เซินเจิ้น, จีน--18 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ดร.เหวิน ตง พันธมิตรของหัวเว่ยเปิดเผยในวันนี้ว่า เครือข่ายที่ได้รับแรงขับเคลื่อนจากแอปพลิเคชั่น (Application-driven Network: ADN) ที่ปฏิวัติวงการของบริษัทได้รับแรงบันดาลใจมาจากโมเดลการใช้ข้อมูล 3 โมเดลที่รองรับแอปพลิเคชั่นหลากหลาย สิ่งที่ทำให้ ADN เป็นนวัตกรรมก็คือการออกแบบสถาปัตยกรรมในระดับท็อป-เลเวล โดยเลเยอร์ของเครือข่ายถูกผนวกรวมเข้ากับระบบในเชิงตั้งจากบนลงสู่ล่าง และทรัพยากรเครือข่ายที่จำเป็นสำหรับแอปพลิเคชั่นได้ถูกจัดสรรและควบคุมจากทั้งสองฝั่ง
"สภาพแวดล้อมที่เครือข่ายมีวิวัฒนาการนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก" ดร.เหวิน กล่าว "โมเดลธุรกิจและความต้องการของผู้ใช้มีความหลากหลายในช่วงต่างๆของการพัฒนาเครือข่าย ในขณะที่ Future Network Theory Lab ของ 2012 Laboratories ของหัวเว่ย พบว่า ผลจากการสื่อสารที่แตกต่างกันมีความสอดคล้องกับโมเดลการใช้ข้อมูลที่แตกต่างกันและนำไปสู่รูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่แตกต่างกัน หัวเว่ยได้ให้ความสำคัญกับแอปพลิเคชั่นท่ามกลางวิวัฒนาการของเครือข่าย บริษัทได้พัฒนาแนวความคิดของ ADN และวิเคราะห์โมเดลทฤษฎีเครือข่ายและการทดสอบสถาปัตยกรรมภายใต้ลำดับเหตุการณ์ปกติแล้วเสร็จ"
ดร.เหวิน เชื่อว่า แอปพลิเคชั่นต่างๆได้รับการสนับสนุนจาก 3 โมเดลการใช้ข้อมูล
โมเดลแรกก็คือโมเดลการแจกแจงปัวซง (Poisson distribution) ที่ใช้ในการสื่อสารด้วยเสียง ภายใต้ลำดับเหตุการณ์นี้ ความถี่และระยะเวลาในการโทรของผู้ใช้จะยังคงอยู่ที่ค่าเฉลี่ย โมเดลนี้เหมาะสำหรับสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบลำดับชั้น
โมเดลที่สองคือโมเดล power-law distribution ที่ใช้สำหรับการสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภายใต้ลำดับเหตุการณ์นี้ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อเข้ากับโหนดซูเปอร์อินเทอร์เน็ต โมเดลนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบราบเรียบ
โมเดลที่สามคือ กระบวนการมาร์คอฟ (Markov process) ที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องจักร-ต่อ-เครื่องจักร (M2M) ในยุค M2M นั้น ความต้องการแอปพลิเคชั่นของอุตสาหกรรมต่างๆมีความแตกต่างกันอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ในอินเทอร์เน็ตสำหรับยานยนต์ การสื่อสารแบบรถยนต์-ถึง-รถยนต์ต้องมีความหน่วงต่ำอย่างยิ่ง ในขณะที่การแพทย์ทางไกล ระบบการสื่อสารผ่านวิดีโอจากทางไกลต้องมีแบนด์วิทที่กว้างมากและต้องมีความน่าเชื่อถือสูง ในกรณีนี้ เครือข่ายจะต้องสร้างระบบขนาดเล็กในพื้นที่และระบบขนาดใหญ่ในระดับโลก โมเดลการกระจายแบบมาร์คอฟนี้ สามารถรองรับสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่มีการควบคุมแบบกระจายและแบบรวมศูนย์
สำหรับสถาปัตยกรรมนวัตกรรม ADN นี้ ดร. เหวิน อธิบายว่า "เป็นเครือข่ายการสื่อสารแบบดั้งเดิมที่นำมาปรับใช้กับสถาปัตยกรรมแนวราบซึ่งมีทรัพยากรกระจัดกระจายอยู่ในระดับเครือข่ายชั้นต่างๆ พวกเขามุ่งมั่นที่จะทำให้ครอบคลุมทั่วภูมิภาค และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรในชั้นที่แตกต่างกัน ทว่าเครือข่ายเหล่านี้ยังไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการทางแอปพลิเคชั่นแบบเอ็นด์ทูเอ็นด์ได้"
จากคำอธิบายของ ดร.เหวิน ข้างต้น ระบบ ADN ของหัวเว่ยสามารถปรับใช้กับสถาปัตยกรรมแนวตั้งจากต้นสู่ปลายได้ ซึ่งหัวเว่ยได้พัฒนาทฤษฎีสามข้อที่ช่วยกำหนดรูปแบบของระบบ ADN สามชั้น ได้แก่ ทฤษฎีการบริโภคข้อมูล ทฤษฎีการควบคุมข้อมูล และทฤษฎีการเผยแพร่ข้อมูล ในระดับชั้นของแอปพลิเคชั่น รูปแบบข้อมูลจะถูกจำลองขึ้นโดยลักษณะของการบริการในรูปแบบต่างๆ ในระดับชั้นของการควบคุมแหล่งกำเนิดนั้น แหล่งที่มาของเครือข่ายจะได้มาจากการผสมผสานระดับโลก และท้องถิ่น เพื่อประสบการณ์อันยอดเยี่ยมของผู้ใช้ รวมถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในระดับชั้นของข้อมูล การแยกแอปพลิเคชั่นจากระดับชั้นบริการจะช่วยให้สามารถตอบโจทย์การประสาน และแบ่งปันทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ดร.เหวินเพิ่มเติมว่า "ระบบ ADN นี้นำเสนอทฤษฎีเศรษฐกิจแนวใหม่ ที่ทำให้เราต้องพิจารณาการดำเนินงานของเครือข่าย และการพัฒนาเทคโนโลยีจากวิสัยทัศน์ของคุณค่าที่ลูกค้าได้รับจากการใช้งาน คุณค่าของเครือข่าย และคุณค่าของผู้ส่งมอบ โดยระบบ ADN ต้องการวิธีการอันขับเคลื่อนจากความต้องการเพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาเครือข่าย จึงจะสร้างแนวทางดั้งเดิมของเครือข่ายผู้ส่งมอบได้"
ระบบ ADN จะเปิดรับแอปพลิเคชัน อีกทั้งช่วยผู้ให้บริการเครือข่ายเปลี่ยนช่องทางการจัดส่งแบบเดิมๆ กำหนดรูปแบบการขาย ปริมาณการรับและส่งข้อมูลที่อิงแบนด์วิทหรืออิงทราฟฟิคเท่านั้น รวมถึงสร้างรายได้ใหม่ๆ "ในอนาคต ผู้ให้บริการเครือข่ายจะสามารถขยายตลาดไปยังอุตสาหกรรมแนวดิ่งได้โดยเช่าระบบ ADN กับแอปพลิเคชั่นที่เพิ่มเข้ามา อาทิ การขนส่ง การดูแลสุขภาพ การศึกษา การเงิน และอินเทอร์เน็ตออฟธิง" ดร.เหวิน ทิ้งท้าย
ทั้งนี้ หัวเว่ยเปิดตัวแนวคิด ADN เป็นครั้งแรกในงาน Globecom 2015 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ: http://www.huawei.com/en/news/2015/12/Huawei%20Unveils%20the%20Vision%20for