ปักกิ่ง—8 พ.ย.—พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
รายงานโดย CRIOnline
นับถอยหลังสู่การเปิดใช้งานทางรถไฟจีน-ลาว โครงการอันเป็นสัญลักษณ์ภายใต้ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative ของจีน ทั้งยังเป็นสักขีพยานที่สะท้อนถึงมิตรภาพอันแน่นแฟ้นระหว่างทั้งสองประเทศ ในโอกาสนี้ Power Construction Corporation of China (PowerChina) มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ลาวเปิดใช้งานรางรถไฟความเร็วสูงให้ได้ภายในปลายปี 2564 โดยได้เข้ามาจัดการกับปัญหาท้าทายมากมายที่พบในการก่อสร้างโครงสร้างไฟฟ้าพื้นฐานของโครงการดังกล่าวตลอดเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นความซับซ้อนทางธรณีวิทยา จำนวนอุโมงค์ และภัยเสี่ยงต่าง ๆ ในจุดก่อสร้าง ความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสร้างโครงการทางรถไฟสาธิตระหว่างจีนกับต่างชาติ ด้วยการส่งเสริมฝีมือในการก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์แต่ละส่วน โดยอุโมงค์ล่าเหมิงซาน (Lamengshan) เป็นหนึ่งในหกอุโมงค์ตลอดแนวทางรถไฟที่ PowerChina มีส่วนในการขุด และเป็นส่วนสำคัญของโครงการดังกล่าว ซึ่งเจาะอุโมงค์ทะลุถึงกันทั้งหมดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา นับเป็นการวางรากฐานในการวางรางรถไฟของโครงการนี้
PowerChina ดำเนินงานตามปรัชญาที่มุ่งเน้นความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ โดยได้ทุ่มเททำงานในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว รัฐวิสาหกิจจีนที่บริหารงานจากส่วนกลางแห่งนี้ ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่าง ๆ ทั่วเอเชียแปซิฟิก ด้วยการมีส่วนร่วมในโครงการสำคัญทั่วภูมิภาค ซึ่งทำให้จีนมีภาพลักษณ์เป็นประเทศที่มุ่งแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับสากล
ผลงานสำคัญของ PowerChina คือโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับ Xiamen University Malaysia (XMUM) ซึ่งเป็นวิทยาเขตในต่างประเทศแห่งแรกของมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน วิทยาเขตดังกล่าวตั้งอยู่ในเมืองซาลัค ติงกึ รัฐสลังงอร์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 45 กิโลเมตร โครงการนี้ได้เริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2557 และได้รับการรับรอง Certificate of Completion and Compliance (CCC) จากรัฐบาลมาเลเซียเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 หลังจากที่ได้วางเสาเข็มเป็นอันแล้วเสร็จ (1 เดือน) สร้างโครงสร้างหลักเป็นอันแล้วเสร็จ (8 เดือน) รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์และทดสอบระบบวิศวกรรมเป็นอันแล้วเสร็จ (10 เดือน) สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นศักยภาพอันเทียบชั้นได้ยากของทางบริษัท ในการส่งมอบโครงการพัฒนาโครงสร้างไฟฟ้าพื้นฐานในมาเลเซียในเวลาที่เร็วเช่นนี้ และที่สำคัญยิ่ง โครงการดังกล่าวได้รับคำชื่นชมอย่างล้นหลามทั้งในจีนและมาเลเซีย จนคว้ารางวัลอันเป็นเกียรติยศสูงสุดในแง่คุณภาพโครงการในแวดวงวิศวกรรมการก่อสร้างของจีนอย่าง Luban Prize มาได้ในปี 2563
นอกจากนี้ โครงการ Dau Tieng Photovoltaic Solar Power Project ในเวียดนาม ซึ่งเป็นโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ PowerChina เคยทำมาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคว้ารางวัล Asian Power Award ประจำปี 2562 มาครองด้วย โครงการระดับรางวัลนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้บริษัทกลายเป็นผู้นำเพียงเท่านั้น แต่ยังทำให้เป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ตลาดพลังงานหมุนเวียนของเวียดนามเติบโตอย่างรวดเร็วอีกด้วย
ติดต่อ: Zhao Junpeng, +86-10-68892980, zhaojunpeng@cri.cn