omniture

เพโพรมีน ไบโอ อิงค์ ประกาศความสำเร็จในการบรรเทาอาการของผู้ป่วยกลุ่มที่ 1 รายแรกซึ่งได้รับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดบีเซลล์ที่กำเริบและดื้อต่อการรักษา (B-ALL) ในการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 จากการให้ยา PMB-CT01 (ซีเออาร์ ทีเซลล์ มุ่งเป้า BAFFR)

PeproMene Bio, Inc.
2024-01-18 16:00 40

เออร์ไวน์, แคลิฟอร์เนีย, 18 มกราคม 2567 /PRNewswire/ -- เพโพรมีน ไบโอ อิงค์ (PeproMene Bio, Inc) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพระดับคลินิกผู้พัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติแบบใหม่ ประกาศว่าผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ที่กำเริบหรือดื้อต่อการรักษา (r/r B-ALL) รายแรกในกลุ่มที่ 1 ซึ่งได้รับการรักษาจากการทดลองทางคลินิกด้วยการให้ยา PMB-CT01 (ซีเออาร์ ทีเซลล์ มุ่งเป้า BAFFR) ในระยะที่ 1 มีอาการทุเลาลงอย่างสมบูรณ์หลังการรักษา 1 เดือน 

ผลลัพธ์ดังกล่าวถือเป็นการนำเสนอการทดลองทางคลินิกของเพโพรมีน ไบโอ อิงค์ เกี่ยวกับการให้ยา PMB-CT01 ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กินที่มีการกลับมาเป็นซ้ำหรืออยู่ในระยะไม่ตอบสนองต่อโรค ในการประชุมสมาคมโลหิตวิทยาแห่งอเมริกาประจำปี เมื่อเดือนที่แล้ว ณ เมืองซานดิเอโก ผลการทดลองซึ่งเสนอโดย พญ.เอลิซาเบธ บัด Elizabeth Budde รองศาสตราจารย์ประจำซิตี้ ออฟ โฮป แผนกมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ฝ่ายโลหิตวิทยาและการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด สร้างความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยทั้งสามรายได้รับการรักษาให้หายขาดอย่างสมบูรณ์และพบความเป็นพิษจากการใช้ยาน้อยมาก (https://ash.confex.com/ash/2023/webprogram/Paper183032.html)

การทดลองดังกล่าวดำเนินการที่ซิตี้ ออฟ โฮป City of Hope หนึ่งในองค์กรวิจัยและรักษาโรคมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้พัฒนาวิธีการรักษาดังกล่าว

ในช่วงเดือนแรกของการรักษา ผู้ป่วยพบกับความเป็นพิษฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในระดับต่ำ ซึ่งรวมถึงอาการจากการหลั่งไซโตไคน์ (cytokine release syndrome หรือ "CRS") ระดับ 1 และได้รับการเยียวยาโดยปราศจากการแทรกแซง อีกทั้งยังไม่ปรากฏอาการเป็นพิษทางประสาทที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ซึ่งส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน (immune effector cell-associated neurotoxicity syndrome หรือ "ICANS") แต่อย่างใด

"เรารู้สึกตื่นเต้นกับผลการรักษา เนื่องจากก่อนหน้านี้ ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ที่กำเริบหรือดื้อต่อการรักษา (B-cell ALL) ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำหลังการให้เคมีบำบัดและการใช้ยา blinatumomab โรคที่กำเริบของเขามีทั้งมะเร็งต่อมน้ำเหลือง CD19- และ CD20 ชนิดลบ ซึ่งหมายความว่ามีทางเลือกในการรักษาที่จำกัดมาก" นพ. อิบราฮิม ที. อัลดอสส์ Ibrahim T. Aldoss รองศาสตราจารย์ประจำซิตี้ ออฟ โฮป ฝ่ายโลหิตวิทยาและการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด และผู้วิจัยหลักของการทดลองเพิ่มขนาดยาแบบศูนย์เดียว (NCT04690595) กล่าว

"ร่างกายของเขาทนทานต่อการรักษาด้วยการให้ยา PMB-CT01 (ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR หรือ BAFFR-CAR T Cells) ได้เป็นอย่างดี โดยมีความเป็นพิษเพียงเล็กน้อยและเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ เขายังประสบความสำเร็จในการบรรเทาอาการและกำจัดเซลล์มะเร็งตกค้าง (MRD) ได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการตอบสนองอันยอดเยี่ยมต่อการบำบัดที่เปี่ยมประสิทธิผลนี้"

"เพโพรมีนบรรลุความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาและประเมินการใช้ยา PMB-CT01 ผ่านการเก็บข้อมูลภาวะการณ์ที่ปลอดภัยอันยอมรับได้และการตอบสนองอย่างสมบูรณ์ในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ที่กำเริบหรือดื้อต่อการรักษา (r/r B-ALL) ซึ่งได้รับการรักษาด้วย PMB-CT01 นี้ ผลลัพธ์ทางคลินิกเบื้องต้นดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลการวิจัยพรีคลินิกของซิตี้ ออฟ โฮป ซึ่งเผยแพร่ในวารสารสหวิทยาการชีวการแพทย์ Science Translational Medicine เมื่อปี 2562 อันแสดงให้เห็นว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR หรือ BAFFR-CAR T Cells สามารถกำจัดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์ที่กำเริบหรือดื้อต่อการรักษา (r/r B-ALL) และชนิดย่อยต่าง ๆ ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองบี (B-lymphomas) ด้วย" ดร. เฮเซล เฉิง (Hazel Cheng) กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการของเพโพรมีนทิ้งท้าย

PMB-CT01 ถูกคิดค้นโดยห้องปฏิบัติการของนพ. ดร. แลร์รี ดับบลิว ควาก (Larry W. Kwak) รองประธานและรองผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งครบวงจรของซิตี้ ออฟ โฮป และผู้ก่อตั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์ของเพโพรมีน และประธานที่ได้รับค่าตอบแทนประจำคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของบริษัทฯ ทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของเพโพรมีนด้วย

ซิตี้ ออฟ โฮป มีความสนใจในสารประกอบที่ใช้ในการวิจัย 'BAFFR(EQ)BBζ/EGFRt+ CAR T Cells' ซึ่งเป็นสารประกอบที่กำลังศึกษาในการวิจัยดังกล่าว

เกี่ยวกับ PMB-CT01

PMB-CT01 เป็นการรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR โดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยตัวแรก ทั้งนี้ BAFFR (ตัวรับกระตุ้นบีเซลล์ หรือ B Cell Activating Factor Receptor) ในกลุ่มตัวรับปัจจัยทำลายเซลล์มะเร็ง (tumor necrosis factor หรือ TNF) เป็นตัวรับหลักสำหรับ BAFF ที่มีฤทธิ์ต่อบีเซลล์เกือบจะโดยเฉพาะ เนื่องจากการส่งสัญญาณ BAFF-R ส่งเสริมการแบ่งตัวของบีเซลล์ที่เป็นปกติ อีกทั้งยังจำเป็นต่อการอยู่รอดของบีเซลล์ จึงทำให้มีแนวโน้มต่ำที่เซลล์มะเร็งจะสามารถหลบเลี่ยงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผ่านการสูญเสียแอนติเจน BAFF-R คุณสมบัติเฉพาะดังกล่าวนี้ทำให้การรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFF-R เป็นการศึกษาที่มีแนวโน้มที่ดีสำหรับมะเร็งในบีเซลล์ ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFF-R สร้างขึ้นโดยใช้แอนติบอดีสายเดี่ยว (single-chain fragment variable) ต้าน BAFF-R (anti-BAFF-R scFv) ที่มีการส่งสัญญาณรุ่น 2 ซึ่งประกอบด้วย CD3ζ และ 4-1BB งานวิจัยของเราพบว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR ฆ่าเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวของมนุษย์ในการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) และในสัตว์ตัวแบบ ทั้งนี้ เพโพรมีนได้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ PMB-CT01 จากซิตี้ ออฟ โฮปแล้ว

เกี่ยวกับเพโพรมีน

เพโพรมีน (PeproMene) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขั้นคลินิกในเมืองเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่สำหรับรักษาโรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ ขณะนี้วิธีการรักษาระดับแนวหน้าของเพโพรมีน PMB-CT01 (ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR) อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อใช้ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ บีเซลล์ (B-cell acute lymphoblastic leukemia) (B-ALL; NCT04690595) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน บีเซลล์ (B-NHL; NCT05370430) ที่มีการกลับมาเป็นซ้ำใหม่หรืออยู่ในระยะไม่ตอบสนองของโรค ในการศึกษาทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 นอกจากนี้ เพโพรมีนยังอยู่ระหว่างการพัฒนาตัวเชื่อมทีเซลล์จำเพาะสองเป้าหมายมุ่งเป้า BAFFR (BAFFR Bispecific T Cell Engager) และซีเออาร์ เซลล์เอ็นเคมุ่งเป้า BAFFR (BAFFR-CAR NK cells) ด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ดร. เฮเซล เฉิง เพโพรมีน ไบโอ อิงค์ ทางอีเมล hazel.cheng@pepromenebio.com หรือเยี่ยมชม www.pepromenebio.com

โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1972356/4493168/Pepromene_Bio_Inc__Logo.jpg?p=medium600

Source: PeproMene Bio, Inc.
Keywords: Biotechnology Health Care/Hospital Medical/Pharmaceuticals Clinical Trials/Medical Discoveries
Related News