Zespri สำรวจผลของการบริโภคผักและผลไม้ที่มีต่อสุขภาพของเด็กในการศึกษาเรื่องการจัดการดูแลด้านโภชนาการวัยเด็กครั้งแรกของโลก
เมาท์ มานกานูอิ, นิวซีแลนด์, 4 มิถุนายน 2567 /PRNewswire/ -- Zespri นักการตลาดกีวีชั้นนำของโลก กำลังลงทุนเพื่อพัฒนาความรู้และพฤติกรรมการรับประทานเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กในการศึกษาความเป็นไปได้ล่าสุดที่มีชื่อว่า Feel Good Study ซึ่งสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างผักและผลไม้ (FV) และความเป็นอยู่ที่ดีของเด็ก
แม้ว่าประโยชน์ทางโภชนาการของ FV ต่อสุขภาพร่างกายจะเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จากการศึกษาในวารสารสาธารณสุขโลก PLOS Global Public Health Journal พบว่า เด็กเกือบหนึ่งในสองคนทั่วโลกบริโภค FV ไม่เพียงพอ โครงการ Feel Good Study นี้ดำเนินการโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นผู้นำการวิจัย ให้การศึกษา และบริการคลินิกในสาขาวิทยาศาสตร์โภชนาการ โภชนาการ และการควบคุมอาหาร เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของ Zespri ในการส่งเสริมโภชนาการที่ดีและพฤติกรรมการรับประทานเพื่อสุขภาพ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้และการยอมรับด้านการจัดการดูแลทางด้านโภชนาการด้วย FV ระยะเวลา 10 สัปดาห์ในโรงเรียนประถมศึกษา และการวัดผลลัพธ์ด้านสุขภาพจิตและการรับรู้ นำเสนอผลของการบริโภค FV ในปริมาณที่เพิ่มขึ้นด้านความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กในกลุ่มอายุระหว่าง 8 ถึง 10 ปี
Ng Kok Hwee ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาดสากลของ Zespri กล่าวว่า "ในฐานะผู้บุกเบิกด้านความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนรุ่นต่อไป เราเข้าใจถึงผลกระทบอย่างลึกซึ้งของโภชนาการระดับเริ่มแรกที่มีต่อสุขภาพตลอดชีวิตของเด็ก การสร้างนิสัยการบริโภคอาหารเชิงบวกอย่างยั่งยืนเท่านั้นที่จะสามารถสร้างความแตกต่างได้อย่างแท้จริงเพื่อสังคมที่มีสุขภาพดีและอนาคตที่สดใสยิ่งขึ้น"
การศึกษาความเป็นไปได้นี้สำรวจกลยุทธ์ในการเพิ่มการเข้าถึง FV ที่ไม่คุ้นเคย เพื่อส่งเสริมการยอมรับในเด็ก การยอมรับ FV ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วัยเด็กเป็นการปูทางสู่นิสัยการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่จะขยายไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ นำไปสู่ความเป็นอยู่โดยรวมที่ดีขึ้น
"เราทุ่มเทให้กับการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์ทางโภชนาการของผลกีวีที่มีต่อสุขภาพของผู้คนมาโดยตลอด แต่ในการศึกษาครั้งนี้ เราพยายามที่จะเจาะลึกถึงผลลัพธ์ทางโภชนาการของผักและผลไม้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการควบคุมอาหารทั้งหมด เราได้ตรวจสอบประเด็นต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการศึกษามากนัก โดยเฉพาะเรื่องความเป็นอยู่ที่ดีและการพัฒนาด้านการรับรู้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าการบริโภคผักและผลไม้ไม่ใช่แค่การตัดสินใจด้านโภชนาการหรือการบริโภคอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นการลงทุนเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กอีกด้วย" ดร.Paul Blatchford ผู้จัดการนวัตกรรม – ผลิตภัณฑ์หลักของ Zespri กล่าว "การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงก้าวแรกของ Zespri ในการทำความเข้าใจคุณประโยชน์ที่จับต้องได้เพื่อการสร้างสุขภาพที่ดี และเมื่อพิจารณาถึงความท้าทายด้านโภชนาการที่แตกต่างกันในแต่ละตลาดแล้ว เราได้วางแผนที่จะไปไกลกว่าก้าวแรกนี้ และขยายการวิจัยนี้สู่การศึกษาในอนาคตในตลาดหลักของเรา"
ผลการศึกษา
Feel Good Study แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเพิ่มการยอมรับ FV1 คุณภาพอาหารโดยรวม ตลอดจนการบริโภคผัก2 ในหมู่ผู้เข้าร่วม ผ่านการสร้างความตระหนักรู้ถึงตัวเลือก FV ที่หลากหลายในท้องถิ่น
การจัดการดูแลทางด้านโภชนาการดังกล่าวยังกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในพฤติกรรมของผู้ปกครอง โดยเพิ่มความตระหนักรู้ด้านการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ นำไปสู่การเลือกอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลต่ำสำหรับบุตรหลานมากขึ้น3 การศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกของคะแนนด้านสุขภาพอารมณ์ในกลุ่มที่มีการจัดการดูแลทางด้านโภชนาเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม4
ศาสตราจารย์ Clare Wall หัวหน้าฝ่ายโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ มหาวิทยาลัยออกแลนด์ กล่าวว่า "โครงการ Feel Good Study มีการออกแบบที่แข็งแกร่ง โดยผสมผสานกลยุทธ์ทั้งที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพในเด็ก พร้อมเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยการนำเสนอกิจกรรมในโรงเรียนที่ต้องใช้ประสาทสัมผัสเชิงโต้ตอบ เสริมด้วยการจัดให้มีกล่องผลไม้เพื่อส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในระหว่างวันที่ต้องไปโรงเรียน ในขณะเดียวกัน กิจกรรมที่บ้านยังประกอบด้วยการจัดส่งกล่องผักให้แก่ครอบครัวทุกสัปดาห์ พร้อมด้วยสูตรอาหารและเคล็ดลับต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนและผลประโยชน์ในระยะยาว"
โรงเรียนและบ้านเป็นสภาพแวดล้อมหลักสำหรับเด็ก กลยุทธ์การศึกษาในโรงเรียนซึ่งมุ่งเน้นการผสมผสานองค์ประกอบความสนุกสนานและความเพลิดเพลินช่วยสร้างความสัมพันธ์เชิงบวกและส่งเสริมการบริโภค FV ในเด็ก ขณะที่การส่งเสริมผู้ปกครองทางบ้านด้วยความรู้และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการนำเสนอ FV ที่หลากหลายจะมอบทางเลือกที่มากขึ้นสำหรับบุตรหลานของพวกเขาและลดพฤติกรรมการกลัวอาหารใหม่ ๆ ผู้ปกครองเป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญในการกำหนดความชอบด้านอาหารของเด็ก ทำให้การผสานรวม FV เข้ากับมื้ออาหารของพวกเขาเป็นการสร้างตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก
Feel Good Study ถูกออกแบบมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ โดยสามารถบรรลุอัตราการเชื้อเชิญและการคงไว้ที่ดี แสดงให้เห็นหลักฐานขั้นต้นที่มีศักยภาพ ครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกด้านการเลือกรับประทานอาหาร การบริโภคผัก และผลลัพธ์ด้านพฤติกรรม โครงการ Feel Good Study ของ Zespri วางรากฐานสำหรับการทดลองทางคลินิกในวงกว้างซึ่งมีแผนดำเนินการในประเทศจีนและตลาดสำคัญอื่น ๆ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ขณะที่บริษัทเดินหน้าสร้างองค์ความรู้ที่มากขึ้นเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน และปลูกฝังนิสัยการบริโภคเชิงบวกในเด็กในระยะยาว
Zespri ได้เปิดตัวโครงการโภชนาการต่าง ๆ ทั่วโลกที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มการบริโภคผลกีวีสดทั่วโลก และสร้างโอกาสในการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพถึง 5 พันล้านครั้งในปี 2565/66 โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนดังกล่าวเป็น 6 พันล้านครั้งภายในปี 2568 นอกจากนี้ยังสนับสนุนโครงการไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพกว่า 35 โครงการใน 12 ประเทศตั้งแต่ปี 2563
ภาคผนวก 1: ระเบียบวิธีศึกษา
ผู้เข้าร่วมในโครงการ Feel Good Study ในนิวซีแลนด์ประกอบด้วยเด็กจำนวน 70 คนที่มีอายุระหว่าง 8 ถึง 10 ปี พร้อมด้วยพ่อแม่/ผู้ดูแล 65 คนที่ให้ข้อมูลประชากรเบื้องต้นของบุตรหลานของตน การศึกษานี้เป็นไปตามการออกแบบคลัสเตอร์แบบสุ่มที่มีการควบคุมเป็นเวลา 10 สัปดาห์ ครอบคลุมทั้งสถานที่ในโรงเรียนและบ้านเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเด็ก
การจัดการดูแลทางด้านโภชนาการใช้แนวทางที่หลากหลาย อาศัยการจัดส่งผลไม้กล่องที่มีประสิทธิภาพพร้อมคู่มือการศึกษา เพื่อสำรวจปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติของพวกเขาต่อการบริโภค FV กิจกรรมการประเมินเกิดขึ้นทั้งในสภาพแวดล้อมโรงเรียนและบ้าน โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการส่งเสริมการบริโภค FV ที่มากขึ้น
สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับวิธีการศึกษา ผลลัพธ์ และคำแนะนำสำหรับการทำซ้ำในอนาคตได้ที่นี่
1 จากคำบอกเล่าของผู้ตอบแบบสอบถามในโครงการระบุว่า พวกเขาได้พบกับผักผลไม้ที่หลากหลายมากขึ้น และมองผักผลไม้เป็นการผจญภัยมากขึ้น
2 การศึกษาพบว่า คุณภาพการบริโภคอาหารโดยรวมของผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้น 8% และมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น 19%
3 การศึกษาพบว่า ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเลือกอาหารไขมันต่ำเพิ่มขึ้น 32% และอาหารน้ำตาลต่ำเพิ่มขึ้น 38% ภายหลังการจัดการดูแลทางด้านโภชนาการ
4 การศึกษาพบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงด้านองค์ประกอบทางอารมณ์ในแบบประเมินจุดแข็งและจุดอ่อน โดยคะแนนในกลุ่มที่มีการจัดการดูแลทางด้านโภชนาการดีขึ้นเล็กน้อย และลดลงในกลุ่มควบคุม