omniture

CGTN: นักบินอวกาศจีนโทรทางไกลกลับมายังโลกเป็นครั้งแรก

CGTN
2021-06-24 15:40 163

ปักกิ่ง--24 มิถุนายน 2564--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

สามนักบินอวกาศจีนที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในสถานีอวกาศของจีนตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน ได้โทรทางไกลติดต่อกลับมายังโลกเป็นครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ผ่านมา

นักบินอวกาศทั้งสามซึ่งประกอบด้วย เนี่ย ไห่เฉิง (56 ปี), หลิว ป๋อหมิง (54 ปี) และ ถัง หงป๋อ (45 ปี) กำลังประจำอยู่ในโมดูลหลัก "เทียนเหอ" ซึ่งโคจรรอบโลกที่ระดับความสูงราว 380 กิโลเมตร โดยเป็นการส่งมนุษย์ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศยาวนานที่สุดของจีน และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2559

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้กล่าวทักทายนักบินอวกาศทั้งสามผ่านวิดีโอลิงก์ พร้อมแสดงความยินดีกับความสำเร็จในการเข้าสู่สถานีอวกาศ และกล่าวขอบคุณทั้งสามคนด้วย

"ชีวิตที่นั่นเป็นอย่างไรบ้าง" นายสี จิ้นผิง ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและประธานคณะกรรมาธิการทหารกลาง สอบถามนักบินอวกาศทั้งสามเรื่องสุขภาพ การใช้ชีวิต และการทำงาน โดยเท้าของทั้งสามถูกยึดอยู่กับพื้นชั่วคราวในระหว่างการพูดคุย เพื่อไม่ให้ล่องลอยภายใต้สภาพไร้แรงโน้มถ่วงในอวกาศ

"ขอบพระคุณที่ท่านเป็นห่วง สภาพร่างกายของเราดีเยี่ยม และการทำงานในอวกาศก็เป็นไปอย่างราบรื่น" เนี่ย ไห่เฉิง หัวหน้าภารกิจในครั้งนี้ กล่าว

สี จิ้นผิง ชื่นชมภารกิจอวกาศของจีน

"การสร้างสถานีอวกาศถือเป็นหลักชัยสำคัญด้านอวกาศของจีน" นายสี จิ้นผิง กล่าว

"ความสำเร็จนี้จะเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการใช้ประโยชน์จากอวกาศอย่างสันติ พวกคุณคือตัวแทนของนักสู้มากมายในยุคใหม่ด้านอวกาศของจีน"  

จนถึงตอนนี้ นักบินอวกาศจีนปฏิบัติภารกิจในอวกาศนานที่สุด 33 วัน

"ในภารกิจครั้งก่อน ๆ เราส่งน้ำและออกซิเจนไปยังอวกาศพร้อมกับนักบินอวกาศ แต่สำหรับภารกิจอวกาศนาน 3-6 เดือน การขนน้ำและออกซิเจนจะทำให้ไม่เหลือที่ว่างบรรทุกสิ่งของจำเป็นอื่น ๆ เราจึงต้องติดตั้งระบบพยุงชีพใหม่ในโมดูหลัก เพื่อทำการรีไซเคิลน้ำปัสสาวะ ลมหายใจออก และคาร์บอนไดออกไซด์" ไป่ หลินโหว รองหัวหน้าฝ่ายออกแบบสถานีอวกาศของสถาบันเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน (China Academy of Space Technology: CAST) ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวก่อนหน้านี้

โมดูลหลักเทียนเหอซึ่งสามนักบินอวกาศประจำการอยู่นั้น มีความยาวรวม 16.6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางสูงสุด 4.2 เมตร และมวลขณะปล่อยตัว 22.5 ตัน นับเป็นยานอวกาศขนาดใหญ่ที่สุดที่พัฒนาและปล่อยสู่อวกาศโดยจีน  

โมดูลหลักเทียนเหอช่วยให้วิศวกรอวกาศของจีนได้ทดสอบเทคโนโลยีสำคัญหลายอย่าง เช่น ปีกพลังงานแสงอาทิตย์แบบยืดหยุ่นได้ การประกอบและบำรุงรักษาในวงโคจร และระบบพยุงชีวิตแบบใหม่

จีนทำภารกิจอวกาศ 5 ครั้งในปีนี้ และมีแผนว่าจะทำอีก 6 ครั้ง ได้แก่ การปล่อยโมดูลห้องปฏิบัติการเหวินเทียนและเมิ่งเทียน ยานบรรทุกสินค้าสองลำ และยานอวกาศพร้อมนักบินอวกาศสองลำ ในปี 2565 เพื่อสร้างสถานีอวกาศให้เสร็จสมบูรณ์

เจ้าหน้าที่จีนกล่าวว่า สถานีอวกาศแห่งใหม่นี้ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อคนจีนเท่านั้น แต่เปิดรับคนทั่วโลก

เหา ชุน ผู้อำนวยการสำนักงานด้านวิศวกรรมอวกาศของจีน (China Manned Space Engineering Office) ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ CGTN ว่า สถานีอวกาศของจีนเปิดรับนักบินอวกาศต่างชาติและความร่วมมือด้านการทดลองทางวิทยาศาสตร์ระดับโลก

https://news.cgtn.com/news/2021-06-23/Xi-Jinping-visits-Beijing-Aerospace-Control-Center-11jWnGtdHDW/index.html

Source: CGTN
Related Links:
Keywords: Computer/Electronics Multimedia/Online/Internet Publishing/Information Service
Related News