ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์--20 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
คณะกรรมาธิการเครือข่ายบรอดแบนด์สหประชาชาติ (UN Broadband Commission) และหัวเว่ย ร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดฉากการประชุม Ultra-Broadband Forum ครั้งที่ 7 (UBBF 2021) ในวันที่ 19 ต.ค. ในฐานะการประชุมสุดยอดด้านเครือข่ายเฉพาะที่ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปีนี้ UBBF จะมุ่งเน้นไปในธีม "ขยายการเชื่อมต่อ ขับเคลื่อนการเติบโต" ภายในงานนี้ ผู้ประกอบการและผู้จำหน่ายอุปกรณ์ชั้นนำระดับโลกได้มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในหัวข้อต่าง ๆ รวมถึงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย เศรษฐกิจดิจิทัลระดับภูมิภาค การประยุกต์ใช้โซลูชันที่ประสบความสำเร็จ และการขยายพื้นที่การเติบโตของอุตสาหกรรม ตลอดจนแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและหารือถึงวิธีการกระชับความร่วมมือทางธุรกิจ
Ryan Ding กรรมการบริหารและประธานของ Carrier Business Group ในเครือบริษัทหัวเว่ย ขึ้นกล่าวในงาน UBBF 2021
UBBF ปีนี้จัดขึ้นเป็นเวลาสองวัน โดยมีการกล่าวปาฐกถาพิเศษและเซสชันการประชุมต่างๆ ที่เน้นด้านเครือข่ายเฉพาะที่ และมีผู้เชี่ยวชาญจากรัฐบาล องค์กร ผู้ประกอบการและสถาบันการศึกษามาร่วมกันหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของการพัฒนาเครือข่ายอัลตร้าบรอดแบนด์ ตลอดจนความท้าทายใหม่ ๆ ที่อุตสาหกรรมกำลังเผชิญ พร้อมแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและเรื่องราวความสำเร็จที่เกี่ยวข้อง
"การเชื่อมต่อเป็นมากกว่าแค่การขยายฟังก์ชัน ที่สำคัญกว่านั้นคือความผูกพันทางอารมณ์ เป็นเวลามากว่า 170 ปีแล้วที่เคเบิลใต้น้ำถูกติดตั้งเป็นครั้งแรก ซึ่งเปิดทางสู่การสื่อสารข้ามมหาสมุทรครั้งแรก นี่ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับมนุษยชาติ โดยประมาณ 20 ปีที่แล้ว ความเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ทะลุ 32 Kbps ทำให้การส่งข้อมูลในรูปแบบวิดีโอได้รับความสนใจมากกว่าข้อความ และก้าวขึ้นมาเป็นรูปแบบการรับส่งข้อมูลหลัก ซึ่งเปิดทางให้เราสามารถสื่อสารกันได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน" Ryan Ding กรรมการบริหารและประธานของ Carrier Business Group ในเครือบริษัทหัวเว่ยกล่าวสุนทรพจน์ โดยเขาเสริมว่า การเชื่อมต่อ "ทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ที่ดีกว่าเดิม"
สังคมเป็นผู้กำหนดคุณค่าของการเชื่อมต่อในรูปแบบใหม่ และการพัฒนาอุตสาหกรรมก็กำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ Peng Song ประธานฝ่าย Global Carrier Marketing & Solution Sales Dept ของหัวเว่ย ได้ให้คำจำกัดความและอธิบายรายละเอียดของโมเดล Coverage/Architecture/Fusion (C.A.F) ของหัวเว่ย โดยเน้นย้ำว่า การเชื่อมต่อควรกระจายตัวไปในทุกครัวเรือนและทุกองค์กร และต้องผสานกับระบบคลาวด์เพื่อ "ตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต" พร้อมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของการเชื่อมต่อ โดยยึดโมเดล C.A.F เป็นกุญแจสู่การเติบโตใหม่
- ความครอบคลุม: การขยายการเชื่อมต่อไปในแต่ละห้องจะช่วยยกระดับคุณค่าของบรอดแบนด์ภายในบ้านได้อย่างมาก โดยความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตในบ้านและสำนักงานที่เปลี่ยนไปนั้นส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องขยายการเชื่อมต่อในทุกห้อง ทุกอุปกรณ์ และทุกระบบผลิตภัณฑ์ขององค์กร และต้องปรับเปลี่ยนจากการใช้งาน Private Line ให้เป็น Private Network เมื่อสร้างความครอบคลุมของเครือข่ายที่มากขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อ พร้อมเพิ่มระยะเวลาที่ผู้ใช้งานเยี่ยมชมบนเว็บไซต์ ซึ่งท้ายที่สุดจะช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้น
- สถาปัตยกรรม: สถาปัตยกรรมเครือข่ายถือเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและอนาคต สถาปัตยกรรมใหม่ที่มุ่งเน้นอนาคตจะต้องมีเครือข่าย Elastic Network มากขึ้น รวมถึงบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมี OPEX ระดับต่ำ หัวเว่ยจะเดินหน้าค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ อาทิ OXC, SRv6, และ ADN เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับรากฐานของสถาปัตยกรรม
- การผสานผนวกรวม: การเชื่อมต่อจะนำมาซึ่งโอกาสอันยิ่งใหญ่ การสร้างศักยภาพในการแข่งขันโดยยึดแบบจำลอง C.A.F เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ให้บริการ ทั้งนี้ การพลิกโฉมสู่ดิจิทัล (Digitalization) เป็นโอกาสที่ใหญ่ที่สุดสำหรับอุตสาหกรรม ICT ซึ่งได้วิวัฒนาการจากแนวคิดสู่การปฏิบัติจริง ปฏิเสธไม่ได้ว่าคลาวด์เป็นแกนหลักของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล แต่การเชื่อมต่อก็มีบทบาทที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากไม่มีการเชื่อมต่อ "คลาวด์จะกลายเป็นเพียงเกาะข้อมูลขนาดใหญ่" ทั้งนี้ Peng ระบุว่า "กรผสมผสาน" มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากการเชื่อมต่อจะต้องใช้คลาวด์เป็นศูนย์กลาง และช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถโยกย้ายไปยังคลาวด์ได้ เราควรต้องผสานรวมการเชื่อมต่อเข้ากับคลาวด์ ซึ่งผู้ประกอบการมีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้เป็นอย่างมาก
Kevin Hu ประธานกลุ่ม Data Communication Product Line ของหัวเว่ยอธิบายว่า การพลิกโฉมสู่ดิจิทัลแม้จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความท้าทายอย่างมากต่อเครือข่ายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น เนื่องจากพื้นที่ภายในห้องอุปกรณ์ CO มีจำกัด จึงเป็นเรื่องยากที่โหนดที่มีอยู่จะประมวลผลบริการได้อย่างครอบคลุม นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข้อมูลและเครือข่ายคงที่ยังทำให้การกำหนดการรับส่งข้อมูลระหว่าง DC อย่างยืดหยุ่นเป็นเรื่องยาก การให้บริการแบบไฮบริดของเครือข่ายที่มีอยู่นั้นไม่พร้อมที่จะตอบสนองความต้องการบริการที่แตกต่างกันในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านเครือข่ายที่ลูกค้าต้องเผชิญในระหว่างการเปลี่ยนโฉมสู่ดิจิทัล หัวเว่ยจึงได้เปิดตัวโซลูชันเครือข่ายคลาวด์อัจฉริยะที่มาพร้อมกับความสามารถ 4 ด้าน ได้แก่ CO ที่มีความครอบคลุมทุกบริการ, การแบ่งเครือข่ายระดับผู้เช่า, ความสามารถในการโปรแกรมเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วย SRv6 และการบูรณาการเครือข่ายคลาวด์ โซลูชันนี้จะช่วยเพิ่มพูนมูลค่าของทรัพยากรของเครือข่ายผู้ประกอบการขึ้นสู่ระดับสูงสุด และช่วยเสริมระบบคลาวด์และเครือข่าย ช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างสถาปัตยกรรมบริการ DICT ที่มีการบูรณาการเครือข่ายคลาวด์
ในการประชุมครั้งนี้ Kevin Hu ยังได้แนะนำเราเตอร์อัจฉริยะซีรีส์ NetEngine ที่เหมาะสำหรับทุกสถานการณ์ โดยช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างเครือข่ายคลาวด์อัจฉริยะในยุคดิจิทัล อุปกรณ์เหล่านี้รวมถึงเราเตอร์การเข้าถึงระบบคลาวด์อัจฉริยะ (ซีรีส์ NetEngine A800), เราเตอร์ที่ครอบคลุมทุกบริการ (ซีรีส์ NetEngine 8000 M) และเราเตอร์แกนหลักอัจฉริยะ (NetEngine 8000 X16)
ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการทั่วโลกกำลังเพิ่มการลงทุนในใยแก้วนำแสงอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับปรุงคุณภาพบรอดแบนด์ และพัฒนาบริการต่าง ๆ เช่น Private Line ระดับพรีเมียม FTTR และ OTN เพื่อเพิ่มรายได้จากเครือข่ายเฉพาะที่ ในฐานะองค์ประกอบพื้นฐานของเมืองสีเขียวและเมืองอัจฉริยะ เครือข่ายเป้าหมายแบบออปติคัลทั้งหมดจึงค่อย ๆ กลายเป็นฉันทามติของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการสร้างเครือข่ายเป้าหมายแบบออปติคัลทั้งหมดสำหรับเมืองอัจฉริยะ ผู้ประกอบการยังคงประสบปัญหาหลายด้าน เช่น ต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง การจัดเตรียมบริการที่ล่าช้า และการจัดการการก่อสร้าง FTTH ODN ที่ยากลำบาก นอกจากนี้ การปรับใช้อุปกรณ์ วิวัฒนาการของเครือข่าย และการพัฒนาบริการใหม่ยังคงมีสถานการณ์ที่น่ากังวล
ในการประชุมครั้งนี้ Bill Wang รองประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ออปติคัลของหัวเว่ย กล่าวว่า "เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ หัวเว่ยได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ซีรีส์ Digital QuickODN (DQ ODN) และ Edge OTN ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างเครือข่ายเป้าหมายแบบออปติคัลที่สามารถมองเห็นได้และจัดการได้ตั้งแต่ต้นจนจบอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังลดต้นทุน O&M ของอย่างมาก และมอบความเร็วสูงสู่โลกดิจิทัลสำหรับอุตสาหกรรมและครัวเรือนต่าง ๆ โซลูชันนี้สามารถช่วยผู้ประกอบการขยายตลาดองค์กร ยกระดับประสบการณ์บรอดแบนด์ในบ้าน พร้อมลดต้นทุน และเพิ่มรายได้
ภายในการประชุม เหล่าวิทยากรที่มีชื่อเสียงได้ร่วมกล่าวปาฐกถาพิเศษและแบ่งปันข้อมูลเชิงลึก รวมถึงกรณีการใช้งานโซลูชันและผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ยที่ประสบความสำเร็จในโดเมนเครือข่ายเฉพาะที่ ซึ่งได้แก่ Doreen Bogdan-Martin (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาโทรคมนาคมของ ITU), Bocar A. BA (ประธานกรรมการบริหารของ ITU) SAMENA Telecommunications Council), Ricardo Varzielas (ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของ MTN GlobalConnect), Per Morten Torvildsen (ประธานคณะกรรมการ GlobalConnect), Bader Abdullah Allhieb (รองประธานฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานของ STC), Alaa A. Malki (ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของ Mobily Etihad Etisalat) และ Waqar Mahmood (ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีของคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งปากีสถาน)
ในปี 2557 หัวเว่ยได้เปิดตัว Ultra-Broadband Forum (UBBF) ร่วมกับคณะกรรมการบอร์ดแบน (ก่อตั้งร่วมกันโดย ITU และ UNESCO) และผู้ประกอบการระดับแนวหน้า เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมเครือข่ายเฉพาะที่แบบบรอดแบนด์ทั่วโลกอย่างยั่งยืน การประชุมนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีการสนทนาระดับสูงที่เน้นการแบ่งปันประสบการณ์ด้านอัลตร้าบรอดแบนด์ ความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม และการส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้งหมด เพื่อปลดปล่อยศักยภาพของผู้ให้บริการอัลตร้าบรอดแบนด์และเป็นผลประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และผู้ให้บริการเนื้อหา
UBBF ประสบความสำเร็จในการจัดงานทุกปีตั้งแต่เริ่มเปิดตัวในปี 2557 และกลายเป็นอีเวนท์สำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอัลตร้าบรอดแบนด์
https://www.huawei.com/minisite/ubbf/en