omniture

Asia Plantation Capital ปูทางสู่การผลิตน้ำมันกฤษณาอย่างยั่งยืนโดยไม่บั่นทอนธรรมชาติ

Asia Plantation Capital
2015-05-21 19:30 912

สิงคโปร์, 21 พ.ค. พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ -- เส้นทางการผลิตน้ำมันกฤษณาอย่างยั่งยืนเต็มไปด้วยความลึกลับซับซ้อนไม่แพ้ตัวน้ำมันเอง โดยน้ำมันกฤษณานั้นผลิตขึ้นจากต้นกฤษณาที่หายาก อันเป็นพันธุ์ไม้ที่ทาง CITES ห้ามเก็บเกี่ยวในป่ามาตั้งแต่ปี 2543 หลังพบการตัดไม้อย่างผิดกฎหมายจนใกล้สูญพันธุ์ นอกจากนี้ น้ำมันกฤษณายังเป็นส่วนประกอบสำคัญในพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมมานานหลายพันปี ทั้งยังมีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรคอีกด้วย

Asia Plantation Capital และพาร์ทเนอร์ สำรวจต้นไม้ปลูกเชื้อในอินเดีย
Asia Plantation Capital และพาร์ทเนอร์ สำรวจต้นไม้ปลูกเชื้อในอินเดีย

การปลูกเชื้อบนต้นกฤษณาในมาเลเซีย
การปลูกเชื้อบนต้นกฤษณาในมาเลเซีย

Asia Plantation Capital (APC) เป็นบริษัทที่มีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์พรรณไม้ใกล้สูญพันธุ์นี้ ด้วยการเปลี่ยนนวนิยายวิทยาศาสตร์ให้กลายเป็น "ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์"

บริษัทได้ทำการวิจัยและพัฒนามาอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี เพื่อเฟ้นหาแนวทางที่ดีที่สุดและมั่นคงที่สุดในการผลิตน้ำมันกฤษณาจากต้น ซึ่งมิได้เป็นเพียงการช่วยปกป้องพรรณไม้กฤษณาจากการสูญพันธุ์เท่านั้น แต่ยังช่วยต่ออายุและแพร่พันธุ์ไม้กฤษณาในพื้นที่เพาะปลูกที่มีการดูแลอย่างดีด้วย

เทคโนโลยีที่ได้รับการจดสิทธิบัตรของ APC ซึ่งพัฒนาโดยคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของบริษัท (ประกอบด้วยคณะนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญชั้นนำในวงการ) ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมในการทดสอบเมื่อไม่นานมานี้ทั้งในอินเดียและมาเลเซีย หลังจากที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน APC มีระบบที่ได้รับการพิสูจน์ประสิทธิภาพในอินเดีย ไทย มาเลเซีย และจีน ไปจนถึงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคเชิงพาณิชย์ ซึ่งช่วยให้อุตสาหกรรมเติบโตอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีการควบคุมดูแลเต็มรูปแบบ

Asia Plantation Capital และพาร์ทเนอร์ สำรวจต้นไม้ที่ได้รับการกระตุ้นสารในอินเดีย

ที่อินเดีย APC ได้ใช้เวลาเกือบ 2 ปีทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้ปลูกต้นกฤษณาเชิงพาณิชย์รายใหญ่ที่สุดในประเทศอย่าง Vanadurgi Agarwood ซึ่งเป็นบริษัทของภาครัฐที่ประกอบด้วยกลุ่มเกษตรกรและผู้ถือหุ้นรายย่อยหลายพันราย ปัจจุบันบริษัทเป็นเจ้าของ และ/หรือ บริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูกกว่า 6,000 แห่งในอินเดียตอนใต้

การทดสอบล่าสุดโดยใช้ระบบการกระตุ้นสาร  ของ APC ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยต้นไม้มีอัตราการ "ติดเชื้อ" อย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถผลิตน้ำมันกฤษณาได้ นอกจากนี้ ทีมกลั่นของ APC ยังเตรียมติดตั้งระบบการกลั่นในอินเดีย เพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมในแง่ของความสม่ำเสมอและคุณภาพของน้ำมันและยางไม้ที่ผลิตออกมา

"เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการสนับสนุนจาก Asia Plantation Capital จนช่วยให้เราสามารถตัดสินใจเลือกใช้ระบบที่ดีที่สุดสำหรับอินเดีย" ธาร์เมนทรา กุมาร ผู้ก่อตั้ง Vanadurgi Group กล่าว "เมื่อพิจารณาจากแผนงานในปัจจุบันและแนวโน้มความสำเร็จในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากต้นกฤษณาที่ปลูกอยู่ในขณะนี้ เราตั้งใจว่าจะใช้ระบบปลูกเชื้อกับต้นกฤษณามากถึง 10,000 ต้นในฤดูใบไม้ผลิหน้า และเรายังพร้อมร่วมงานกับ APC เพื่อติดตั้งระบบกลั่นนำร่อง และอาจนำเทคโนโลยีที่ทาง APC พัฒนาขึ้นมาใช้ในโรงงานผลิตขนาดใหญ่ของเรา โดยภายในปีนี้ เราจะเดินทางเยือนโรงงานแห่งใหม่ของ APC ที่รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย"

แบร์รี โรว์ลินสัน ซีอีโอของ APC กล่าวว่า "เราภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับบริษัทที่สร้างแรงบันดาลใจอย่าง Vanadurgi ความเป็นผู้นำและคุณค่าของบริษัทในแง่ของการช่วยเหลือเกษตรกรและชุมชนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาและปกป้องอุตสาหกรรมนี้ มีความสอดคล้องอย่างยิ่งต่อหลักการดำเนินงานของเรา ทาง Vanadurgi และเราต่างเชื่อมั่นในกระบวนการทำงานที่โปร่งใส ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เรายินดีต่อความคืบหน้าทางการค้าที่ได้เกิดขึ้น รวมถึงการลงทุนในทีมวิจัยและพัฒนาชั้นยอดซึ่งก่อให้เกิดโมเดลธุรกิจแบบ "soil to oil" อย่างแท้จริง อันนำมาซึ่งประโยชน์ทางการค้าสำหรับเกษตรกรทั้งรายใหญ่และรายย่อยทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย"

คุณโรว์ลินสันกล่าวสรุปว่า "น้ำมันกฤษณาและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งทั่วโลก เราจึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานที่คงเส้นคงวาทั่วทั้งอุตสาหกรรมเพื่อรับประกันคุณภาพและความยั่งยืน ซึ่งจะส่งต่อไปยังชุมชนที่ตั้งพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด"

การกระตุ้นสารต้นกฤษณาในมาเลเซีย

มาเลเซียได้นำระบบเดียวกับที่ประเทศไทยไปใช้ และพบว่ามีความก้าวหน้าที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพอากาศที่มีฝนตกและความชื้นตลอดทั้งปี การทดสอบของ APC ในมาเลเซียจึงประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จนบริษัทได้ประกาศแผนขยายธุรกิจครั้งใหญ่ซึ่งรวมถึงการเปิดพื้นที่เพาะปลูกและโรงงานแห่งใหม่ในมาเลเซีย นอกจากนี้ APC ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยและพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็กได้เข้าถึงระบบปลูกเชื้อ กระบวนการผลิต และระบบจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย ก่อให้เกิดการจัดตั้งธุรกิจร่วมทุนและการทำข้อตกลงออกใบอนุญาตมากมายในมาเลเซีย โดยมีกำหนดการเริ่มต้นเก็บเกี่ยวผลผลิตเชิงพาณิชย์ในช่วงต้นปี 2559

สตีฟ วัตส์ ซีอีโอของ APC ประจำมาเลเซีย กล่าวว่า "ทีมนักวนศาสตร์และพืชศาสตร์ของเราต่างตื่นตะลึงกับอัตราการเกิดสารที่พบในต้นไม้ที่ใช้ระบบของเราในมาเลเซีย ซึ่งได้รับปัจจัยหนุนจากสภาพอากาศและคุณภาพดินอันยอดเยี่ยมในหลายพื้นที่ของประเทศ อันที่จริงแล้วเราไม่ต้องการกล่าวอ้างลอยๆ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าระบบของเราทำงานได้ีอย่างดีในสภาพอากาศของมาเลเซีย"

หมายเหตุถึงบรรณาธิการ:

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:

เอเดรียน เฮง
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
อีเมล: adrian.heng@asiaplantationcapital.com
สำนักงาน: +65-6222-3386
มือถือ: +65-9750-7440

เกี่ยวกับ Asia Plantation Capital 

Quick facts:

  • 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – มูลค่ารวมของสินทรัพย์ที่บริษัทเป็นเจ้าของและอยู่ภายใต้การจัดการของบริษัท
  • 53.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – มูลค่าผลประกอบการในปีงบการเงินที่ผ่านมา
  • 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – ประมาณการผลประกอบการในปีงบการเงินปัจจุบัน
  • 2,000,000 – จำนวนต้นกฤษณาที่มีอยู่ในปัจจุบันบนพื้นที่เพาะปลูกไม้กฤษณาของบริษัท

Asia Plantation Capital (APC) เป็นเจ้าของและผู้ดำเนินธุรกิจเพาะปลูกและฟาร์มเชิงพาณิชย์อันหลากหลายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและทั่วโลก ซึ่งอยู่ในเครือของ Asia Plantation Capital Group โดยจุดมุ่งหมายหลักของบริษัทคือ โครงการเพาะปลูกหลากประเภทในหลายวัฒนธรรม เพื่อรองรับความต้องการในประเทศและความต้องการเชิงพาณิชย์ของประเทศที่บริษัทดำเนินงานอยู่ หลักการดำเนินงานของบริษัทคือ การร่วมงานอย่างใกล้ชิดและให้การสนับสนุนอันดีแก่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมคุณค่าทางสังคมและวัฒนธรรมรวมทั้งการลงทุน เพื่อดึงชุมชนเหล่านี้ให้ออกจากวงจรการตัดไม้ทำลายป่าและการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย ซึ่งก่อนหน้านี้ถือเป็นแหล่งรายได้หลักของบางพื้นที่ในเอเชีย ทั้งนี้ บริษัทจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2551 (แม้ว่าได้มีการดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2545) ปัจจุบันเครือบริษัทมีโครงการเพาะปลูกและการเกษตรใน 4 ทวีป ได้แก่ โครงการดำเนินงานในขั้นต่างๆในประเทศไทย มาเลเซีย จีน ลาว อินเดีย กัมพูชา ศรีลังกา พม่า เวียดนาม อเมริกาเหนือ และยุโรป

การส่งเสริมการใช้ไม้ที่ได้รับการรับรองนั้น เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ทั้งยังช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงต่อสู้กับปัญหาความยากจนในภูมิภาคป่าฝนเมืองร้อน และสำหรับวงการเดินเรือยอชต์ที่มีการใช้ไม้สักจำนวนมาก ทั้งยังแสวงหาความเป็นเลิศและมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมนั้น นี่เป็นอีกหนทางหนึ่งเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีการนำไม้ที่ผิดกฎหมายมาใช้กับเรือยอชต์

รูปภาพ - http://photos.prnasia.com/prnh/20150519/8521503207-a 
รูปภาพ - http://photos.prnasia.com/prnh/20150519/8521503207-b

Source: Asia Plantation Capital
Keywords: Agriculture Paper/Forest Products/Containers Conservation/Recycling Environmental Issues
Related News