เซี่ยงไฮ้, 7 มิถุนายน 2564 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ -- ที่งาน Huawei Intelligent Finance Summit 2021 หัวเว่ยได้เปิดตัวโซลูชัน NoF+ ช่วยให้เครือข่ายสตอเรจเชื่อมต่อผ่านอีเธอร์เน็ตโดยไม่มีการสูญเสียข้อมูล ด้วยการเร่งความเร็วในการจัดเก็บข้อมูลแบบ end-to-end โดยใช้ระบบสตอเรจแบบออลแฟลชอย่าง OceanStor Dorado และใช้ CloudEngine ซึ่งเป็นสวิตช์เครือข่ายสตอเรจสำหรับศูนย์ข้อมูล ช่วยปลดล็อกศักยภาพในการจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชได้อย่างเต็มที่ และกระตุ้นการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในวงการฟินเทค
Kevin Hu ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย และ Peter Zhou ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ไอทีของหัวเว่ย ร่วมกันเปิดตัวโซลูชัน NoF+
อุตสาหกรรมการเงินถือเป็นผู้นำแถวหน้าด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และกำลังเดินหน้าสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ครอบคลุมทุกช่องทาง Finance Everywhere จึงกลายเป็นตัวเร่งการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล รวมถึงเร่งผลักดันให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูล ซึ่งการจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลชก็ได้กลายเป็นเทรนด์แรงจนหยุดไม่อยู่ โดยตั้งแต่ปี 2018 การจัดส่งอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบออลแฟลช (SSD) ทั่วโลกได้แซงหน้าดิสก์แบบดั้งเดิม (HDD) ไปมาก เนื่องจากอุปกรณ์แบบออลแฟลชเพิ่มความเร็วในการอ่านและเขียนข้อมูลถึง 100 เท่า นอกจากนี้ เครือข่ายสตอเรจแบบ Fibre Channel (FC) ไม่สามารถตอบสนองการอ่าน/เขียนข้อมูลปริมาณมากได้พร้อมกันโดยใช้อินเทอร์เฟซ NVMe ทั้งแบนด์วิดท์และลาเทนซีกลายเป็นปัญหาคอขวดต่อประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูล ด้วยเหตุนี้ บรรดาผู้ให้บริการจัดเก็บข้อมูลจึงเรียกร้องให้มีเครือข่ายที่เร็วขึ้นและคุณภาพสูงขึ้น
เนื่องจากเทคโนโลยีอีเธอร์เน็ตได้พัฒนาขึ้น รวมถึงอีเธอร์เน็ตแบบไม่สูญเสียข้อมูลซึ่งช่วยแก้ปัญหาประสิทธิภาพการจัดเก็บข้อมูลที่มีความผันผวนอันเนื่องมาจากการสูญเสียแพ็กเก็ต และที่สำคัญกว่านั้นคือ ประสิทธิภาพของอีเธอร์เน็ต 25/40/100G นั้นสูงกว่าของ 32G FC มาก ทำให้อีเธอร์เน็ตแบบไม่สูญเสียข้อมูลเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนาเครือข่ายสตอเรจในยุคออลแฟลช โดยผู้ให้บริการเครือข่ายและลูกค้ากำลังรุกผลักดันระบบนิเวศเครือข่าย NVMe over Fabrics (NoF) ที่ใช้อีเธอร์เน็ตแบบไม่สูญเสียไปสู่ระดับถัดไป
การเปิดตัวโซลูชัน NoF+ รุ่นใหม่ของหัวเว่ย สอดคล้องกับเทรนด์ all-flash และ all-IP ของระบบจัดเก็บข้อมูลในศูนย์ข้อมูล โดดเด่นด้วยคุณสมบัติต่าง ๆ ได้แก่ การเชื่อมต่ออีเธอร์เน็ตโดยไม่สูญเสียข้อมูล การรับรู้ และการทำงานร่วมกัน โซลูชันนี้จึงเอาชนะความท้าทายในเรื่องการสูญเสียแพ็กเก็ตของอีเธอร์เน็ตแบบเดิม ทำให้ได้ประสิทธิภาพสูง ความน่าเชื่อถือสูง และ O&M ที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
· อัลกอริทึมอัจฉริยะเพิ่ม IOPS สูงขึ้น 87%: การสูญเสียแพ็กเก็ตเกิดขึ้นบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแบบดั้งเดิม โดยการสูญเสียแพ็กเก็ต 0.1% จะลดพลังการประมวลผลของศูนย์ข้อมูลลง 50% อย่างไรก็ดี โซลูชัน NoF+ ของหัวเว่ยมีอัลกอริทึม iLossless ที่ทำให้การสูญเสียแพ็กเก็ตเป็นศูนย์ด้วยอัตราการส่งข้อมูล 100% ในเครือข่ายสตอเรจ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับการเชื่อมต่อแบบ FC พบว่าอัลกอรีทึมอัจฉริยะนี้ช่วยให้ IOPS เพิ่มขึ้นถึง 87% และลาเทนซีลดลง 42% ในสถานการณ์การเชื่อมต่อภายในเมือง นอกจากนี้ โซลูชันนี้ใช้ลิงก์ 100GE สำหรับการส่งข้อมูลแบบไม่สูญเสียข้อมูลเป็นระยะทาง 70 กม. ซึ่งช่วยลดการเชื่อมต่อแบบ cross-DC ลง 90% เมื่อเทียบกับการเชื่อมต่อแบบ FC
· การตรวจจับความผิดปกติเชิงรุกและทำเฟลโอเวอร์ภายในหนึ่งวินาที: เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบดั้งเดิมขาดกลไกการตรวจจับความผิดปกติและการแจ้งเตือนในเชิงรุก เมื่อเกิดข้อผิดพลาด การทำเฟลโอเวอร์เพื่อกลับมาเชื่อมต่อจะใช้เวลานาน ทำให้บริการจัดเก็บข้อมูลต้องหยุดชะงัก อย่างไรก็ดี โซลูชัน NoF+ มีความสามารถในการรับรู้อย่างชาญฉลาด ซึ่งหมายความว่าสวิตช์สามารถรายงานข้อผิดพลาดในเชิงรุกได้ภายในระดับมิลลิวินาที และ ทำงานร่วมกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเพื่อทำการเฟลโอเวอร์ภายในหนึ่งวินาที โดยไม่ส่งผลกระทบต่อบริการจัดเก็บข้อมูลเมื่อเกิดความล้มเหลวเพียงจุดในเครือข่าย
· การขยายความจุในการจัดเก็บข้อมูลแบบแบบพลักแอนด์เพลย์ในคลิกเดียว: ในการจัดเก็บข้อมูลนั้น เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแบบเดิมจำเป็นต้องกำหนดค่าแบบแมนนวลทีละโหนด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย อย่างไรก็ดี โซลูชัน NoF+ ใช้การทำงานร่วมกันอย่างชาญฉลาดระหว่างอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลกับสวิตช์ และรองรับการขยายความจุของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพลักแอนด์เพลย์ในคลิกเดียว ทำให้สามารถเปลี่ยนแปลงบริการด้วยการซิงโครไนซ์กับเครือข่ายทั้งหมดโดยอัตโนมัติหลังตั้งค่าไว้ที่จุดเดียว ซึ่งช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการส่งมอบบริการได้อย่างมาก
ปัจจุบันได้มีการร่วมกันคิดค้นโซลูชัน NoF+ และนำไปใช้งานเชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การเงิน ผู้ให้บริการขนส่ง และอื่นๆ โซลูชันนี้ใช้ประโยชน์จาก million-level IOPS ของการจัดเก็บข้อมูลแบบออลแฟลช และเป็นไปตามข้อกำหนดการพัฒนาอุตสาหกรรมการเงินในระดับเพตะไบต์ สำหรับในอนาคต หัวเว่ยจะยังคงยึดมั่นในกลยุทธ์ทางธุรกิจที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติด้านเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูลใหม่และปรับปรุงที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะทำให้หัวเว่ยก้าวขึ้นเป็นผู้นำการใช้นวัตกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ ของอุตสาหกรรม และทำให้หัวเว่ยเป็นจุดแรกในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำหรับองค์กรธุรกิจ