omniture

"หัวเว่ย" เผย 10 เทรนด์วงการดาต้าเซ็นเตอร์รับปี 2567

Huawei
2024-01-17 21:46 47

เซินเจิ้น จีน, 17 ม.ค. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- เมื่อไม่นานมานี้ หัวเว่ย (Huawei) ได้จัดการประชุม เพื่อเผยแนวโน้มต่าง ๆ ในแวดวงดาต้าเซ็นเตอร์รวม 10 อันดับแรกรับปี 2567 พร้อมประกาศเปิดตัวรายงานสมุดปกขาวที่ให้ข้อมูลในทำนองเดียวกัน ซึ่งในการประชุมนี้ คุณเหยา ฉวน (Yao Quan) ประธานฝ่ายระบบดาต้าเซ็นเตอร์ของหัวเว่ย ได้ให้คุณลักษณะสำคัญ 3 ประการของศูนย์ข้อมูลในอนาคต ได้แก่ ความเชื่อถือได้ เรียบง่าย และยั่งยืน


แนวโน้มที่ 1: ผลิตภัณฑ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและบริการระดับมืออาชีพ เป็นกุญแจสำคัญเพื่อให้ศูนย์ข้อมูลดำเนินการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้

นำแนวคิด "ความปลอดภัยแบบครบวงจร" มาใช้ตลอดขั้นตอนการออกแบบและผลิตสินค้า โดยการวางระบบและให้บริการบำรุงรักษา (O&M) แบบมืออาชีพนั้น ช่วยลดอัตราความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ ลดผลกระทบหลังเกิดภัยพิบัติให้เหลือน้อยที่สุด และปรับปรุงกลไกการรับประกันแบบครบวงจร

แนวโน้มที่ 2: สถาปัตยกรรมระบายความร้อนแบบกระจายจะกลายเป็นตัวเลือกที่ดีกว่า เพื่อให้ทำความเย็นได้อย่างปลอดภัย

เมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมระบายความร้อนแบบรวมศูนย์แล้ว สถาปัตยกรรมระบายความร้อนแบบกระจายมีความยืดหยุ่นมากกว่าในแง่ที่ว่าระบบย่อยต่าง ๆ นั้นเป็นอิสระจากกัน โดยเมื่ออุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเกิดข้อผิดพลาดก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ

แนวโน้มที่ 3: การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์จะกลายเป็นคุณสมบัติพื้นฐานในโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูล

การบำรุงรักษาศูนย์ข้อมูลมักจะดำเนินการหลังเกิดเหตุการณ์ไปแล้ว แต่การมาถึงของระบบประมวลผลอัจฉริยะนั้นจะเข้ามาแทนที่การบำรุงรักษาหลังเกิดเหตุการณ์ด้วยการบำรุงรักษาก่อนเหตุการณ์ ซึ่งจะคาดการณ์อายุการใช้งานของส่วนประกอบที่มีความเสี่ยง ประเมินโอกาสที่อุปกรณ์ต่าง ๆ จะเกิดความร้อนต่อเนื่อง และระบบทำความเย็นรั่วไหล เพื่อให้ป้องกันอุบัติเหตุได้ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง

แนวโน้มที่ 4: ระบบป้องกันความปลอดภัยของเครือข่ายตลอดวงจรชีวิต จะกลายเป็นเกราะกำบังให้กับศูนย์ข้อมูล

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลอันชาญฉลาดพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การโจมตีเครือข่ายจึงเกิดขึ้นบ่อยขึ้นด้วย จึงต้องสร้างความปลอดภัยให้กับซอฟต์แวร์โดยอาศัยระบบป้องกันความปลอดภัยของเครือข่ายตลอดวงจรชีวิตใน 3 มิติด้วยกัน ได้แก่ ความปลอดภัยของซัพพลาย การป้องกันในเชิงลึก และความปลอดภัยในการบำรุงรักษา/ปฏิบัติงาน

แนวโน้มที่ 5: โซลูชันสำเร็จรูปและแยกส่วนได้จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้จัดส่งได้อย่างมีคุณภาพและรวดเร็ว

เมื่อเทียบกับการสร้างแบบเดิม ๆ แล้ว โซลูชันสำเร็จรูปแบบแยกส่วนได้นั้นใช้เวลาสร้างน้อยกว่าแต่ให้คุณภาพสูงกว่า ช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะส่งมอบได้อย่างมีคุณภาพและให้บริการได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังลดขยะจากการสร้างที่ไซต์งานได้ด้วย

แนวโน้มที่ 6: แพลตฟอร์มบริหารจัดการระดับมืออาชีพ ช่วยให้บำรุงรักษาศูนย์ข้อมูลได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ กำลังเร่งขยายขนาดอย่างจริงจัง ด้วยเหตุนี้ การบำรุงรักษาจึงมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นอย่างมากในภาพรวม โดยแพลตฟอร์มบริหารจัดการแบบมืออาชีพจะเข้ามาช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและความแม่นยำในการบำรุงรักษาศูนย์ข้อมูลได้อย่างมาก

แนวโน้มที่ 7: การบรรจบกันของระบบระบายความร้อนด้วยอากาศและของเหลว ได้กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่ต้องการในสถานการณ์ที่ความต้องการบริการมีความไม่แน่นอน

ทั้งอุตสาหกรรมกำลังเปลี่ยนจากการประมวลผลทั่วไปไปสู่การประมวลผลอัจฉริยะ โดยสถานการณ์ที่การประมวลผลทั่วไปและการประมวลผลอัจฉริยะรองรับได้นั้นอาจปรากฏให้เห็นได้ในศูนย์ข้อมูล การนำระบบระบายความร้อนด้วยอากาศและของเหลวมารวมกันจึงจะกลายเป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่ต้องการ เพื่อให้ปรับสัดส่วนในการระบายความร้อนด้วยอากาศและของเหลวตามความต้องการที่แตกต่างกันได้อย่างยืดหยุ่น

แนวโน้มที่ 8: ระบบทำความเย็นแบบระเหยไม่สัมผัสกันโดยตรง ยังคงเป็นระบบทำความเย็นที่ดีที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เมื่อว่ากันในเรื่องระบบทำความเย็นแล้ว ระบบทำความเย็นแบบระเหยไม่สัมผัสกันโดยตรง (indirect evaporative cooling) นั้น ให้ข้อได้เปรียบที่เหนือระบบน้ำเย็นได้อย่างชัดเจนในแง่สถาปัตยกรรม ประสิทธิภาพ และการบำรุงรักษา โดยสถาปัตยกรรมการทำความเย็นแบบกระจายของระบบการทำความเย็นแบบระเหยไม่สัมผัสกันโดยตรง ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวแม้มีจุดบกพร่องเพียงจุดเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการใช้แหล่งทำความเย็นอิสระให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำให้จำเป็นต้องแลกเปลี่ยนความร้อนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยในพื้นที่หนาวเย็นนั้นก็ปล่อยให้คอมเพรสเซอร์อยู่เฉย ๆ ไม่ต้องใช้งานได้ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (PUE) ที่เหมาะสมที่สุด

แนวโน้มที่ 9: การหันไปเพิ่มประสิทธิภาพในการวางวิศวกรรมระบบแทนที่จะมุ่งไปที่ส่วนประกอบที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการลดการใช้พลังงานให้ได้มากขึ้นอีก

ศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิมต่างมุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ ทว่าข้อจำกัดทางกายภาพทำให้การปรับปรุงประสิทธิภาพของส่วนประกอบต่าง ๆ กำลังจะถึงจุดคอขวด ศูนย์ข้อมูลเหล่านี้จึงควรหันไปมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพทางวิศวกรรมระบบแทนที่จะมุ่งแต่พัฒนาส่วนประกอบให้มีประสิทธิภาพ โดยยกโหมดเอสอีโค (S-ECO) เป็นตัวอย่าง

แนวโน้มที่ 10: การเพิ่มประสิทธิภาพเอไอจะกลายเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ที่สุด เพื่อให้ศูนย์ข้อมูลเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานได้อย่างชาญฉลาด

โซลูชันเอไอเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานนั้นแตกต่างจากวิธีการแบบเดิม ๆ เพราะใช้อัลกอริทึมเอไอที่ตั้งไว้ล่วงหน้าและแบบจำลองบิ๊กดาต้าในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูล นอกจากนี้ การเพิ่มประสิทธิภาพด้วยเอไอไม่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างรวดเร็วและให้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจด้วย

ทั้งนี้ หัวเว่ยยังคงมุ่งมั่นในการสร้างผลิตภัณฑ์และโซลูชันรองรับศูนย์ข้อมูลที่เชื่อถือได้ เรียบง่าย และยั่งยืน เพื่อช่วยลูกค้าและพันธมิตรสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการประมวลผลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเชื่อถือได้ โดยทำให้แต่ละวัตต์ขับเคลื่อนพลังการประมวลผลได้มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของเราเพื่อขับเคลื่อนยุคดิจิทัลไปข้างหน้า

ดาวน์โหลดรายงานสมุดปกขาวเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
https://digitalpower.huawei.com/attachments/index/1991747e83d947b686b012919c687a88.pdf

Source: Huawei
Keywords: Computer Hardware Computer/Electronics Transportation Survey, Polls & Research Trade show news Supply Chain/Logistics