omniture

PeproMene Bio ประกาศผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพของทีเซลล์ที่มีตัวรับแบบไคเมอริก (CAR) ชนิดใหม่

PeproMene Bio, Inc.
2024-08-08 04:53 88

คุณสมบัติที่สามารถทำได้หลายหน้าที่สัมพันธ์กับอาการที่ทุเลาลงของผู้ป่วยยาวนานกว่า 18 เดือนด้วยการบำบัดโดยใช้ซีเออาร์ ทีเซลล์

เออร์ไวน์, แคลิฟอร์เนีย, 8 สิงหาคม 2567 /PRNewswire/ -- PeproMene Bio, Inc. บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพระดับคลินิกผู้พัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติแบบใหม่ ประกาศในวันนี้ว่า ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR (BAFF-R CAR T Cells) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยศูนย์ซิตี้ ออฟ โฮป (City of Hope) ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ PMB-CT01 แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่ที่ดีกว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 (CD19 CAR T cells) ซึ่งใช้ในปัจจุบันในการรักษาแบบใช้ซีเออาร์ ทีเซลล์ที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา ตามการศึกษาเชิงความสัมพันธ์ที่ตีพิมพ์ใน Blood Advances

นักวิจัยใช้แพลตฟอร์มการศึกษาวิเคราะห์เซลล์เดียวที่พบว่าการรักษา PMB-CT01 ด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์ มีคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่ นั่นคือความสามารถของทีเซลล์ที่จะทำได้หลายหน้าที่ในเวลาเดียวกัน ซึ่งมากกว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 นอกจากนี้ เซลล์ PMB-CT01 ยังผลิตไซโตไคน์ (cytokines) กระตุ้นที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและไซโตไคน์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวปฏิบัติการซึ่งทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรงได้มากกว่า

จากการใช้การทดสอบที่พัฒนาโดยศูนย์ซิตี้ ออฟ โฮป กลุ่มนักวิจัยได้ทดสอบผลิตภัณฑ์ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR จากชายอายุ 57 ปีที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดแมนเทิลเซลล์ (Mantle Cell Lymphoma) ที่กลับมาเป็นซ้ำ อาการผู้ป่วยไม่ทุเลาลงด้วยการรักษาที่ใช้ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 ก่อนหน้านี้ หลังจากได้รับการฉีด PMB-CT01 เพียงครั้งเดียวในช่วงการทดลองเฟส 1 ของศูนย์ซิตี้ ออฟ โฮป และเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ชายผู้นี้มีอาการทุเลาลงอย่างสมบูรณ์เป็นระยะเวลากว่า 18 เดือนและยังคงไม่มีเซลล์มะเร็งที่ตรวจพบโดยการทดสอบระดับโมเลกุลที่มีความไวสูงเพื่อตรวจหามะเร็งที่เหลือตกค้างในระดับต่ำที่สุด

การศึกษาชิ้นนี้รายงานให้เห็นตัวชี้วัดที่ชัดเจนของคุณสมบัติทำได้หลายหน้าที่ ซึ่งสัมพันธ์กับการขยายเพิ่มจำนวนของซีเออาร์ ทีเซลล์อย่างประสบผลสำเร็จหลังการฉีด และอาการทุเลาลงของผู้ป่วยที่ยังคงอยู่ต่อเนื่อง นักวิจัยวางแผนที่จะใช้การทดสอบนี้เพื่อทดสอบผลิตภัณฑ์ซีเออาร์ ทีเซลล์จากผู้ป่วยอื่น ๆ อีกห้ารายในการทดลอง ซึ่งทุกคนมีอาการทุเลาลงที่คล้ายกันกับการรักษาด้วย PMB-CT01

"เราได้พัฒนาการบำบัดด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR เพื่อเป็นอีกทางเลือกในการรักษาสำหรับผู้ป่วยจำนวนมากที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่กลับมาเป็นซ้ำหลังจากได้รับการบำบัดด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 ในเชิงพาณิชย์ และผลลัพธ์ของเราจนถึงขณะนี้แสดงถึงประสิทธิภาพระดับสูงสุดและดีที่สุด โดยมีผลข้างเคียงที่น้อยที่สุด" นพ. ดร. Larry W. Kwak รองประธานและรองผู้อำนวยการศูนย์มะเร็งครบวงจรของซิตี้ ออฟ โฮป และผู้ก่อตั้งฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ PeproMene และเป็นประธานที่ได้รับค่าตอบแทนของคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ของบริษัทกล่าว ทั้งนี้ Kwak มีส่วนได้ส่วนเสียในผลประโยชน์หุ้นของ PeproMene "เราได้พัฒนาการทดสอบการทำงานได้หลายหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อถือได้สำหรับผลิตภัณฑ์ซีเออาร์ ทีเซลล์ โดยมีศักยภาพในการทำนายผลลัพธ์ของผู้ป่วยและเร่งการพัฒนาการบำบัดด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์ที่มีประสิทธิภาพ"

พญ. ดร. Elizabeth Budde นักวิจัยหลักของการทดลอง รองศาสตราจารย์ฝ่ายโลหิตวิทยาและการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดเลือด และแพทย์ผู้อำนวยการบริหารโปรแกรมการบำบัดด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ซิตี้ ออฟ โฮป ได้เสนอผลการทดลองเบื้องต้นที่การประชุม American Society of Hematology ในเดือนธันวาคม 2566

"เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่กล่าวได้ว่าผู้ป่วยห้ารายที่เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน และหนึ่งรายที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดบีเซลล์ได้รับการรักษาด้วย PMB-CT01 และทั้งหมดทุกรายแสดงให้เห็นการตอบสนองอย่างยาวนาน" ดร. Budde กล่าว "ผู้ป่วยหลายรายในการทดลองกลับมาเป็นโรคอีกหลังจากได้รับการรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า CD19 และ/หรือมีภาวะ CD19 เป็นลบ การใช้ PMB-CT01 อาจเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพสำหรับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ที่เผชิญกับปัญหาดังกล่าว"

"การทดสอบนี้สามารถนำไปใช้กับการทดลองทางคลินิกในปัจจุบันและอนาคตเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา PMB-CT01 ทั้งนี้ PeproMene ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และคลินิกของการบำบัดโดยใช้เซลล์แบบใหม่ที่มีศักยภาพดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง" ดร. Hazel Cheng ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ (COO) ของ PeproMene Bio กล่าว

เกี่ยวกับ PMB-CT01

PMB-CT01 เป็นการรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR โดยใช้เซลล์ของผู้ป่วยตัวแรก ทั้งนี้ BAFFR (ตัวรับกระตุ้นบีเซลล์ หรือ B Cell Activating Factor Receptor) ในกลุ่มตัวรับปัจจัยทำลายเซลล์มะเร็ง (tumor necrosis factor หรือ TNF) เป็นตัวรับหลักสำหรับ BAFF ที่มีฤทธิ์ต่อบีเซลล์เกือบจะโดยเฉพาะ เนื่องจากการส่งสัญญาณ BAFF-R ส่งเสริมการแบ่งตัวของบีเซลล์ที่เป็นปกติ อีกทั้งยังจำเป็นต่อการอยู่รอดของบีเซลล์ จึงทำให้มีแนวโน้มต่ำที่เซลล์มะเร็งจะสามารถหลบเลี่ยงการตอบสนองของภูมิคุ้มกันผ่านการสูญเสียแอนติเจน BAFF-R คุณสมบัติเฉพาะดังกล่าวนี้ทำให้การรักษาด้วยซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFF-R เป็นการศึกษาที่มีแนวโน้มที่ดีสำหรับมะเร็งในบีเซลล์ ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFF-R สร้างขึ้นโดยใช้แอนติบอดีสายเดี่ยว (single-chain fragment variable) ต้าน BAFF-R (anti-BAFF-R scFv) ที่มีการส่งสัญญาณรุ่น 2 ซึ่งประกอบด้วย CD3ζ และ 4-1BB งานวิจัยของเราพบว่าซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR ฆ่าเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองและมะเร็งเม็ดเลือดขาวของมนุษย์ในการศึกษาในหลอดทดลอง (in vitro) และในสัตว์ตัวแบบ ทั้งนี้ PeproMene Bio ได้ขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ PMB-CT01 จากซิตี้ ออฟ โฮปแล้ว

เกี่ยวกับ PeproMene Bio

PeproMene Bio, Inc. เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขั้นคลินิกในเมืองเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ผู้พัฒนาวิธีการรักษาใหม่สำหรับรักษาโรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ ขณะนี้วิธีการรักษาระดับแนวหน้าของ PeproMene ได้แก่ PMB-CT01 (ซีเออาร์ ทีเซลล์มุ่งเป้า BAFFR) อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยเพื่อใช้ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมฟอยด์ บีเซลล์ (B-cell acute lymphoblastic leukemia) (B-ALL; NCT04690595) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน บีเซลล์ (B-NHL; NCT05370430) ที่มีการกลับมาเป็นซ้ำใหม่หรืออยู่ในระยะไม่ตอบสนองของโรค ในการศึกษาทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 นอกจากนี้ PeproMene Bio ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาตัวเชื่อมทีเซลล์จำเพาะสองเป้าหมายมุ่งเป้า BAFFR (BAFFR Bispecific T Cell Engager) และซีเออาร์ เซลล์เอ็นเคมุ่งเป้า BAFFR (BAFFR-CAR NK cells) ด้วย

ติดต่อ: John Fry, อีเมล: john.fry@pepromenebio.com

โลโก้ - https://mma.prnasia.com/media2/1972356/4847154/Pepromene_Bio_Inc__Logo.jpg?p=medium600

Source: PeproMene Bio, Inc.
Keywords: Biotechnology Health Care/Hospital Medical/Pharmaceuticals Clinical Trials/Medical Discoveries