เกือบ 90% ของหญิงชาวเอเชียในการสำรวจนิยมซื้อเสื้อผ้าและเครื่องประดับผ่านทางออนไลน์ ขณะที่ 63% ของผู้ตอบแบบสอบถามเข้าชมเว็บไซต์ของร้านค้าเป็นประจำทุกวัน
กวางโจว, จีน--16 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
Vipshop Holdings Limited (NYSE: VIPS, vip.com) ผู้จัดจำหน่ายสินค้าราคาพิเศษบนระบบออนไลน์ขนาดใหญ่ที่สุดสำหรับแบรนด์ต่างๆทั้งในจีนและทั่วโลก และผู้ให้บริการอี-คอมเมิร์ซสำหรับผู้หญิงอันดับหนึ่งของจีน ได้ริเริ่มและจับมือกับ The Economist Intelligence Unit ของ Economist Group เพื่อจัดทำแบบสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเพศหญิงในเอเชีย
รายงานชื่อ "On the rise and online: Female consumers in Asia" ได้รับการเปิดเผยในวันนี้ โดยได้มีการสำรวจผู้บริโภคเพศหญิง 5,500 รายตามเมืองใหญ่ๆในจีนแผ่นดินใหญ่ อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ เช่นเดียวกับบรรดานักวิเคราะห์ผู้บริโภค ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ และเจ้าของแบรนด์ ผลการสำรวจพบว่า เพศหญิงกำลังขับเคลื่อนการเติบโตด้านการซื้อสินค้าผ่านระบบออนไลน์ในภูมิภาค โดยมีผู้บริโภคจำนวนมากที่นิยมซื้อของแบบออนไลน์มากกกว่าตามร้านค้าทั่วไป โดยในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าผู้บริโภคเพศหญิง 63% ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งเพื่อค้นหาสินค้าและบริการ โดยมีผู้บริโภคเกือบ 30% ที่มีพฤติกรรมดังกล่าววันละสองครั้งหรือมากกว่า ขณะที่ผู้หญิงเกือบ 80% ในภูมิภาคมีพฤติกรรมซื้อข้าวของเครื่องใช้ผ่านระบบออนไลน์ 83% สำหรับการซื้อเครื่องสำอาง และเกือบ 90% สำหรับเสื้อผ้าและเครื่องประดับ
นายอีริค เฉิน ประธานและซีอีโอของ Vipshop กล่าว "ผู้หญิงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญและมีลักษณะเฉพาะตัวในตลาดเอเชีย โดยสมาชิกของ Vipshop กว่า 80% จากทั้งหมด 90 ล้านคนนั้นเป็นเพศหญิง ซึ่งช่วยสร้างยอดขายให้กับเราถึง 90% ทั้งนี้ ความร่วมมือกับ EIU ได้เปิดโอกาสให้เราสามารถเรียนรู้ถึงพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และสานต่อความเป็นผู้นำในตลาดค้าปลีกออนไลน์ของจีน"
อาจเป็นเรื่องน่าวิตกสำหรับผู้ค้าปลีกที่ดำเนินธุรกิจผ่านหน้าร้าน เมื่อผลการสำรวจพบว่า ผู้หญิงเกือบครึ่งหนึ่งที่ร่วมตอบแบบสำรวจ หรือ 49% มีความรู้สึกเห็นด้วย หรือเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเขามีความพึงพอใจกับประสบการณ์การซื้อของออนไลน์มากกว่าหน้าร้านทั่วไป โดยตัวเลขดังกล่าวปรับตัวสูงแตะระดับ 69% สำหรับผู้บริโภคในจีนแผ่นดินใหญ่
ผลการค้นพบสำคัญอื่นๆจากรายงาน:
- ผู้หญิงตามเมืองใหญ่ๆในเอเชียมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยผู้ตอบแบบสำรวจเพศหญิงราว 43% ทำงานในสายงานการจัดการ บริหาร หรือบริการวิชาชีพ ขณะที่ 83% มีบทบาทต่อรายได้ครัวเรือน
- ผู้หญิงส่วนใหญ่มีอำนาจในการจัดระเบียบด้านการเงินสำหรับเครื่องสำอาง (81%) เสื้อผ้าและเครื่องประดับ (73%) ข้าวของเครื่องใช้ (67%) และผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก (57%) และมีส่วนร่วมตัดสินใจสำหรับสินค้าประเภทอื่นๆ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และบริการการท่องเที่ยว
- สำหรับภาพรวมที่ปรากฏบนอินเทอร์เน็ต หญิงชาวเอเชียส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีพฤติกรรมซื้อของให้ผู้อื่นหรือสมาชิกในครอบครัว โดยผู้หญิงกว่า 62% ซื้อของให้ตนเองเป็นส่วนใหญ่ผ่านระบบออนไลน์ และในจีนแผ่นดินใหญ่นั้นตัวเลขดังกล่าวได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 74% และสูงแตะ 77% สำหรับวัย 18-29 ปี
- ผู้หญิงมีเหตุผลมากมายในการเลือกซื้อของออนไลน์ ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับราคา (62%) และการประหยัดเวลา (60%) แต่ผู้บริโภคเหล่านี้ยังรู้สึกด้วยว่าผู้ค้าออนไลน์นั้นสามารถพึ่งพาได้ในการค้นหาสินค้าที่ต้องการซื้อ (59%) และผู้บริโภครู้สึกพึงพอใจกับความหลากหลายของสินค้าออนไลน์ (56%)
- ในส่วนของการเลือกผู้ค้าออนไลน์ ผู้บริโภคเพศหญิงยกให้ราคา (83%) เป็นปัจจัยสำคัญหรือสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับคุณภาพ (83%) ความแท้ของสินค้า (82%) และความสะดวกสบาย (77%)
- การเลือกใช้ข้อความก็เป็นอีกส่วนสำคัญ โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 56% รู้สึกดึงดูดกับข้อความที่ระบุถึงตัวผู้บริโภคในฐานะลูกค้าผู้มีอุปการะคุณ ขณะที่ 54% รู้สึกดึงดูดต่อข้อความที่ระบุถึงตัวผู้บริโภคในฐานะภรรยา คุณแม่ หรือคนรัก
- อนาคตของการซื้อของออนไลน์มีแนวโน้มทำธุรกรรมผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่และมีการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว โดยกลุ่มผู้ตอบแบบสำรวจที่มีอายุน้อยที่สุด (18-29 ปี) เป็นสัดส่วน 58% มีการซื้อของออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนที่บ้าน เมื่อเทียบกับ 38% ของกลุ่มวัย 40-49 ปี ขณะที่ในภาพรวมนั้น 43% ของผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมดนิยมใช้จ่ายผ่านระบบออนไลน์มากกว่าหน้าร้านทั่วไป และตัวเลขดังกล่าวปรับตัวสูงแตะ 56% สำหรับวัย 18-29 ปี ส่วนผู้หญิงวัย 18-29 ปีกว่าครึ่งหนึ่งมีแนวโน้มซื้อของออนไลน์โดยไม่ตั้งใจ
ลอเรล เวสต์ ผู้เรียบเรียงรายงานการสำรวจ กล่าวว่า "ผู้หญิงมีอำนาจควบคุมการใช้จ่ายในสินค้าประเภทต่างๆตามที่ควรจะเป็น เช่น เสื้อผ้าและเครื่องประดับ เครื่องสำอางและข้าวของเครื่องใช้ อย่างไรก็ตาม เพศหญิงก็มีอิทธิพลเพิ่มขึ้นในสินค้าที่มีราคาสูง เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น แบรนด์ต่างๆจึงเล็งเห็นถึงจุดนี้ และพยายามสร้างความเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้บริโภคเพศหญิงให้ความสำคัญ"
จากรายงานของ EIU ที่ระบุว่า หญิงชาวเอเชียให้ความสำคัญกับคุณภาพ (83%) ราคา (83%) และความแท้ของสินค้า (82%) ในการเลือกผู้ค้าออนไลน์ ดังนั้น โมเดลธุรกิจของ Vipshop ในการเป็น "ผู้ค้าปลีกออนไลน์ราคาพิเศษสำหรับสินค้าแบรนด์คุณภาพและของแท้" จึงสามารถตอบรับกับความต้องการของเพศหญิงในการซื้อของออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ รายงานของ EIU ยังเปิดเผยว่า เพศหญิงมีอำนาจในการควบคุมการใช้จ่ายออนไลน์ในส่วนของเสื้อผ้าและเครื่องประดับ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก รวมถึงสินค้าภายในครัวเรือน ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์แบบ she-economy ของ Vipshop ที่ได้เปิดตัวไปเมื่อหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยทาง Vipshop ได้ต่อยอดความหลากหลายของประเภทสินค้า จากเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ไปเป็นเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์สำหรับแม่และเด็ก เช่นเดียวกับสินค้าตกแต่งบ้าน เพื่อส่งเสริมอิทธิพลของ she-economy
เนื่องด้วยความเข้าใจในบทบาทอันยิ่งใหญ่ รวมถึงความต้องการจับจ่ายใช้สอยของคุณผู้หญิง ทั้งที่เป็นผู้หญิงวัยทำงาน และภรรยา/คุณแม่/ลูกสาวที่ดี Vipshop จึงพร้อมนำเสนอสินค้าจาก 12,000 แบรนด์สำหรับคุณผู้หญิงและครอบครัว และในเดือนกันยายนของปีนี้ ทาง Vipshop ได้เปิดตัวธุรกิจ "Global Sales" เพื่อเสริมทัพสินค้าออนไลน์สำหรับผู้หญิง
โทนี เฟิง รองประธานของ Vipshop กล่าวในการแถลงข่าวเปิดตัวรายงานสำรวจว่า "Vipshop เดินหน้าผลักดันบริการของเราอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดในรูปแบบที่ดีที่สุด โดยผลการสำรวจครั้งนี้ได้ถือกำเนิดขึ้นจากความพยายามของเรา ซึ่งมีเป้าหมายที่ตลาดสำหรับผู้หญิงที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว การสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการประยุกต์ใช้ทรัพยากรที่เรามีเพื่อสร้างความเข้าใจอันดี พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ และนำไปใช้ในขอบข่ายที่เราต้องการคว้าชัยชนะ"
สามารถรับชมรายงานฉบับเต็มได้ที่ http://www.economistinsights.com/marketing-consumer/analysis/rise-and-online หรือ http://going-global.economist.com/.