omniture

หัวเว่ย คลาวด์ มุ่งสร้างรากฐานคลาวด์อัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมด้วยนวัตกรรมที่เป็นระบบ

HUAWEI CLOUD
2024-02-28 00:29 113

บาร์เซโลนา, สเปน, 28 กุมภาพันธ์ 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/

ในระหว่างการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และโซลูชันประจำปี 2567 ของหัวเว่ย (Huawei) ในงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส บาร์เซโลนา 2567 (MWC Barcelona 2024) คุณบรูโน จาง (Bruno Zhang) ซีทีโอของหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud) กล่าวว่า "หัวเว่ย คลาวด์ มุ่งมั่นที่จะสร้างรากฐานคลาวด์อัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมและเร่งความอัจฉริยะในอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรมที่เป็นระบบซึ่งครอบคลุมเอไอสำหรับคลาวด์ (AI for Cloud) และคลาวด์สำหรับเอไอ (Cloud for AI)"

Bruno Zhang, CTO of Huawei Cloud
Bruno Zhang, CTO of Huawei Cloud

เอไอสำหรับคลาวด์: พลิกโฉมอุตสาหกรรมด้วยโมเดลผานกู่ (Pangu)

โมเดลหัวเว่ยคลาวด์ผานกู่ ขับเคลื่อนการยกระดับอัจฉริยะของอุตสาหกรรมและการใช้งานคลาวด์

คุณจางอธิบายถึงวิธีการที่ลูกค้าโทรคมนาคมนำโมเดลการวิจัยและพัฒนาผานกู่ไปใช้ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างโค้ดด้วยการสั่งเพียงครั้งเดียว และทดสอบโค้ดด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว โมเดลโทรคมนาคมผานกู่แก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดของเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติถึง 90% ในเวลาเพียงไม่กี่นาที ขณะที่โมเดลเสมือนมนุษย์ผานกู่มีความแม่นยำในการขยับริมฝีปากตามเสียงถึง 95% สำหรับการบริการลูกค้าและการสตรีมสด และทั้งหมดนี้เป็นเพียงโมเดลบางส่วนเท่านั้น

คลาวด์สำหรับเอไอ: การแก้ปัญหาความท้าทายด้วยนวัตกรรมที่เป็นระบบ

เพื่อช่วยเหลือบริษัทโทรคมนาคมในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์อัจฉริยะ หัวเว่ย คลาวด์ ได้มอบชุดโซลูชันที่ประกอบด้วยพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบเอไอ บริการเกาส์ดีบี (GaussDB) การผสานรวมข้อมูลเอไอ และสถาปัตยกรรมชิงเทียน (QingTian) แบบกระจาย สิ่งเหล่านี้ถูกนำมาปรับใช้และใช้งานบนคลาวด์ เครือข่าย เอดจ์ และอุปกรณ์

  • พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเอไอแบบเนทีฟ : แบนด์วิดท์สูง ความสามารถในการทำงานร่วมกันสูง และเวลาแฝงต่ำสำหรับโมเดลพื้นฐาน

การฝึกฝนโมเดลพื้นฐานจำเป็นต้องใช้ข้อมูลในระดับเอ็กซาไบต์ ซึ่งหัวเว่ย คลาวด์สามารถจัดการกับความต้องการนี้ได้อย่างง่ายดายด้วยแนวทางสามส่วน ส่วนแรกได้แก่บริการหน่วยความจำอีเอ็มเอส (EMS) ที่จัดเก็บพารามิเตอร์จำนวนหลายเพตะไบต์ด้วยแบนด์วิดธ์ขนาดใหญ่พิเศษ 220 เทราไบต์พร้อมเวลาแฝงต่ำพิเศษในระดับไมโครวินาที ส่วนที่สองได้แก่บริการแคชเอสเอ็ฟเอส เทอร์โบ (SFS Turbo) ที่มอบปริมาณงานและการทำงานร่วมกันในระดับสูงด้วยจำนวนคำสั่งอ่าน/เขียนต่อวินาที (IOPS) ในอัตราหลักสิบล้านต่อวินาที ทำให้การบันทึกข้อมูลขนาด 1 พันล้านรายการไม่จำเป็นต้องใช้เวลาเตรียมการที่ 100 ชั่วโมงอีกต่อไป แต่ลดเหลือเพียง 5 ชั่วโมงเท่านั้น ส่วนที่สามได้แก่คลังความรู้ที่สร้างขึ้นบนบริการพื้นที่จัดเก็บออบเจ็กต์ (Object Storage Service - OBS) ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูลการฝึกฝนและการอนุมานลง 30%

  • เกาส์ดีบี: ฐานข้อมูลที่มั่นคงที่ช่วยให้บริษัทโทรคมนาคมประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

เกาส์ดีบี เป็นฐานข้อมูลแบบกระจายระดับองค์กรที่มีโหนดมากกว่า 100,000 โหนด รับประกันความสอดคล้องที่แข็งแกร่งแบบคลัสเตอร์คู่โดยปราศจากระยะเวลาที่ยอมให้ข้อมูลเสียหาย (RPO) เพื่อความพร้อมใช้งาน ได้รับการรับรองความปลอดภัย CC EAL4+ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม เกาส์ดีบีทำงานอัตโนมัติโดยมอบเครื่องมือแบบครบวงจรในการแปลงและย้ายซินแท็กซ์ทั่วไปกว่า 95%

  • แพลตฟอร์มผสานรวมข้อมูลเอไอ: รากฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งสำหรับโมเดลพื้นฐาน

เนื่องจากข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างแบบจำลองพื้นฐาน การพัฒนาโมเดลโทรคมนาคมจึงจำเป็นต้องทำให้ข้อมูลจากโดเมนบีเอสเอส (BSS), โอเอสเอส (OSS) และเอ็มเอสเอส (MSS) รวมเป็นแอ่งข้อมูลเดียวกัน แพลตฟอร์มผสานรวมข้อมูลเอไอของหัวเว่ยคลาวด์มอบพื้นฐานข้อมูลที่แข็งแกร่งสำหรับโมเดลเหล่านี้ ระบบเลคฟอร์เมชัน (LakeFormation) ช่วยให้สามารถแชร์ข้อมูลสำเนาหนึ่ง ๆ ได้โดยไม่ต้องย้ายข้อมูล ขณะที่ดาต้าอาร์ตส สตูดิโอ (DataArts Studio) ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เอไอได้รับข้อมูลคุณภาพสูงและเป็นไปตามข้อกำหนด ปิดท้ายด้วยการประสานกันของสามระบบ ได้แก่ดาต้าอาร์ตส (DataArts), โมเดลอาร์ตส (ModelArts) และโค้ดอาร์ตส (CodeArts) ที่จัดการและกำหนดเวลาข้อมูลและการทำงานของเอไอ เพื่อขับเคลื่อนการฝึกฝนโมเดลออนไลน์และการอนุมานด้วยข้อมูลแบบเรียลไทม์

  • โมเดลการใช้งานมัลติคลาวด์แห่งแรกของอุตสาหกรรม และโซลูชันคลาวด์บนคลาวด์ (Cloud on Cloud) สำหรับผู้ให้บริการ

ความสามารถของโมเดลผานกู่ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น และบริการคลาวด์ที่ขับเคลื่อนโดยผานกู่ ถูกปรับแต่งสำหรับลูกค้าแต่ละรายเพื่อการปรับใช้ในระบบคลาวด์สาธารณะ คลาวด์เฉพาะ หรือคลาวด์แบบไฮบริด ตัวอย่างเช่น บริษัทโทรคมนาคมสามารถสร้างและรันแพลตฟอร์มเอไอรูปแบบเฉพาะ รวมถึงโมเดลพื้นฐานในศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่โดยใช้หัวเว่ย คลาวด์ สแต็ก (Huawei Cloud Stack) ซึ่งเป็นคลาวด์แบบไฮบริด

หัวเว่ย คลาวด์ ยังให้บริการคำปรึกษา การดำเนินงานแบบครบวงจร และบริการย้ายข้อมูลจุดเดียวผ่านโซลูชันคลาวด์บนคลาวด์

คุณจางยังกล่าวสรุปในช่วงท้ายถึงแนวทางในการบรรลุซึ่งความสำเร็จร่วมกันของหัวเว่ย คลาวด์ โดยระบุว่าเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมกันนั้นให้บริการผ่านเอพีไอกว่า 150,000 รายการ ขณะที่ประสบการณ์ที่มีร่วมกันนั้นมาจากการให้บริการลูกค้าทั่วโลกมากกว่า 3 ล้านราย และระบบนิเวศที่ใช้ร่วมกันซึ่งประกอบด้วยข้อเสนอคูแกลเลอรี (KooGallery) กว่า 10,000 รายการ ความพยายามเหล่านี้ช่วยให้ผู้ให้บริการสามารถสร้างบริการแบบ B2B และคว้าโอกาสในการรักษาไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขัน

งานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรซ บาร์เซโลนา 2567 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ 2567 ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน โดยในระหว่างงาน หัวเว่ยจะจัดแสดงผลิตภัณฑ์และโซลูชันล่าสุดที่บูธ 1H50 ในฟิรา แกรน เวีย ฮอลล์ 1 (Fira Gran Via Hall 1) การเปิดตัว 5.5G เชิงพาณิชย์ในปี 2567 ของหัวเว่ย ครอบคลุมความร่วมมือร่วมกับผู้ให้บริการและพันธมิตรทั่วโลก เพื่อการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่น่าตื่นเต้นในด้านเครือข่าย คลาวด์ และความชาญฉลาด เราจะร่วมกันขับเคลื่อนธุรกิจ 5G และส่งเสริมระบบนิเวศอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรือง เพื่อสร้างยุคใหม่สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่ชาญฉลาด ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://carrier.huawei.com/en/events/mwc2024

 

 

Source: HUAWEI CLOUD
Keywords: Computer/Electronics Internet Technology Telecommunications New products/services Trade show news Artificial Intelligence Cloud Computing / Internet of Things