omniture

ญี่ปุ่นจัดนิทรรศการศิลปะมัลติมีเดียจากศิลปิน 8 กลุ่ม ณ สนามบินฮาเนดะและสนามบินนาริตะ

กิจกรรมภายใต้โครงการ "CULTURE GATE to JAPAN" ของสำนักวัฒนธรรมญี่ปุ่น
Agency for Cultural Affairs, Government of Japan CULTURE GATE to JAPAN Initiative
2021-03-12 09:00 318

โตเกียว--12 มีนาคม 2564--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 สำนักวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้เปิดตัวนิทรรศการศิลปะรูปแบบใหม่ ณ สนามบินฮาเนดะและสนามบินนาริตะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "CULTURE GATE to JAPAN" โดยขณะนี้ ผลงานศิลปะมัลติมีเดียของศิลปิน 8 กลุ่มกำลังจัดแสดงที่สนามบินและทางออนไลน์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อโปรโมทเสน่ห์ของวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้ทั่วโลกได้สัมผัส

"Crowd Cloud" โดย SUZUKI Yuri & HOSOI Miyu
"Crowd Cloud" โดย SUZUKI Yuri & HOSOI Miyu

<สรุปข้อมูลการจัดกิจกรรม ณ สนามบินฮาเนดะและสนามบินนาริตะ>

ธีมของนิทรรศการที่สนามบินฮาเนดะและสนามบินนาริตะคือ "VISION GATE" ภายใต้การกำกับดูแลของ Paola ANTONELLI โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอ "วิสัยทัศน์" จากอดีตสู่อนาคต และบทบาทในฐานะรากฐานของวัฒนธรรมญี่ปุ่น

  • ระยะเวลา: เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564
  • สถานที่:
    [ผลงานศิลปะจัดวาง] สนามบินฮาเนดะ อาคารผู้โดยสาร 2, ล็อบบี้ผู้โดยสารขาออกชั้น 2, จุดตรวจรักษาความปลอดภัย D
    [ผลงานวิดีโอ]
    - สนามบินฮาเนดะ อาคารผู้โดยสาร 3, อาคารเทียบเครื่องบินผู้โดยสารขาเข้าชั้น 2
    - สนามบินฮาเนดะ อาคารผู้โดยสาร 1 และ 2, อาคารเทียบเครื่องบินผู้โดยสารขาออก
    - สนามบินนาริตะ อาคารผู้โดยสารทั้งหมด, ป้ายดิจิทัลต่าง ๆ
    *สถานที่จัดแสดงผลงานวิดีโอในสนามบินฮาเนดะอยู่ในบริเวณจุดตรวจรักษาความปลอดภัย
  • ค่าเข้าชม: ไม่คิดค่าเข้าชม
  • ธีม: VISION GATE
  • ภัณฑารักษ์: Paola ANTONELLI

ภัณฑารักษ์: Paola ANTONELLI ภาพโดย Marton Perlaki
ภัณฑารักษ์: Paola ANTONELLI ภาพโดย Marton Perlaki

Paola ANTONELLI ดำรงตำแหน่งภัณฑารักษ์อาวุโสด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ณ พิพิธภัณฑ์ Museum of Modern Art ในนิวยอร์ก และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ MoMA โดยงานของเธอครอบคลุมการค้นคว้าผลพวงของการออกแบบที่มีต่อประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งบ่อยครั้งรวมถึงวัตถุและวิธีปฏิบัติที่ถูกมองข้าม ตลอดจนการผสมผสานการออกแบบ สถาปัตยกรรม ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

หลังจากนิทรรศการ XXII Triennale di Milano, Broken Nature ในปี 2562 ซึ่งอุทิศให้กับแนวคิดการออกแบบเพื่อการบูรณะ เธอก็ได้รับหน้าที่ดูแลนิทรรศการ Material Ecology ของ MoMA ซึ่งเป็นผลงานของสถาปนิก Neri OXMAN นอกจากนี้ เธอยังมีอินสตราแกรม @design.emergency ที่ทำร่วมกับนักวิจารณ์การออกแบบ Alice RAWSTHORN เพื่อสำรวจบทบาทของการออกแบบในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน

  • ชื่อผลงานและศิลปิน (ตามลำดับตัวอักษร)
    [ผลงานศิลปะจัดวาง] Crowd Cloud โดย SUZUKI Yuri และ HOSOI Miyu

หัวใจหลักของงานศิลปะชินนี้คือเสียงของมนุษย์ โดยศิลปินได้กลั่นเสียงของภาษาญี่ปุ่นเพื่อสร้างองค์ประกอบและประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งเสียงนั้นสะท้อนมาจากการประสานเสียงของฮอร์นนับสิบตัว ประหนึ่งผู้คนที่กำลังรอคอยเพื่อนและญาติในอาคารผู้โดยสารของสนามบินนั่นเอง

SUZUKI Yuri เป็นศิลปินและนักออกแบบผู้แสวงหาความเป็นไปได้ของเสียงและดนตรีจากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน นับตั้งแต่ปี 2561 เขาได้เป็นหุ้นส่วนของ Pentagram บริษัทที่ปรึกษาอิสระรายใหญ่ที่สุดในโลก ผลงานสร้างสรรค์ของเขาครอบคลุมทั้งด้านการออกแบบ ดนตรี และศิลปะ โดยมีผลงานตั้งแต่งานศิลปะสาธารณะ ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงอัตลักษณ์และองค์ประกอบด้านเสียง ผลงานของเขาได้รับการยอมรับด้วยรางวัลมากมายในอุตสาหกรรม และถูกนำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ระดับนานาชาติมากมาย เช่น Museum of Design Museum London, Israel Museum และ Museum of Modern Art ในนิวยอร์ก

HOSOI Miyu เป็นศิลปินด้านดนตรีและเสียงซึ่งเกิดในปี 2536 เธอมีความกระตือรือร้นในการนำศิลปะหลายแขนงมาสร้างสรรค์ศิลปะจัดวางเพื่อสร้างการตระหนักรู้ถึงเสียงรอบข้าง โดยใช้ระบบเสียงหลายช่องในการผลิตผลงานศิลปะ เธอเป็นที่รู้จักจากผลงานการพากย์เสียงด้วยตัวเอง โดยผลงานสร้างชื่อ "Lenna" บนช่อง 22.2 ได้ถูกนำเสนอในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึง NTT InterCommunication Center [ICC] Anechoic Room, Yamaguchi Center for Arts and Media [YCAM], Tokyo Metropolitan Theatre Concert Hall และ Audio Engineering Society ทั้งนี้ เธอคว้ารางวัล New Face Award สาขา Art Division ในงาน Japan Media Arts Festival ครั้งที่ 23

[ผลงานวิดีโอ] ผลงานวิดีโอ 6 รายการ โดยศิลปิน 6 กลุ่ม นำนักเดินทางไปรู้จักกับวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่มีความหลากหลายและผสมผสานกันอย่างลงตัว

Theme Park Tokyo โดย acky bright

ผลงานนี้นำผู้ชมร่วมสำรวจเมืองโตเกียวด้วยม้วนภาพแบบโบราณและมังงะร่วมสมัย

acky bright เป็นนักวาดภาพประกอบและศิลปินมังงะ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากงานศิลปะลายเส้นขาวดำ เขามีผู้ติดตามมากมายในต่างประเทศ ด้วยสไตล์อันเป็นเอกลักษณ์ที่ผสมผสานอนิเมะ-มังงะญี่ปุ่นยุค 80 และ 90 และมุมมองสมัยใหม่ ผลงานจำนวนมากได้รับการเผยแพร่ในชื่อ "Doodle" ผ่านโซเชียลมีเดียและงานวาดภาพสด ผลงานมังงะเรื่องใหม่ของเขา "Shin Henkei Shojo (New Transformer Girls)" (DLE) กำลังเผยแพร่ผ่านทางออนไลน์ในขณะนี้

Hitoshobu (One Shot) โดย Jun Inoue

ผลงานนี้แสดงงานวาดสดของศิลปินและธรรมชาติของอักษรวิจิตร (Calligraphy)

ศิลปินแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณที่ละเอียดอ่อนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของญี่ปุ่น ผ่านลายเส้นเพื่อสร้าง "สเปซ" ที่เป็นเอกลักษณ์ เขาผสานแนวคิดสมัยใหม่เข้ากับจิตวิญญาณดั้งเดิมเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของผู้ชม การเชื่อมโลกแห่งแฟชั่นและดนตรีเข้าด้วยกันทำให้ผลงานของเขาถูกนำไปจัดแสดงในสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งได้นำเสนอผลงานศิลปะและแสดงการวาดภาพสด เขาจัดนิทรรศการส่วนตัวมากมายทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ เช่น เมลเบิร์นและปารีส

Gravity Garden โดย KODAMA Sachiko

ผลงานนี้สร้างสรรค์โดยใช้แม่เหล็กเหลวเรืองแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน เพื่อแสดงภาพสวนญี่ปุ่นผ่านพลังงานแม่เหล็กและแรงโน้มถ่วง

หลังจบการศึกษาจาก School of Science แห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด เธอได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านศิลปะที่ Graduate School of Art and Design แห่งมหาวิทยาลัยสึคุบะ นับตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา เธอได้กลายเป็นผู้บุกเบิกการใช้แม่เหล็กเหลวในงานศิลปะ โดยผลงานเด่นอย่าง "Protrude, Flow" (ได้รับการคัดเลือกโดย SIGGRAPH Art Gallery ในปี 2544) ได้รับรางวัล Grand Prize สาขา Digital Art (Interactive Art) Division ในงาน Japan Media Arts Festival ครั้งที่ 5 นอกจากนี้ ผลงานศิลปะของเธอยังถูกนำไปจัดแสดงในกว่า 20 ประเทศ ทั้งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ แกลเลอรี พื้นที่สาธารณะ และบ้านส่วนตัว เธอไม่เพียงสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อวงการศิลปะและการออกแบบเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสาขาที่เกี่ยวข้องอีกมากมายด้วย

TSUGI โดย PARTY

ผลงานนี้นำเสนอภาพพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ภูเขาน้ำแข็งอาร์กติกที่กำลังละลายเนื่องจากภาวะโลกร้อน และป่าไม้ที่ถูกไฟป่าเผาไหม้ ในมุมมองที่เปี่ยมด้วยความหวังภายใต้แนวคิด "คินสึงิ" หรือการซ่อมแซมและฟื้นฟูสิ่งที่พังทลายด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของมนุษยชาติ

PARTY คือกลุ่มครีเอทีฟที่ผสมผสานศิลปะ วิทยาศาสตร์ การออกแบบ และวิศวกรรมเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์สังคมแห่งอนาคต ผลงานที่โดดเด่นประกอบด้วยการออกแบบพื้นที่อาคารผู้โดยสาร 3 ของสนามบินนาริตะ รวมถึงการกำหนดแนวทางให้นิตยสาร "WIRED JAPAN" และการสร้างประสบการณ์ดนตรีเสมือนจริง "VARP" ผ่านการร่วมมือกับศิลปินมากมาย เช่น RADWIMPS และ kZm นอกจากนี้ PARTY ยังพัฒนาธุรกิจอื่น ๆ เช่น Stadium Experiment และ The Chain Museum

Day of a Full Moon โดย MOGI Monika

ผลงานนี้ผสมผสานความรักในทิวทัศน์ตามธรรมชาติของญี่ปุ่นที่ศิลปินมองว่าพิศวงและลึกลับ เข้ากับการชื่นชมความแข็งแกร่งและเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสตรี

MOGI Monika เกิดเมื่อปี 2535 เธอเป็นศิลปิน ผู้กำกับ รวมถึงช่างภาพที่เรียนรู้ด้วยตัวเองและเริ่มอาชีพตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นด้วยการถ่ายภาพลงนิตยสารศิลปะและแฟชั่น เช่น Vogue Japan, ArtReview, Numero Tokyo เป็นต้น เธอทำหน้าที่เป็นครีเอทีฟไดเรกเตอร์เบื้องหลังผลงานทั้งหมดของตัวเอง และเริ่มถ่ายทอดวัฒนธรรมโตเกียวซึ่งเป็นจุดเด่นในผลงานของเธอให้แก่เพื่อนฝูงและคนรุ่นใหม่ เธอเติบโตในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้สามารถถ่ายทอดมุมมองจากสองวัฒนธรรมได้อย่างไม่เหมือนใคร ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เธอได้เข้าร่วมนิทรรศการภาพถ่ายในโตเกียวและนิวยอร์ก ทั้งยังได้กำกับโฆษณาทีวีและแคมเปญแฟชั่นทั่วโลก สำหรับผลงานของเธอกับ Paola ANTONELLI เริ่มขึ้นในปี 2559 เมื่อเธอรับหน้าที่ถ่ายภาพเพื่อทำแคตตาล็อกของนิทรรศการ "ITEMS: Is Fashion Modern?" ของ MoMA

Kojiki – Amenomana i โดย MORI Mariko

สำหรับผลงานนี้ ศิลปินได้ถ่ายทอดฉากจาก "โคะจิกิ" ซึ่งเป็นบันทึกตำนานที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น โดยเปลี่ยนให้เป็นภาพที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร

นับตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของยุค 90 MORI Mariko ได้เข้าร่วมการจัดแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติในประเทศต่าง ๆ และจัดนิทรรศการส่วนตัวหลายครั้งตามพิพิธภัณฑ์ศิลปะ โดยผลงานศิลปะสาธารณะที่สำคัญของเธอประกอบด้วย "Sun Pillar" บนเกาะมิยาโกะจิมะ ในปี 2553 รวมถึง "Ring: One with Nature" ในโครงการวัฒนธรรมของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่นครริโอ ในปี 2559 และ "Cycloid V" ที่ทางเข้าอาคาร Toranomon Hills Business Tower นอกจากนี้ เธอยังได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมากมาย เช่น รางวัล Honorable Mention ในงาน Venice Biennale ครั้งที่ 47 เมื่อปี 2540 และรางวัล Promising Artist and Scholar in the Field of Contemporary Japanese Arts จากเวที Japan Arts Foundation Award ครั้งที่ 8 เมื่อปี 2544 ทั้งนี้ เธอได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จาก University of the Arts London ในปี 2557

เกี่ยวกับ CULTURE GATE to JAPAN

นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 สำนักวัฒนธรรมของรัฐบาลญี่ปุ่นได้เปิดตัวโครงการส่งเสริมวัฒนธรรม "CULTURE GATE to JAPAN" ซึ่งจัดขึ้นที่สนามบิน 7 แห่งทั่วญี่ปุ่น ร่วมถึงท่าเรือ Tokyo International Cruise Terminal โดยศิลปินและนักสร้างสรรค์มีเดียอาร์ตได้ร่วมกันจัดแสดงผลงานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวัฒนธรรมอันโดดเด่นของแต่ละท้องถิ่น เพื่อโปรโมทเสน่ห์อันหลากหลายของวัฒนธรรมญี่ปุ่น

การที่ไวรัสโคโรนาแพร่ระบาดไปทั่วโลกส่งผลให้การพบปะผู้คนและสัมผัสวัฒนธรรมใหม่กลายเป็นเรื่องที่ยากลำบาก อย่างไรก็ตาม โรคระบาดไม่ควรขัดขวางการแลกเปลี่ยนศิลปะ ไอเดีย และวัฒนธรรม เราหวังว่าโครงการนี้จะช่วยให้ผู้คนทั่วโลกรู้สึกตื่นตาตื่นใจและมีความสุขเหมือนกับที่รู้สึกเมื่อได้สัมผัสวัฒนธรรมใหม่

ผู้จัดงาน: สำนักวัฒนธรรมของรัฐบาลญี่ปุ่น
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ: https://culture-gate.jp/ 

สแกนเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ CULTURE GATE to JAPAN
สแกนเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ CULTURE GATE to JAPAN

โครงการประชาสัมพันธ์ "CULTURE GATE to JAPAN" บริหารจัดการโดยบริษัท wondertrunk & co. Inc.

Source: Agency for Cultural Affairs, Government of Japan CULTURE GATE to JAPAN Initiative
Keywords: Art Entertainment Travel Trade show news