omniture

ซาอุดีอาระเบียเปิดตัวโครงการเพื่อติดตามการเกิดพายุทรายและฝุ่น เพื่อขยายขีดความสามารถของระบบเตือนภัยล่วงหน้าระดับโลก

UNCCD COP16 Presidency
2024-12-12 14:22 37

การจัด Resilience Day ที่งานประชุม COP16 ในริยาด ระดมความร่วมมือให้เกิดการดำเนินการและการจัดหาเงินทุน

ริยาด, ซาอุดีอาระเบีย, 12 ธันวาคม 2567 /PRNewswire/ --  ประธานการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายสมัยที่ 16 หรือ UNCCD COP16 ของซาอุดีอาระเบียได้ประกาศเปิดตัวโครงการริเริ่มเพื่อติดตามการเกิดพายุทรายและฝุ่นในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบเตือนภัยการเกิดพายุทรายและฝุ่นล่วงหน้าในภูมิภาค โดยถือเป็นการยกระดับครั้งสำคัญให้แก่ระบบเตือนภัยล่วงหน้าระดับโลก โครงการนี้จะต่อยอดจากขีดความสามารถในการรับมือกับพายุทรายและฝุ่นที่มีอยู่ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)

Saudi Arabia Launches Sand and Dust Storm Monitoring Initiative to Expand Global Early Warning System Capacity
Saudi Arabia Launches Sand and Dust Storm Monitoring Initiative to Expand Global Early Warning System Capacity

การประกาศนี้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการริยาด (Riyadh Action Agenda) มีขึ้นในช่วงการจัด Resilience Day เมื่อวันอังคาร ซึ่งเป็นวันเฉพาะตามหัวข้อหลักในงานประชุม COP16 ที่มุ่งขยายการดำเนินงานตามโครงการเสริมความสามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก การอภิปรายและกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดวันดังกล่าวมุ่งเน้นเพื่อจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมและหาทางแก้ปัญหาใหม่ ๆ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการเสื่อมโทรมของที่ดิน ภัยแล้ง และการกลายสภาพเป็นทะเลทราย ตามข้อมูลของ UNCCD มีฝุ่นและทรายเข้าสู่ชั้นบรรยากาศปีละ 2 พันล้านตันทุกปี ซึ่งเทียบเท่ากับน้ำหนักของมหาพีระมิดแห่งกีซา 350 หลัง โดยคาดว่ากว่า 25% เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์

ระบบให้คำแนะนำและประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับพายุทรายและฝุ่น (Sand and Dust Storm Warning Advisory and Assessment System: SDS-WAS) ซึ่งประจำอยู่ในเมืองเจดดาห์ ได้เพิ่มจำนวนของศูนย์ในเครือข่าย WMO ระดับโลกเป็นสี่แห่ง โดยเครือข่ายสากลส่วนหนึ่งรวมถึงกรุงปักกิ่ง บาร์เซโลนา และบาร์เบโดส

Jumaan Al-Qahtani ซีอีโอศูนย์ประเมินและให้คำแนะนำการเตือนภัยพายุทรายและฝุ่นระดับภูมิภาค GCC ในเจดดาห์ กล่าวถึงขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นของศูนย์ในระหว่างการอภิปรายบนเวทีว่า "ศูนย์นี้ได้พัฒนาโมเดลสามรูปแบบที่มีความละเอียดต่างกัน ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบเพื่อใช้คาดการณ์การเกิดพายุทรายและฝุ่นในภูมิภาค และทั้งสามรูปแบบได้ถูกนำไปใช้งานอยู่ในปัจจุบัน"

Al-Qahtani ยังกล่าวถึงโครงการเพื่อเพิ่มระดับการตรวจติดตาม การเตือน และการประสานงานระดับโลกสำหรับพายุทรายและฝุ่น โดยระบุว่า "ซาอุดีอาระเบียเพิ่งเปิดตัวโครงการความร่วมมือระดับนานาชาติ ซึ่งมุ่งพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าในประเทศที่ยังไม่มีความสามารถด้านนี้ โดยโครงการจะดำเนินการผ่านศูนย์ระดับภูมิภาคที่ได้รับการรับรองจาก WMO ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และซาอุดีอาระเบียจะให้เงินทุนสนับสนุนโครงการนี้จำนวน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงห้าปีข้างหน้า เราขอเรียกร้องให้องค์การอื่น ๆ ของสหประชาชาติ รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ให้การสนับสนุนโครงการริเริ่มนี้"

การเพิ่มความสามารถในการรับมือภัยแล้งยังเป็นหัวข้อหลักในการหารืออย่างเป็นทางการตลอดวันที่เก้าของการประชุม COP16 ที่ริยาด ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ซาอุดีอาระเบียได้เปิดตัวความร่วมมือระดับโลกที่ริยาดเพื่อความสามารถรับมือภัยแล้ง หรือ Riyadh Global Drought Resilience Partnership ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการริยาดตั้งแต่เริ่มต้นงานประชุม COP16 โดยความร่วมมือนี้ได้รับเงินสนับสนุนแล้ว 2.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ

"มีประชากรกว่า 1.8 พันล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และตัวเลขนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การสร้างความสามารถรับมือภัยแล้งต้องเป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ โดยเราต้องเปลี่ยนจากการตอบสนองเชิงรับหลังเกิดภัยแล้ง มาเป็นการเตรียมพร้อมและสร้างความสามารถรับมือไว้ล่วงหน้าในเชิงรุก" ดร. Osama Faqeeha รัฐมนตรีช่วยว่าการด้านสิ่งแวดล้อม ในสังกัดกระทรวงสิ่งแวดล้อม น้ำ และการเกษตร และที่ปรึกษาประธาน UNCCD COP16 กล่าว

"เราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวความร่วมมือระดับโลกที่ริยาดเพื่อความสามารถรับมือภัยแล้งในงาน COP16 และเราภาคภูมิใจอย่างสูงกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนการร่วมมือนี้ เราขอเรียกร้องให้ทุกประเทศ องค์กร ภาคเอกชน และองค์กร NGO เข้าร่วมความพยายามในครั้งนี้เพื่อเพิ่มความสามารถรับมือภัยแล้ง เรามุ่งเป้าไปยัง 80 ประเทศที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากที่สุด ด้วยการดำเนินโครงการริเริ่มนี้" ดร. Faqeeha เสริม

ในช่วงการจัด Resilience Day ระหว่างการประชุม COP16 ธนาคารโลกประกาศว่าได้ระดมทุนจากผู้บริจาคจำนวน 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Association) โดยในแถลงการณ์ ธนาคารโลกกล่าวว่า เงินทุนก้อนนี้จะช่วยสร้างการเงินสามารถที่เข้าถึงได้มูลค่ารวม 1 แสนล้านดอลลาร์ เงินทุนนี้จะถูกนำไปใช้ในหลายด้าน เช่น การสนับสนุนความสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การช่วยเหลือเกษตรกร และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใน 78 ประเทศที่ถูกกำหนดว่าเป็นประเทศที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด การประชุม COP16 ในกรุงริยาดกำลังระดมความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชนระดับโลก โดยมุ่งยกระดับโครงการริเริ่มเพื่อการฟื้นฟูที่ดินและความสามารถรับมือภัยแล้งในระดับนานาชาติ

เกี่ยวกับการประชุม COP16 ที่ริยาด: 

การประชุม UNCCD COP16 มีขึ้นระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม 2567 ที่ Boulevard Riyadh World ประเทศซาอุดีอาระเบีย การประชุมภายใต้หัวข้อ Our Land. Our Future จะเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีของ UNCCD และมีเป้าหมายให้เกิดการดำเนินการพหุภาคีในประเด็นสำคัญ เช่น ความสามารถรับมือภัยแล้ง การถือครองที่ดิน และพายุทรายและฝุ่น

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ UNCCD COP16 กรุณาเยี่ยมชม UNCCDCOP16.org 

รูปภาพ: https://mma.prnasia.com/media2/2578677/UNCCD_COP16_Presidency.jpg?p=medium600

โลโก้: https://mma.prnasia.com/media2/2556588/5072558/UNCCD_COP16__Logo.jpg?p=medium600

 

Source: UNCCD COP16 Presidency
Keywords: Agriculture Banking/Financial Service Computer/Electronics Environmental Products & Services New products/services