omniture

Lien Foundation เรียกร้องรัฐบาลปรับปรุง Quality of Death พร้อมบรรจุประเด็นการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองให้เป็นส่วนหนึ่งของบริการสุขภาพอย่างครบวงจร

Lien Foundation
2015-10-07 22:42 754

สิงคโปร์--7 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

จากผลการศึกษาดัชนี 2015 Quality of Death ส่งผลให้องค์กรด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระดับโลกและภูมิภาคเรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆดำเนินการตามแนวทางของการประชุมสมัชชาอนามัยโลก (WHA) ว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง [1] ก่อนที่จะถึงวัน World Hospice and Palliative Care Day ในวันที่ 10 ตุลาคม 2558 นี้

ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ประเทศที่มีรายได้ต่ำบางประเทศซึ่งมีนวัตกรรมและโครงการริเริ่มที่สวนกระแสสามารถทำได้ดีกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

มูลนิธิ Lien Foundation เรียกร้องให้รัฐบาลและผู้บริหารระดับนโยบายเร่งดำเนินการและปรับปรุงการให้บริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (palliative care) องค์กรด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองระดับภูมิภาคและประเทศจากทั่วโลกได้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการดำเนินการอันเนื่องมาจากผลการศึกษาที่สำคัญของดัชนี 2015 Quality of Death (QOD) Index ของ Economist Intelligence Unit ได้ชี้ให้เห็นถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้:

  • นโบายและกลยุทธ์ระดับประเทศในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมีความสำคัญสำหรับการขยายขอบเขตการเข้าถึงการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดหลายประเทศมีกรอบการทำงานที่ครอบคลุมซึ่งผนวกรวมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเข้าไว้ในระบบสาธารณสุข ยกตัวอย่างเช่น ชิลี (อันดับที่ 27) ได้รวมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเข้าไว้ในระบบบริการสุขภาพของประเทศ และมีนโยบายเรื่องการเข้าถึงสารสกัดจากฝิ่น [2]
  • การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองนั้น ต้องลงทุน แต่ก็ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพ ผลการวิจัยเมื่อไม่นานมานี้แสดงให้เห็นว่า การนำระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมาใช้ตั้งแต่เนิ่นๆจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านบริการสุขภาพลงได้ เรื่องดังกล่าวได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากประเทศที่ได้รับการจัดอันดับสูงๆหลายประเทศ
  • ถึงแม้ว่าระดับรายได้จะเป็นตัวบ่งชี้ที่แข็งแกร่งถึงการมีและคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง แต่ประเทศที่มีความมั่งคั่งน้อยกว่าก็สามารถที่จะปรับปรุงมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้อย่างรวดเร็ว มองโกเลีย (อันดับที่ 28) ปานามา (อันดับที่ 31) และยูกันดา (อันดับที่ 35) ได้ยกระดับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองผ่านทางนวัตกรรมและโครงการริเริ่มภายใต้การนำโดยภาคเอกชน
  • อุปสงค์ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในบางประเทศที่ไม่มีความพร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว ประเทศอย่างฮังการี (อันดับที่ 41) กรีซ (อันดับที่ 56) และจีน (อันดับที่ 71) มีอุปทานที่จำกัดแต่อุปสงค์ด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประเทศเหล่านี้ต้องลงทุนเชิงรุกเพื่อตอบสนองกับความต้องการของภาคสาธารณะ
  • การมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นเรื่องที่สำคัญในการเพิ่มการรับรู้และสนับสนุนการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องความตาย ไต้หวัน (อันดับที่ 6) ประสบความสำเร็จในการใช้กระแสหลักและโซเชียลมีเดียในการเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

ด้วยผลการศึกษาดังกล่าว บุคคลที่ทุ่มเทด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองทั่วโลกได้เรียกร้องให้ผู้บริหารระดับนนโยบายใช้วิธีการเชิงรุกตามแนวทางของ WHA ในเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองซึ่งผ่านความเห็นชอบของที่ประชุม 2014 World Health Assembly แนวทางดังกล่าวกำหนดให้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดี ความสะดวกสบาย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แนวทางนี้ยังได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการดังต่อไปนี้:

  • ผนวกรวมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเข้าไว้ในนโยบายและงบประมาณด้านบริการสุขภาพ
  • ผนวกรวมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองไว้ในระบบสาธารณสุข
  • รับประกันว่าได้มีการรวมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองไว้ในระบบการศึกษาพื้นฐานและการอบรมอย่างต่อเนื่องสำหรับเจ้าหน้าที่บริการสุขภาพ
  • จัดหาอุปทานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่จำเป็นทั้งหมดให้พอเพียง ซึ่งรวมถึงยารักษาอาการเจ็บปวดรุนแรงให้กับผู้ป่วยทุกราย

ประเทศสมาชิกทั้งหมดจะต้องรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามแนวทางก่อนที่ผู้อำนวยการจะรายงานต่อที่ประชุม World Health Assembly ในปี 2559 [3] ครั้งต่อไป

ดัชนี 2015 QOD Index ซึ่งบริหารจัดการโดยมูลนิธิ Lien Foundation องค์กรการกุศลของสิงคโปร์นั้น เป็นการจัดอันดับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองใน 80 ประเทศที่ได้รับการเพิ่มเติมและผ่านการปรับปรุงทบทวนมาแล้ว ซึ่งต่อยอดจากผลการศึกษาที่ได้มีการเปิดเผยเป็นครั้งแรกในปี 2553 [4] ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกว่า 120 ราย "การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจะต้องเป็นเสาหลักขั้นพื้นฐานของบริการสุขภาพพื้นฐานเพื่อมนุษยธรรม ภายใต้หน้าที่บรรเทาทุกข์และความเจ็บปวด"  มร.ลี โพห์ วาห์ (Mr. Lee Poh Wah ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Lien Foundation กล่าว "เป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะทำความเข้าใจและขจัดอุปสรรคที่ฝังรากอยู่ในระบบ สถาบันสาธารณสุข และแนวทางปฏิบัติด้านวัฒนธรรมของเรา  รวมทั้งเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลต่างๆเพิ่มความรับผิดชอบเรื่องการปรับปรุงการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ใกล้จะเสียชีวิต"

ในขณะที่ผลการจัดอันดับ QOD ล่าสุดบ่งชี้ถึงผลกระทบเชิงบวกของการแทรกแซงด้านนโยบายและการมีส่วนร่วมของประชาชนในบางประเทศ แต่ก็ยังมีงานที่ต้องทำอีกมากสำหรับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองทั่วโลก ผลการประเมินบ่งชี้ว่า ผู้ที่ต้องการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในสัดส่วนที่ต่ำกว่า 10% ได้รับการดูแลในรูปแบบดังกล่าว [5] นอกจากนี้ สัดส่วนของประชากรสูงอายุและผู้ป่วยมะเร็งก็เพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ ดัชนียังตอกย้ำด้วยว่า แม้แต่ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดก็ "ประสบปัญหาในการให้บริการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองที่เพียงพอสำหรับพลเรือนทุกๆคน" [6]

พื้นฐานในการผนวกรวมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเข้าไว้ในระบบการดูแลสุขภาพ

"ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดก็คือระบบการดูแลสุขภาพของเราที่ถูกออกแบบมา เพื่อบริการรักษาโรคที่รุนแรง แต่สิ่งที่เราต้องการคือการดูแลรักษาในระยะยาว สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในเกือบจะทุกที่ทั่วโลก" ดร.สตีเฟน คอนเนอร์ (Dr. Stephen Connor) พันธมิตรอาวุโสของ Worldwide Hospice Palliative Care Alliance กล่าว สถานการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้หากประเทศต่างๆได้กำหนดนโยบายแห่งชาติเพื่อรวมระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองไว้ในระบบสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ (อันดับที่ 9) มีค่าใช้จ่ายสูงในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองผ่านทางการเบิกจ่ายจากกองทุนของรัฐบาลสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในชื่อ Medicare [7] สหรัฐฯยังมี Care Planning Act ที่ใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเรื่องการยุติการมีชีวิต ในขณะที่ประเทศอื่นๆที่มีความมั่งคั่งน้อยกว่า เช่น มองโกเลีย และแอฟริกาใต้ได้รับประโยชน์จากการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มองโกเลียซึ่งได้รับการจัดอันดับที่ 28 และประสบความสำเร็จในการรวมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายสุขภาพและสวัสดิการสังคม และโครงการควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ แอฟริกาใต้ (อันดับที่ 34) มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแบบผนวกรวมสูง เนื่องจากความเคลื่อนไหวในเรื่องการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายของประเทศ

การเผยแพร่ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจะต้องได้รับความรู้และการฝึกอบรมที่ดีขึ้นในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลรักษาอย่างครอบคลุมตลอดทั้งชีวิต "เรื่องดังกล่าวอาจจะใช้ระยะเวลานานในการเปลี่ยนแปลง" ดร.ชีลา เพย์น(Dr. Sheila Payne) ประธานสมาคมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของยุโรป (2554-2558) กล่าว "แต่หากทุกคนมีพื้นฐานการศึกษาในเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ก็จะไม่มีใครไม่เข้าใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาความเจ็บปวด วิธีการสื่อสารกับผู้ป่วยและครอบครัว การดูแลทางด้านจิตวิทยา สังคม และจิตวิญญาณ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง ไม่ใช่ส่วนที่เข้ามาเสริมพิเศษ"

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความต้องการในเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศ เช่น จีน (อันดับที่ 71) อินเดีย (อันดับที่ 67) และฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 78) ดร.ซินเทีน โกห์ (Dr. Cynthia Goh) ประธานเครือข่าย Asia Pacific Hospice Palliative Care Network แสดงความเห็นว่า "เอเชียมีประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งรวมถึงสองประเทศที่มีจำนวนประชากรมหาศาล ได้แก่ จีนและอินเดีย ช่องว่างของการจัดเตรียมและความจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในประเทศเหล่านี้จึงมีอยู่สูงมาก นอกจากนี้ ประชากรในจีนสูงวัยเพิ่มขึ้นและทั้งสองประเทศกำลังเผชิญกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่กับจำนวนโรคไม่ติดต่อที่สูงขึ้น เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน"

ความจำเป็นในการรับประกันความพอเพียงของอุปทานยาบรรเทาอาการเจ็บปวด

อย่างไรก็ดี เราสามารถเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองได้อีกเล็กน้อยโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาระงับปวดประเภทฝิ่น มร.เอ็มมานูเอล ลูยีรีกา (Mr. Emmanuel Luyirika) ผู้อำนวยการบริหารของสมาคมการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแอฟริกัน กล่าวว่า "ความเจ็บปวดคือสาเหตุหลักของความทรมานสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองหลายราย การบริหารจัดการความเจ็บปวดคือหัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองอย่างมีคุณภาพ การขาดแคลนและไม่สามารถเข้าถึงยาระงับปวดที่ได้ผลเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาระงับปวดประเภทฝิ่น ยังคงเป็นอุปสรรคในการรักษาดังกล่าว ดังนั้นจะต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อรับประกันการเข้าถึงสำหรับทุกๆคน"

EIU รายงานว่า มีเพียง 33 ประเทศจาก 80 ประเทศที่ได้รับการสำรวจที่สามารถเข้าถึงและมียาระงับปวดประเภทฝิ่นได้อย่างเสรี ในขณะที่อุปสรรคในการใช้ยาระงับปวด ซึ่งครอบคลุมถึงข้อห้าม กฎหมาย การขาดการฝึกอบรมและการรับรู้ รวมไปถึงข้อห้ามทางสังคม กว่า 90% ของการใช้ยาระงับปวดประเภทฝิ่นทั่วโลกเกิดขึ้นในประเทศอพัฒนาแล้วเพียงไม่กี่ประเทศ ในขณะที่ 80% ของประเทศทั้งหมดมีสัดส่วนการเข้าถึงต่ำหรือถูกจำกัดการใช้ยาดังกล่าว [8]

การลงทุนเพื่อการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

การผลักดันให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรสำหรับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมากขึ้นนั้น ดร.เจมส์ ทัลส์กี (Dr. James Tulsky) ประธานฝ่ายจิตวิทยาเนื้องอกวิทยาและการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองแห่งสถาบันมะเร็งดานา-ฟาร์เบอร์(Dana-Farber Cancer Institute)  และประธานฝ่ายการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของโรงพยาบาล Brigham and Women ในสหรัฐฯ กล่าวว่า "การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเป็นหนึ่งในโอกาสที่หาได้ยากที่เราจะสามารถทำได้ดีด้วยการทำความดี มีหลักฐานบ่งชี้ว่า เราสามารถเพิ่มคุณภาพและแม้กระทั่งปริมาณของชีวิต ในขณะที่ลดต้นทุนลงได้" ถึงแม้ว่าการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองจะใช้เงินลงทุนสูง แต่ก็จะได้ประโยชน์จากการลดต้นทุนด้านบริการสุขภาพลง [9] ยกตัวอย่างเช่น ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้พบว่า หากมีการดำเนินการด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะรุนแรงภายใน 2 วันภายหลังการวินิจฉัย จะสามารถนำไปสู่การลดต้นทุนได้มากถึง 24% ผลการศึกษา QOD บ่งชี้ว่า "การเปลี่ยนจากการแทรกแซงด้านสุขภาพที่สามารถรักษาได้อย่างเข้มงวดไปสู่การบริหารจัดการความเจ็บปวดและอาการแบบองค์รวมสามารถลดภาระให้กับระบบการดูแลสุขภาพ และลดการใช้วิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงแต่ไร้ประโยชน์"

ดร.คอนเนอร์ กล่าวสรุปว่า "แนวทางการเสริมความเข้มแข็งให้กับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของที่ประชุม 2014 World Health Assembly เป็นการพัฒนาที่สำคัญที่สุดสำหรับการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองทั่วโลกเท่าที่เคยมีมา อาจจะนับตั้งแต่ที่ได้มีการเริ่มต้นของความเคลื่อนไหวของเรา ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญสำหรับประเทศต่างๆและองค์การอนามัยโลกที่จะผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการวางรากฐานการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ซึ่งยังมีความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองอีกมาก"

ดัชนี 2015 Quality of Death Index ของ อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิท (Economist Intelligence Unit) หรือ EIU ซึ่งครอบคลุม 80 ประเทศและใช้ดัชนีชีวัดทั้งคุณภาพและปริมาณ 20 รายการใน 5 ประเภท อันได้แก่ การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและสภาพแวดล้อมบริการสุขภาพ ทรัพยากรมนุษย์ ความสามารถในการรักษา คุณภาพของการรักษา และระดับการมีส่วนร่วมของสังคม

เกี่ยวกับมูลนิธิ Lien Foundation ( www.lienfoundation.org )

มูลนิธิ Lien Foundation เป็นองค์กรเพื่อการกุศลของสิงคโปร์ที่มีชื่อเสียงในเรื่องโมเดลการกุศลเชิงรุก มูลนิธิ Lien Foundation ได้ลงทุนในโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรม รวบรวมพันธมิตรเชิงกลยุทธ์และเร่งดำเนินการที่เป็นความท้าทายทางสังคมและสิ่งแวดล้อม Lien Foundation ต้องการที่จะสนับสนุนการศึกษาตั้งแต่วัยเด็ก ความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้สูงอายุ และสภาพแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนในเรื่องน้ำและอนามัย ในส่วนของการดูแลผู้สูงอายุนั้น Lien Foundation ให้ความสำคัญกับโครงการดูแลจนถึงขั้นสิ้นลมหายใจ ผ่านโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น การจัดทำดัชนี Quality of Death index เมื่อปี 2553 เป็นครั้งแรกของโลกและการแข่งขัน Design for Death เกี่ยวกับนวัตกรรมการดูแลเรื่องการเสียชีวิต มูลนิธิยังเสริมความเป็นผู้นำด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและศักยภาพในประเทศกำลังพัฒนาผ่านทางโครงการ Lien Collaborative For Palliative Care ด้วยการเป็นพันธมิตรกับเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยวาระสุดท้ายและการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเอเชียแปซิฟิก

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.qualityofdeath.org

สื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:
Genevieve Kuek
Qeren Communications
อีเมล: gen@qeren.biz
โทร: +65-9763-3110
May Tan
Qeren Communications
อีเมล: may@qeren.biz
โทร: +65-9791-3059

[1]

The World Health Assembly, a decision-making body of the WHO comprised of representatives of its member states, passed the Resolution.

[2]

Brenda Cameron and Anna Santos Salas, "Understanding the Provision of Palliative Care in the Context of Primary Health Care: Qualitative research findings from a pilot study in a community setting in Chile", Journal of Palliative Care, vol. 25 no. 4, 275-283, 2009. สามารถดาวน์โหลดได้ที่http://uofa.ualberta.ca/nursing/-/media/nursing/about/docs/cameronsantossalas.pdf

[3] 

http://apps.who.int/gb/ebwha/pdf_files/WHA67/A67_R19-en.pdf

[4]

The inaugural Quality of Death Index sparked policy debates over the provision of palliative care across the world. The 2015 Index has an expanded range of 20 indicators in 5 categories:  palliative and healthcare environment; human resources; the affordability of care; the quality of care; and level of community engagement.

[5]

Global Atlas of Palliative Care at the End of Life, Worldwide Hospice Palliative Care Alliance and World Health Organization, January 2014. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.who.int/nmh/Global_Atlas_of_Palliative_Care.pdf

[6]

2015 Quality of Death index, The Economist Intelligence Unit

[7]

Medicare is the US federal programme providing health insurance coverage to all individuals over the age of 65.

[8]

Global Atlas of Palliative Care at the End of Life, Worldwide Hospice Palliative Care Alliance and World Health Organization, January 2014. สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.who.int/nmh/Global_Atlas_of_Palliative_Care.pdf

[9]

Peter May et al, Prospective Cohort Study of Hospital Palliative Care Teams for Inpatients With Advanced Cancer: Earlier Consultation Is Associated With Larger Cost-Saving Effect, Journal of Clinical Oncology, June 2015.

Source: Lien Foundation
Keywords: Medical/Pharmaceuticals Advocacy Group Opinion Not for profit
Related News