เซินเจิ้น, จีน, 20 พฤศจิกายน 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
Birgit Murr presenting the award to Wang Sheng, General Manager of State Grid's Jiangsu Yining Energy Industry Group, and Dr. Anthony Hu, Chief Expert of Huawei's Electric Power Digitalization BU
เมื่อไม่นานมานี้ ในพิธีมอบรางวัลเอเนอร์จี โกลบ อวอร์ด (Energy Globe Award) ซึ่งจัดขึ้นที่นครเซินเจิ้น เครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Intelligent Campus) ในมณฑลเจียงซู ประเทศจีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างหัวเว่ย (Huawei) กับการไฟฟ้าแห่งประเทศจีน (State Grid) เป็นโครงการเดียวในจีนที่คว้ารางวัลนี้ไปครองได้ โดยรางวัลดังกล่าวเชิดชูคุณูปการอันโดดเด่นของเหยียนเฉิง พาวเวอร์ ซัพพลาย คอมปะนี (Yancheng Power Supply Company) ในเครือสเตต กริด เจียงซู (State Grid Jiangsu) ร่วมกับหน่วยธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลกำลังไฟฟ้าของหัวเว่ย (Huawei Electric Power Digitalization BU) ในด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน คุณบิร์กิต มูร์ (Birgit Murr) กงสุลพาณิชย์และรักษาการหัวหน้าสถานกงสุลใหญ่ออสเตรียประจำกวางโจว และผู้มอบรางวัล กล่าวว่า "เครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในมณฑลเจียงซู ได้รับการยกย่องในระดับสากลว่าเป็นต้นแบบความเป็นกลางทางคาร์บอนระดับโลกและการพัฒนาอย่างยั่งยืน"
รางวัลนี้จัดขึ้นโดยมีองค์กรอิสระจากออสเตรียอย่างมูลนิธิพลังงานโลก (Global Energy Foundation) เป็นเจ้าภาพ และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรระดับสากลต่าง ๆ อาทิ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Industrial Development Organization) หรือยูนิโด (UNIDO) และกระทรวงการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย โดยมอบให้กับโครงการต่าง ๆ ที่ได้รับคัดเลือกเพียงไม่กี่โครงการจากกว่า 1,000 โครงการ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานระดับโลกได้คัดเลือกหลายรอบเพื่อเฟ้นหาผู้สมัครที่ยอดเยี่ยมที่สุด
โครงการที่คว้ารางวัลนี้นำโดยคุณแอนโทนี หู (Anthony Hu) จากหัวเว่ย ด้วยโมเดลการเปลี่ยนแปลงแบบ T3 ที่เขาเสนอ ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน การเปลี่ยนแปลงทางคาร์บอนเป็นศูนย์ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โครงการดังกล่าวได้สร้างสรรค์การใช้งานใน 3 สถานการณ์ที่มุ่งเน้นไปที่การจัดการพลังงานอัจฉริยะ คาร์บอนเป็นศูนย์อัจฉริยะ และเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะ
โครงการดังกล่าวกินพื้นที่ 25.7 เอเคอร์ ครอบคลุมการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขนาด 134,000 ตารางเมตรที่มุ่งเน้นไปที่หลักการต่าง ๆ เช่น การออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ความชาญฉลาด การแบ่งปัน และการทำหน้าที่เป็นโครงการสาธิต ซึ่งโอบรับค่านิยมหลัก 5 ด้าน ได้แก่ การจัดหาพลังงานคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การประสานพลังงานที่หลากหลาย ประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม การเพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัล และนวัตกรรมข้ามพรมแดน ซึ่งโครงการนี้ได้บูรณาการพลังงานหมุนเวียน ระบบพลังงานแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ พลังงานไฮโดรเจน และการกักเก็บพลังงานเอาไว้ด้วยกัน
นอกจากนี้ โครงการและโซลูชันดังกล่าวยังได้รับรางวัลชนะเลิศ (Champion Prize) ที่การประชุมสุดยอดว่าด้วยสังคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society หรือ WSIS) ประจำปี 2565 ในเดือนมิถุนายน 2565 และได้รับเลือกให้เป็น 1 ในโครงการระดับโลก 10 อันดับแรกของรางวัลพอลสัน ไพรซ์ ด้านความยั่งยืน (Paulson Prize for Sustainability) ประจำปี 2565 ด้วย นอกจากนี้ ทฤษฎี สถาปัตยกรรม และโมเดลหลักต่าง ๆ ของโครงการนี้ยังคว้ามาได้อีก 2 รางวัล ทั้งวิจัยยอดเยี่ยม (Best Paper) และรายงานยอดเยี่ยม (Best Report) ที่การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (IEEE International Conference) ว่าด้วยการบูรณาการการเชื่อมโยงพลังงานและระบบพลังงาน และฟอรัมการพัฒนากำลังไฟฟ้าและพลังงานระดับนานาชาติ (International Power and Energy Development Forum) ประจำปี 2566
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัลเอเนอร์จี โกลบ อวอร์ด ได้ที่
https://www.energyglobe.info/
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัลต่าง ๆ ได้ทาง
Yancheng Low-Carbon and Smart-Energy Innovation Park: From Low Carbon to Zero Carbon
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชันและแนวปฏิบัติของหัวเว่ยในอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าได้ทางเว็บไซต์หัวเว่ย อิเล็กทริก พาวเวอร์ (Huawei Electric Power)