เซี่ยงไฮ้, 8 ก.ย. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก (Shanghai Electric) (SEHK:2727, SSE:601727) เติบโตอย่างมีนัยสำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 โดยอาศัยโอกาสทางการตลาดในภาคส่วนสำคัญ ๆ ควบคู่ไปกับการปรับกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมเพื่อรับมือกับความท้าทายของเศรษฐกิจโลก
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจคาร์บอนต่ำ รวมถึงพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ เพื่อสนับสนุนเป้าหมาย "คาร์บอนคู่ขนาน" (Dual-Carbon) ของรัฐบาลจีนในช่วงครึ่งปีแรก โดยในช่วงเวลาดังกล่าว บริษัทได้รับคำสั่งซื้อใหม่สำหรับอุปกรณ์พลังงานนิวเคลียร์และพลังงานความร้อนสะอาดประสิทธิภาพสูงเพิ่มขึ้น 182.33% และ 386.67% ตามลำดับ ส่งผลให้รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นทำสถิติ
บริษัทมีรายได้จากการดำเนินงาน 5.3078 หมื่นล้านหยวนในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 เพิ่มขึ้น 5.54% จากปีก่อนหน้า ขณะที่กำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 590 ล้านหยวน หลังจากขาดทุนในปี 2565 คำสั่งซื้ออุปกรณ์พลังงาน อุปกรณ์อุตสาหกรรม และบริการครบวงจร เพิ่มขึ้น 38.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็นมูลค่ารวม 8.201 หมื่นล้านหยวน ส่งผลให้บริษัทมียอดสั่งซื้อในมือ (Backlog) อยู่ที่ 2.8418 แสนล้านหยวน ณ เดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 5.8%
ธุรกิจอุปกรณ์พลังงานเป็นผู้นำการเติบโต
บริษัทเป็นผู้นำระดับโลกในด้านอุปกรณ์พลังงาน โดยมีการยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อช่วยให้ลูกค้ามุ่งสู่องค์กรสีเขียว รายได้จากการดำเนินงานของธุรกิจอุปกรณ์พลังงานในช่วงครึ่งปีแรกอยู่ที่ 2.5677 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้น 5.8% และอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 19.4% ขณะที่กำไรเพิ่มขึ้น 63.4% เป็น 518 ล้านหยวน
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ได้รับคำสั่งซื้ออุปกรณ์พลังงานนิวเคลียร์คิดเป็นมูลค่า 7.815 พันล้านหยวนในครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 182.33% อันเนื่องมาจากผลงานความสำเร็จต่าง ๆ ได้แก่ คำสั่งซื้อเครื่องปฏิกรณ์แบบระบายความร้อนด้วยแก๊สอุณหภูมิสูงรุ่นที่ 4 การดำเนินการเชิงพาณิชย์ของเครื่องปฏิกรณ์หัวหลง-1 (Hualong One) เครื่องแรกในภาคตะวันตกของจีน และการประมูลโครงการก่อสร้างโรงงานทดลองปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น
ขณะที่ยอดสั่งซื้ออุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเพิ่มขึ้นสี่เท่าจากปีที่แล้ว แตะที่ 2.2679 หมื่นล้านหยวนในช่วงครึ่งปีแรก
ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานใหม่
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ดำเนินแผนปฏิบัติการคาร์บอนคู่ขนาน (Dual-Carbon Action Plan) ซึ่งช่วยให้บริษัทมีความก้าวหน้าอย่างมากในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุดก่อนปี 2578 และบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าภายในปี 2598 นับเป็นการเปิดประตูเพื่อขยายไปสู่พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานไฮโดรเจน พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนในการลดคาร์บอนทางเศรษฐกิจด้วยโซลูชั่นระบบพลังงานใหม่
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ได้แสดงความเชี่ยวชาญในสาขานี้ผ่านระบบกักเก็บพลังงานแบตเตอรี่วานาเดียมรีดอกซ์โฟลว์ 500kW/3000kWh ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านเทคนิคของบริษัทเกี่ยวกับแบตเตอรี่วานาเดียมรีดอกซ์โฟลว์ (VRFB)
ขณะเดียวกัน บริษัทยังเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเซลล์แสงอาทิตย์ชนิด N-type ยุคใหม่ ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเซลล์และโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Heterojunction ประสิทธิภาพสูงในปีนี้ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 มีโครงการเซลล์แสงอาทิตย์ในต่างประเทศหลายโครงการเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างศูนย์พลังงานคอมเพล็กซ์ CSP-PV ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในดูไบ
โซลูชั่นอุตสาหกรรมที่ล้ำสมัย
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566 ธุรกิจอุปกรณ์อุตสาหกรรมของ เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก มีรายได้จากการดำเนินงาน 1.9609 หมื่นล้านหยวน เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบเป็นรายปี อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 16.8% และกำไรจากการดำเนินงานอยู่ที่ 779 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 38.4%
เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก กำลังดำเนินการส่งมอบโซลูชันการผลิตขั้นสูงสำหรับภาคอุตสาหกรรมการบิน โดยโบรต์จี (Broetje) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของเซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก เพิ่งส่งมอบหุ่นยนต์สำหรับงานหนักให้กับ กัลฟ์สตรีม แอโรสเปซ คอร์ปอเรชัน (Gulfstream Aerospace Corporation) ขณะที่บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งคือ ทาเลส ทรานสปอร์ต แอนด์ ซีเคียวริตี (Thales Transport & Security) เพิ่งเปิดตัวระบบส่งสัญญาณควบคุมรถไฟอัตโนมัติที่มาพร้อมเทคโนโลยี 5G และการตรวจจับสิ่งกีดขวาง
บริการแบบครบวงจรนำพาไปสู่อนาคตที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น
ธุรกิจบริการครบวงจรของ เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก มีรายได้จากการดำเนินงาน 1.0265 หมื่นล้านหยวน และมีกำไรจากการดำเนินงาน 581 ล้านหยวนในช่วงครึ่งแรกของปี นอกจากนี้ บริษัทกำลังดำเนินงานด้านการผลิตอัจฉริยะผ่านการบูรณาการปัญญาประดิษฐ์ 5G และอินเทอร์เน็ตอุตสาหกรรม