omniture

หัวเว่ยเผยแพร่สมุดปกขาวว่าด้วยสถาปัตยกรรมเพื่อการปฏิรูปบริการสาธารณะสู่ระบบอัจฉริยะ

Huawei
2023-09-22 11:52 86

เซี่ยงไฮ้, 22 ก.ย. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

ที่งานหัวเว่ย คอนเนกต์ (HUAWEI CONNECT) ประจำปี 2566 บริษัทหัวเว่ย (Huawei) ได้จัดการประชุมสุดยอดที่กระตุ้นความคิดในหัวข้อ "เร่งปฏิรูปบริการสาธารณะสู่ระบบอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนสังคมรู้คิด" (Accelerating Intelligent Transformation of Public Services to Drive Cognitive Society) ในงานดังกล่าว หัวเว่ยได้เผยแพร่สมุดปกขาวว่าด้วยสถาปัตยกรรมเพื่อการปฏิรูปบริการสาธารณะสู่ระบบอัจฉริยะ (White Paper on Architecture for Intelligent Transformation of Public Services) โดยมีบุคลากรที่เป็นผู้บุกเบิกบริการสาธารณะระดับโลกช่วยให้ความกระจ่างเกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบอัจฉริยะ และทิศทางการดำเนินงานไปสู่ระบบดังกล่าว เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับบริการสาธารณะได้มากยิ่งขึ้น และบริการสาธารณะสามารถกำหนดเป้าหมายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

White Paper on Architecture for Intelligent Transformation of Public Services
White Paper on Architecture for Intelligent Transformation of Public Services

ในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ คุณเซี่ย จุน (Xia Zun) ประธานฝ่ายภาคสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ย กล่าวว่า "ระบบอัจฉริยะจะช่วยให้ภาครัฐให้บริการผู้คนได้มากขึ้น ในสังคมที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางซึ่งต้องการคุณค่าร่วมกันนั้น เราจำเป็นต้องร่วมแรงร่วมใจกันและร่วมมือกันใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลขึ้นใหม่ และฟื้นฟูระบบนิเวศดิจิทัล เพื่อเร่งปฏิรูปบริการสาธารณะไปสู่ระบบอัจฉริยะ"

Xia Zun, President of Huawei Global Public Sector
Xia Zun, President of Huawei Global Public Sector

คุณหง เอิง โก๊ะ (Hong-Eng Koh) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ฝ่ายภาคสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ย กล่าวถึงสมุดปกขาวว่าด้วยสถาปัตยกรรมเพื่อการปฏิรูปบริการสาธารณะสู่ระบบอัจฉริยะ ที่เผยแพร่ออกมาว่า สถาปัตยกรรมเพื่อการปฏิรูปบริการสาธารณะสู่ระบบอัจฉริยะ ประกอบด้วยระบบตรวจจับอัจฉริยะ (Intelligent Sensing) ระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ (Intelligent Connectivity) ระบบโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ (Intelligent Foundation) แพลตฟอร์มอัจฉริยะ (Intelligent platform) โมเดล AI ขนาดใหญ่ (AI Large Model) และแอปพลิเคชันอัจฉริยะ (Intelligent Application) และกล่าวเสริมว่า เราหวังที่จะเห็นบริการสาธารณะที่ทุกคนมีส่วนร่วมได้มากยิ่งขึ้น และการกำกับดูแลเป็นไปแบบอัจฉริยะ โดยเราพยายามเพิ่มประสิทธิภาพ "ความเป็นมนุษย์" ของบริการสาธารณะ ขยาย "ขอบเขต" ของการสร้างสรรค์ร่วมกัน ปรับปรุง "ความแม่นยำ" ของการกำกับดูแล เพิ่ม "ความเร็ว" ของการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน เสริม "ความแข็งแกร่ง" ให้แก่โครงสร้างพื้นฐาน และเพิ่ม "จำนวน" การรับรู้สถานการณ์ต่าง ๆ

การปฏิรูปบริการสาธารณะสู่ระบบอัจฉริยะของหัวเว่ยจะมุ่งเน้นใน 4 มิติ ดังนี้

การศึกษาอัจฉริยะ: การปฏิรูปไปสู่ระบบอัจฉริยะจะทำให้การศึกษาไม่มีขอบเขตอีกต่อไป เอื้อให้ทำการสอนเชิงรุกได้แบบอัจฉริยะ ขยายการศึกษาในระบบโรงเรียนจากเดิมที่ต้องเข้าห้องเรียนไปสู่การเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา

การดูแลสุขภาพอัจฉริยะ: การปฏิรูปไปสู่ระบบอัจฉริยะจะกำหนดนิยามใหม่ของการจัดการด้านสุขภาพและโหมดบริการ และช่วยสร้างระบบบริการดูแลสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความเป็นคนของทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (people-oriented) และให้ประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ใช้บริการ

AI สำหรับภาครัฐและบริการสาธารณะ (AI4G): AI4G ของหัวเว่ยทำให้เกิดนวัตกรรมและการปฏิรูปในมิติด้านการบริการสาธารณะ การผลิตทางสังคม และการดำรงชีวิตของผู้คน นำไปสู่การกำกับดูแล เศรษฐกิจ และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

การปรับเปลี่ยนบริการสาธารณะให้เป็นดิจิทัล: จะมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลระดับชาติที่ประกอบด้วยคลาวด์และเครือข่ายขึ้น เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของบริการสาธารณะ โดยการเชื่อมโยงระบบสาธารณูปโภคและหน่วยงานของรัฐในเมืองต่าง ๆ ช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานนี้ให้บริการที่เป็นนวัตกรรม ทั้งบริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ บริการการศึกษา และการดูแลสุขภาพได้ทั้งในเขตเมืองและในชนบทห่างไกล ซึ่งจะช่วยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในบริการสาธารณะได้มากขึ้นและเท่าเทียมกันยิ่งขึ้น

ติดต่อ: hwebgcomms@huawei.com 

Source: Huawei
Keywords: Computer Hardware Computer Networks Computer Software Computer/Electronics Internet Technology Telecommunications Telecommunications Equipment Market Research Reports