussDB จะมามุ่งเน้นในส่วนของการรองรับ Cloud Native Application ทั่วโลกขนาดใหญ่ ซึ่งในธนาคารที่ต่างประเทศก็มีกรณีของการนำ GaussDB มาใช้งานแทนระบบ Commercial Database ตัวเดิม
Huawei Cloud Pangu Model: ตัวอย่างการใช้งาน AI ที่เกิดขึ้นจริงจาก Huawei Cloud
Huawei Cloud ยังได้นำเสนอถึง Huawei Cloud Pangu Model ที่เป็นบริการ AI สำหรับรองรับการใช้งานภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ ข้อดีของ Huawei Pangu Model นั้นคือการที่มีความพร้อมในการใช้งานมากกว่า AI Model อื่นๆ จากการมีทั้ง Industry-Specific Model และ Scenario-based Model ที่ผ่านการใช้งานจริงมาแล้ว โดยสามารถเลือกจัดเก็บข้อมูลและ Deploy Model ไปใช้งานได้ทั้งแบบ On-Premises และ Cloud อีกทั้งยังสามารถปรับแต่ง AI Model เหล่านี้ให้เข้ากับความต้องการของธุรกิจได้
ตัวอย่างของการใช้งานจริงที่ Huawei Cloud ได้แบ่งปันมา
แบ่งปันประสบการณ์จากผู้ใช้บริการ Huawei Cloud ในไทย: Infinitas และ iApp
Infinitas ได้มาแบ่งปันถึงประสบการณ์การใช้งาน Multicloud อย่างเต็มตัวสำหรับการพัฒนา Application การเงินให้กับธนาคาร โดย Huawei Cloud เองก็เป็นหนึ่งในนั้น และมีบทเรียนที่ธุรกิจซึ่งจะก้าวสู่การทำ Cloud Native ในแบบ Multicloud ต้องเผชิญ ได้แก่
จุดสำคัญที่ Infinitas ใช้ก็คือการฝึกอบรมพนักงานและแบ่งปันความรู้ระหว่างทีมอยู่เสมอ เพราะสุดท้ายแล้วการใช้ Cloud ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น ก็คือการเข้าใจในเทคโนโลยี เงื่อนไข และค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้มากที่สุดนั่นเอง
สำหรับ iApp และสมาคม AIEAT เองนั้นก็มาแบ่งปันประสบการณ์ด้านการทำ AI ในไทย ที่ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงการ OpenThaiGPT เพื่อให้ธุรกิจไทยมีโมเดลภาษาไทยไปใช้งานได้ การพัฒนา Chatbot ในยุคใหม่ที่นำ Generative AI มาใช้ การทำ Automated Stock News Analysis ให้ AI ช่วยสรุปข่าวหุ้นและการลงทุนสำหรับ Fund Manager
อย่างไรก็ดี ทั้ง Infinitas และ iApp เองต่างก็มีประสบการณ์ที่ดีในการใช้ Huawei Cloud ทั้งในแง่ของการให้บริการและความร่วมมือที่ดี การฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง การมี Data Center ในประเทศไทยซึ่งช่วยให้การใช้งาน Cloud มีประสิทธิภาพในการตอบสนองที่สูงขึ้น ไปจนถึงราคาของ Huawei Cloud ที่คุ้มค่ายิ่งกว่าบริการ Public Cloud รายอื่นๆ
ก็จบเรียบร้อยครับสำหรับการสรุปเนื้อหางานสัมมนาในครั้งนี้ ถ้าหากใครสนใจโซลูชันใดๆ จาก Huawei Cloud ก็สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ทางการของ Huawei Cloud โดยตรงที่ https://www.huaweicloud.com/intl/th-th/ หรือติดต่อพาร์ทเนอร์ของ Huawei Cloud ได้เลยนะครับ