เงินรางวัลที่เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ จะช่วยกระตุ้นแนวคิดที่ก่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนต่อสังคมมากยิ่งขึ้น
สิงคโปร์- - 20 ม.ค.- - พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
การแข่งขัน DBS-NUS Social Venture Challenge Asia (SVC Asia) ปีที่ 2 ทุ่มงบถึง 150,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เพื่อเป็นเงินทุน seed fund ให้แก่ผู้ชนะ เนื่องในโอกาสที่สิงคโปร์ได้รับอิสรภาพครบ 50 ปี การเพิ่มเงินทุนจากระดับ 55,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ในปีที่แล้วยังช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันขันแข่งเสนอแนวคิดที่ยืดหยุ่น และมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบอย่างยั่งยืนในสังคม
การแข่งขันดังกล่าวซึ่งจัดขึ้นโดยเอ็นยูเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ (NUS Enterprise) และมูลนิธิดีบีเอส (DBS Foundation) มีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหา และสนับสนุนธุรกิจใหม่ๆเพื่อสังคม รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับการประกอบการเพื่อสังคมในภูมิภาคเอเชีย โดยการแข่งขัน SVC Asia ซึ่งเพิ่งเปิดฉากไปแล้วนั้น ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคมอันทันสมัยถึงกว่า 400 แนวคิดจากทีมผู้แข่งขันใน 20 ประเทศ
ในการแข่งขัน SVC Asia ประจำปี 2558 บรรดาผู้ประกอบการเพื่อสังคมหน้าใหม่ทั่วเอเชียจะได้รับเชิญให้ท่องเว็บไซต์เกี่ยวกับภูมิภาคเอเชีย และใช้เวลาอีกกว่า 5 เดือนในการศึกษาวิธีพัฒนาแนวคิดของตนเองให้กลายเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่มีความยืดหยุ่น และยั่งยืน นอกจากนี้ ผู้แข่งขันในประเทศต่างๆยังจะได้รับประโยชน์จากเวิร์คช็อปต่างๆรวมถึงอีเวนท์เครือข่ายที่ SVC Asia จัดขึ้นร่วมกับเครือข่ายที่ประกอบด้วยพันธมิตรชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าแข่งขันสามารถติดต่อ และตั้งทีมกับเพื่อนๆที่มีความคิดคล้ายคลึงกัน ไม่เพียงเท่านี้ ผู้แข่งขันจะได้รับคำแนะนำ และข้อคิดเห็นจากนักธุรกิจเพื่อสังคมตัวฉกาจ นักลงทุนชื่อดัง และผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ SVC Asia ยังจะเป็นเจ้าภาพจัดชุดเวิร์คช็อปสาธารณะเพื่อช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการประกอบการเพื่อสังคม และระดมเงินทุนสำหรับธุรกิจเพื่อสังคม
Karen Ngui หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์การตลาดและการสื่อสาร และสมาชิกคณะกรรมการมูลนิธิดีบีเอส กล่าวว่า "การรำลึกถึงวันครบรอบอิสรภาพ 50 ปีของสิงคโปร์ในปีนี้ เราได้เพิ่มจำนวนเงินรางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขัน DBS-NUS Social Venture Challenge Asia เป็น 150,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ โดยผู้ชนะเลิศ 3 ทีมแรกจะได้รับเงินรางวัลทีมละ 100,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ 30,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และ 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ตามลำดับ เงินรางวัลทั้งหมด 150,000 ดอลลาร์สิงคโปร์จะมอบให้ผู้ชนะในรูปแบบของเงินทุน seed fund ซึ่งนับเป็นเงินจำนวนสูงที่สุดของการแข่งขันประเภทนี้ในเอเชีย เราเชื่อว่า ธุรกิจเพื่อสังคมจะเป็นพลังแห่งความดีงาม และความหวังที่การแข่งขัน SVC Asia ในปีนี้จะมอบพลังให้กับบรรดาผู้อุทิศตัวเพื่อสังคม และจุดประกายความเป็นนักลงทุน และนวัตกรรม"
ศาสตราจารย์ Wong Poh Kam ผู้อำนวยการ Entrepreneurship Centre ของเอ็นยูเอสซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอ็นยูเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ แสดงความเห็นว่า "สำหรับช่วงแรกของปีการแข่งขัน เราได้รับแนวคิดอันเป็นแรงบันดาลใจจำนวนมากที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงอนาคตของภาคอุตสาหกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นเฮลท์แคร์ สิ่งแวดล้อม และการศึกษา SVC Asia ทำหน้าที่เป็นเวทีสำคัญในการผู้สร้างศักยภาพในท้องถิ่นทั่วภูมิภาคเอเชียเพื่อสนับสนุนการประกอบการเพื่อสังคม ผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมดจะได้ทำความรู้จักกับพันธมิตรรายใหญ่ๆของเรา ซึ่งอาจจะช่วยสนับสนุนพวกเขาภายหลังจบการแข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำปรึกษา การอบรมแบบเข้มข้น และการประชุมกับนักลงทุนชื่อดัง และแหล่งเงินทุนอื่นๆ"
ผู้ชนะการแข่งขัน SVC Asia จะได้รับเงินทุน seed fund ในช่วงเปิดตัวธุรกิจเพื่อสังคมของตนเอง โดยการแข่งขันจะปิดรับสมัครในวันที่ 25 มีนาคม 2558 และผู้เข้ารอบรองสุดท้าย 12 ทีมจะได้รับคัดเลือกให้มาเก็บตัวที่สิงคโปร์ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน เพื่อร่วมการแข่งขันในรอบสุดท้ายรวมถึงพิธีมอบรางวัล
เกี่ยวกับ มูลนิธิดีบีเอส
ในฐานะที่เป็นมูลนิธิองค์กรเพียงหนึ่งเดียวในเอเชียที่อุทิศตัวยกย่องเกียรติคุณของผู้ประกอบการเพื่อสังคม มูลนิธิดีบีเอสได้ทุ่มเทกำลังในการสร้างสังคมให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้นเพื่อให้สมาชิกรอบนอกของสังคมได้มีชีวิตที่ดี และมีคุณค่า มูลนิธิดีบีเอสดำเนินงานร่วมกับภาคธุรกิจเพื่อสังคม และผู้ประกอบการเพื่อสังคมในสิงคโปร์ อินเดีย อินโดนีเซีย จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน และฮ่องกงตั้งแต่การฝึกอบรม และเวิร์คช็อประดับพื้นฐานไปจนถึงระดับเข้มข้น การสนับสนุนเงินทุนโครงการ การประชุมแบ่งปันความรู้ และคำปรึกษาด้านการจัดการระดับสูง มูลนิธิดีบีเอสก่อตั้งขึ้นโดยธนาคารดีบีเอส (DBS Bank) เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมที่ใหญ่ขึ้นในการตอบสนองความต้องการทางสังคมที่มีมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย
เกี่ยวกับ เอ็นยูเอส เอ็นเตอร์ไพรส์
เอ็นยูเอส เอ็นเตอร์ไพรส์เป็นองค์กรระดับมหาวิทยาลัยที่นำพามิติขององค์กรมาสู่การเรียนการสอน และการวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ซึ่งเกี่ยวข้องกับนักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัย และศิษย์เก่า ภารกิจของเอ็นยูเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ ช่วยเติมเต็มทักษะความสามารถของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยในการอบรมนักศึกษาหัวกะทิให้มีทัศนคติของผู้ประกอบการ และมีความเป็นสากล เอ็นยูเอส เอ็นเตอร์ไพรส์ ส่งเสริมจิตวิญญาณแห่งนวัตกรรม และองค์กรผ่านการศึกษาจากประสบการณ์ การมีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมและความเป็นหุ้นส่วน รวมถึงการสนับสนุนทักษะความเป็นผู้ประกอบการ www.nus.edu.sg/enterprise