ปักกิ่ง--4 ธันวาคม 2566--พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
จีนและอาเซียนเพิ่งฉลองครบรอบสองปีของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์รอบด้าน โดยเมื่อปี 2564 ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ผู้นำจีน กล่าวไว้ว่า จีนเป็นเพื่อนบ้านที่ดี มิตรที่ดี และหุ้นส่วนที่ดีของอาเซียนมาตั้งแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต ในโอกาสสำคัญนี้ สถานีโทรทัศน์ซีจีทีเอ็น (CGTN) ได้เผยแพร่รายการพิเศษ "จีนและอาเซียน: โอบรับอนาคตที่ปลอดภัยและแบ่งปัน" (China and ASEAN: Embracing A Safe and Shared Future) โดยมีการพูดคุยกับแขกจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเจาะลึกผลสำเร็จที่อาจเกิดขึ้นหากนานาประเทศมีจีนและอาเซียนเป็นแบบอย่าง วางอาวุธและพัฒนาร่วมกัน รายการนี้ผลิตร่วมกับสถานีโทรทัศน์นานาชาติของเมียนมา สตาร์สยามเดลี่ของไทย และซินชิวเดลี่ของมาเลเซีย
ข้อริเริ่มด้านการพัฒนาระดับโลก (Global Development Initiative) ข้อริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก (Global Security Initiative) และข้อริเริ่มด้านอารยธรรมระดับโลก (Global Civilization Initiative) ล้วนได้รับการตอบรับอย่างดีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คุณโซวินดา โป (Sovinda Po) ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ ประเทศกัมพูชา กล่าวว่า "ข้อริเริ่มสามประการ" เพื่อความมั่นคงและการพัฒนาระดับโลกที่ผู้นำจีนนำเสนอนั้น มีความสำคัญต่ออนาคตอย่างมาก โดยข้อริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลกจะช่วยให้ประเทศในเอเชียเข้าใจโลกได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อร่วมกันสร้างอนาคตที่สงบสุข มั่นคง และเจริญรุ่งเรืองต่อไป
ความร่วมมือระหว่างจีนกับอาเซียนเด่นชัดที่สุดในด้านโครงสร้างพื้นฐาน คุณอิบราฮิม โคลิลุล โรห์มาน (Ibrahim Kholilul Rohman) ผู้ร่วมวิจัยอาวุโสของอินโดนีเซีย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป โปรเกรส (Indonesia Financial Group Progress) กล่าวว่า รถไฟจาการ์ตา-บันดุง ไม่เพียงช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและการค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตลอดเส้นทางอีกด้วย "รถไฟไม่เพียงช่วยให้การขนส่งสินค้ารวดเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเส้นชีวิตในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอีกด้วย" นอกจากนี้ จีนยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวและการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วทั้งอาเซียน
ขณะเดียวกัน ความเชื่อมโยงและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมก็กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาในภูมิภาคอาเซียนเช่นกัน คุณนีน่า ไซฟุล (Nina Saiful) จากบรูไน ผู้ก่อตั้งสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เชื่อว่าอารยธรรมจีนและอาเซียนมีต้นกำเนิดเดียวกัน และมีจุดร่วมในด้านคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ด้านคุณจาง หลี่ (Zhang Li) ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมระดับโลก มหาวิทยาลัยสยาม เชื่อว่าความเชื่อมโยงระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม และแนวคิดเรื่อง "สันติภาพ" ในวัฒนธรรมจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน นักการศึกษาควรกำหนดโลกทัศน์และค่านิยมของคนรุ่นใหม่บนพื้นฐานของสันติภาพ และมีส่วนสนับสนุนการพัฒนาสันติภาพในภูมิภาค
จีนพร้อมร่วมมือกับอาเซียนเพื่อจับแนวโน้มที่กำลังเป็นกระแส ขจัดการแทรกแซง แบ่งปันโอกาส และส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน จีนและอาเซียนจะสร้างความก้าวหน้าครั้งใหม่ในการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นด้วยอนาคตที่ปลอดภัยและแบ่งปัน