omniture

CGTN: เมื่อโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางดำเนินมาครบ 10 ปี ถึงเวลาที่จีนและยุโรปต้องหารือกันท่ามกลางความไม่แน่นอน

CGTN
2023-10-18 15:41 50

ปักกิ่ง, 18 ต.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

เซอร์เบียเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้ประโยชน์จากโครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) หรือ BRI โดยมีโรงถลุงเหล็กอายุนับศตวรรษในเมืองสเมเดเรโว (Smederevo) ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นตัวอย่างที่สำคัญ โดยโรงเหล็กสเมเดเรโวก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2456 และในช่วงที่ขึ้นถึงจุดสูงสุด เคยทำรายได้ถึง 40% ให้กับเมือง จนเป็นที่รู้จักในนาม "ความภาคภูมิใจของเซอร์เบีย"

แต่ต่อมาเพราะการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงขึ้นและการดำเนินงานที่ย่ำแย่ โรงเหล็กแห่งนี้จึงเริ่มขาดทุนปีแล้วปีเล่าจนเกือบล้มละลาย รัฐบาลเซอร์เบียเคยเสนอขายให้ต่างประเทศหลายครั้งแต่ทุกครั้งล้มเหลว พนักงานกว่า 5,000 คนเผชิญความไม่แน่นอนในปี 2559 จนกระทั่งเหอเป่ย์ ไอออน แอนด์ สตีล กรุ๊ป (Hebei Iron and Steel Group) ของจีนเข้ามาตั้งเอชบีไอเอส เซอร์เบีย สตีล (HBIS Serbia Steel) พร้อมแนะนำการจัดการและเทคโนโลยีขั้นสูงให้ เปลี่ยนโรงเหล็กแห่งนี้ให้กลายเป็นองค์กรระดับโลกที่เน้นลูกค้าและห่วงโซ่อุปทาน จากนั้นบริษัทก็บูรณาการเข้ากับ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" และกระบวนการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ สร้างชื่อเสียงอย่างรวดเร็วในฐานะองค์กรเหล็กที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงของยุโรปและเป็นตัวอย่างของความร่วมมือทางอุตสาหกรรมระหว่างประเทศ

ความร่วมมือ BRI ระหว่างจีนกับยุโรป

การฟื้นตัวของโรงเหล็กอายุนับศตวรรษเป็นตัวอย่างที่ดีของประโยชน์ที่ BRI มอบให้กับยุโรป โดย 26 ประเทศในยุโรปได้ลงนามร่วมโครงการ BRI กับจีน ภายใต้ความร่วมมือ BRI การนำเข้าของจีนจาก EU ระหว่างปี 2559-2564 เพิ่มขึ้น 63.7% ขณะที่การนำเข้าของจีนจากประเทศยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเพิ่มขึ้น 127.3% ในช่วงเดียวกัน รถไฟด่วนไชน่า เรลเวย์ เอ็กซ์เพรส (China Railway Express) ที่เชื่อมโยงหลายเมืองยูเรเชียทางชายฝั่งตะวันออกของจีนเข้ากับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ก็พลุกพล่านมากขึ้น โดยในปีที่ผ่านมามีรถไฟวิ่งผ่านเส้นทางระหว่างจีนกับยุโรป 16,000 ขบวน แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับช่วงการเปิดตัวไชน่า เรลเวย์ เอ็กซ์เพรส เมื่อกว่าทศวรรษที่แล้วที่มีเพียง 80 ขบวน

ความท้าทายใหม่ ๆ

เมื่อเทียบกับช่วงสองสามปีแรกของโครงการ สถานการณ์ระหว่างจีนกับยุโรปมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความสัมพันธ์แบบทวิภาคีจำเป็นต้องได้รับการปรับเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนและความท้าทาย รวมถึงต้องยกระดับกรอบความคิดเพื่อแทนที่แนวคิดแบบ "ถ้ามีคนชนะก็ต้องมีคนแพ้" ที่ล้าสมัยแล้ว หวัง อี้ (Wang Yi) นักการทูตอาวุโสของจีน ได้กล่าวในการเจรจายุทธศาสตร์ระดับสูงจีน-EU ครั้งที่ 12 ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า จีนกับ EU คือหุ้นส่วนกัน ไม่ใช่คู่แข่งกัน และต่างก็มีความเข้าใจร่วมกันมากกว่าความแตกต่าง ขณะที่โจเซป บอร์เรล (Josep Borrell) รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า แม้ว่าระบบการเมืองและเศรษฐกิจจะแตกต่างกัน แต่ EU กับจีนก็สนใจจะสานต่อความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์และมั่นคงร่วมกัน

ขณะเดียวกัน BRI ก็กำลังก้าวสู่ระยะใหม่เช่นกัน โดยในระยะเริ่มต้น ผู้รับเหมาทั้งเอกชนและของรัฐคือผู้นำในการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งโครงการเหล่านี้ได้ช่วยสานต่อไมตรีจิตทางการเมืองและส่งเสริมพันธมิตรทางธุรกิจในท้องถิ่น และต้องขอบคุณคนกลุ่มนี้ที่ทำให้บริษัทเอกชนของจีนดำเนินธุรกิจในประเทศหุ้นส่วน BRI ได้สบายใจขึ้น ทั้งนี้โดยจีนสนับสนุนให้องค์กรเอกชนมีบทบาทเชิงรุกมากขึ้นและมีส่วนร่วมในโครงการ "เล็กและงดงาม" ซึ่งหมายถึงโครงการเล็ก ๆ ที่ยกระดับความเป็นอยู่ในท้องถิ่นได้โดยตรง โดยการลงทุนใหม่ ๆ ที่ได้รับความนิยมได้แก่ธุรกิจในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น พลังงานใหม่, การดูแลสุขภาพ, การสื่อสารเคลื่อนที่ และอีคอมเมิร์ซ

ยังต้องเจรจาต่อ

นับตั้งแต่เปิดตัว BRI พันธมิตรทั่วโลกได้พยายามค้นหากรอบทฤษฎีและการจัดการเชิงสถาบันเพิ่มเพื่อให้โครงการร่วมมือระดับโลกนี้มีความยั่งยืน ซึ่งประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้เสนอความริเริ่มการพัฒนาโลก (Global Development Initiative), ความริเริ่มความมั่นคงโลก (Global Security Initiative) และความริเริ่มอารยธรรมโลก (Global Civilization Initiative) และความริเริ่มเหล่านี้ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากประชาคมโลกด้วยมีส่วนสนับสนุนการกำกับดูแลสิทธิมนุษยชนของโลกในประเด็นเฉพาะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง การพัฒนา และความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เมื่อพิจารณาจากทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็ถึงเวลาแล้วที่จีนและยุโรปจะดำเนินการเจรจาเพิ่มเติมในประเด็นเชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ โดย CGTN จะเป็นเจ้าภาพจัดเสวนาทางโทรทัศน์นอกรอบในงานแฟรงก์เฟิร์ต บุ๊ค แฟร์ (Frankfurt Book Fair) ปีนี้ ภายใต้หัวข้อ "ความริเริ่มของจีนกับ BRI: โอกาสหรือความเสี่ยง?" (China's Global Initiatives and the BRI: Opportunities or Risks?)

ผู้ร่วมเสวนา ก็ได้แก่ ดานิโล เติร์ก (Danilo Türk) อดีตประธานาธิบดีสโลวีเนีย, มิคาเอล ชูมันน์ (Michael Schumann) ประธานคณะกรรมการสมาคมสหพันธรัฐเยอรมนีเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าต่างประเทศ, รูดอล์ฟ ชาร์ปิง (Rudolf Scharping) อดีตรัฐมนตรีกลาโหมเยอรมนี, ซูซาน เบามันน์ (Susanne Baumann) อดีตผู้อำนวยการสถาบันขงจื๊อแห่งดึสเซิลดอร์ฟ และจง หง (Zhong Hong) อดีตรองประธานอาวุโสของอีโวนิค อินดัสตรีส์ (Evonik Industries) ทั้งนี้โดยผู้ร่วมเสวนาจะอภิปรายเชิงลึกเกี่ยวกับความสัมพันธ์จีน-EU ภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงเสถียรภาพและความรุ่งเรืองของโลกด้วย

https://news.cgtn.com/news/2023-10-17/As-the-Belt-and-Road-turns-10-high-time-for-China-and-Europe-to-talk-amid-uncertainties-1nXkFjKKduU/index.html


 

Source: CGTN
Keywords: Banking/Financial Service Computer/Electronics Mining Mining/Metals Multimedia/Online/Internet Publishing/Information Service General Manufacturing