omniture

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยระดับโลกเตือน สุขอนามัยภายในบ้านที่ไม่ดีเป็นต้นเหตุของการดื้อยาปฏิชีวนะ

The Global Hygiene Council (GHC)
2020-09-11 14:48 487

-  ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขของ Global Hygiene Council (GHC) ชี้การรักษาสุขอนามัยภายในบ้านโดยยึดหลักแนวความเสี่ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยควบคุมอัตราการคุกคามจากการที่เชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มมากขึ้น  

ลอนดอน

11 กันยายน 2563

/PRNewswire/ -- มีการคาดการณ์ว่า อัตราการดื้อยาปฏิชีวนะที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอาจเพิ่มขึ้นเป็น 40-60% ในบางประเทศภายในปี 2573 [1] ขณะที่การดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance: AMR) คาดว่าจะคร่าชีวิตผู้คนราว 10 ล้านคนภายในปี 2593 หากไม่มีการดำเนินการใดๆ [2]    ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญของ GHC จึงเรียกร้องให้มีการทบทวนวิถีปฏิบัติด้านสุขอนามัยภายในบ้านและในชีวิตประจำวันให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับปัญหาเร่งด่วนด้านสาธารณสุขที่เรากำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ทั้งการดื้อยาและโควิด-19

ในเอกสารวิชาการฉบับใหม่ที่ GHC จัดทำขึ้นและตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Infection Control ฉบับเดือนกันยายน ผู้เชี่ยวชาญได้เผยหลักฐานที่บ่งชี้ว่า การรักษาสุขอนามัยภายในบ้านและในชีวิตประจำวันของเราให้สะอาดขึ้นเป็นองค์ประกอบสำคัญในการต่อสู้กับแบคทีเรียดื้อยา นั่นเพราะการมีสุขอนามัยที่ดีมีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการดื้อยาได้ 2 ทางด้วยกัน คือ ป้องกันการติดเชื้อซึ่งจะนำไปสู่การลดใช้ยาปฏิชีวนะ และป้องกันการแพร่เชื้อจากคนสู่คนอันเป็นสาเหตุที่ทำให้แบคทีเรียดื้อต่อยาปฏิชีวนะ          

นอกจากนี้ เอกสารดังกล่าวยังพิสูจน์ให้เห็นว่า การลดโอกาสการแพร่เชื้อภายในบ้านและในชุมชน รวมถึงการปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยโดยยึดหลักแนวทางการประเมินความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น ตัวอย่างเช่น การกำจัดเชื้อโรคที่แพร่กระจายอยู่ตามพื้นผิวที่เสี่ยงต่อการเป็นแหล่งแพร่เชื้อ และมือเมื่อทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น ขณะทำอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยลดการแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ขณะเดียวกัน งานวิจัยเชิงทดลองของเรายังบ่งชี้ด้วยว่า การดูแลสุขอนามัยของมือให้สะอาดขึ้นในเด็กที่ศูนย์ดูแลเด็กเล็กสามารถลดความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่พบได้ทั่วไปลงถึง 30% [3]      

ศาสตราจารย์ Sally Bloomfield ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและผู้ร่วมวิจัยในงานชิ้นนี้อธิบายว่า "เราย้ำเตือนให้ทุกคนปฏิบัติตามแนวทางการรักษาสุขอนามัยตามกลุ่มเป้าหมาย (Targeted Hygiene) ซึ่งมีหลักฐานรองรับนี้ ทั้งภายในบ้านและในชีวิตประจำวัน  แทนการทำความสะอาดบ้านทุกซอกทุกมุม โดยมุ่งเน้นไปที่ช่วงเวลาและบริเวณที่จุลชีพก่อโรคมีโอกาสแพร่เชื่้อสูง ซึ่งไม่เพียงแค่ช่วยสกัดการแพร่กระจา

ยของเชื้อไวรัสโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังช่วยลดโอกาสที่เชื้อโรคจะดื้อยาด้วย" 

โลโก้: https://mma.prnasia.com/media2/1196867/GHC_Logo.jpg?p=medium600

Source: The Global Hygiene Council (GHC)
Keywords: Health Care/Hospital Household/Consumer/Cosmetics Infectious Disease Control Medical/Pharmaceuticals Pharmaceuticals Publishing/Information Service Clinical Trials/Medical Discoveries Public Safety Survey, Polls & Research
Related News