omniture

ลาซาด้าเผยผลสำรวจ ผู้ขายออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีมุมมองบวก พร้อมรับการค้าปลีกยุคใหม่แบบ Omni Channel

Lazada Group
2022-01-27 10:53 213

ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซของลาซาด้า เผยว่าผู้ขายยังคงมีความเชื่อมั่นในระดับสูงตลอดปี 2021
ส่งสัญญาณถึงการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอมเมิร์ซในปีนี้

ดูอินโฟกราฟิกได้ที่นี่

สิงคโปร์--27 มกราคม 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

จากรายงานดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซของลาซาด้า (Digital Commerce Confidence Index: DCCI) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ระบุว่า ผู้ขายสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังปรับตัวสู่ยุคใหม่ของการค้าปลีกแบบออมนิแชนเนล แม้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีจะมีการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ส่งผลให้ผู้คนเดินทางมากขึ้น[1] และกลับมาเลือกซื้อสินค้าที่หน้าร้านมากขึ้นก็ตาม แต่เกือบครึ่ง (47%) ของผู้ขายสินค้าออนไลน์ กล่าวว่าร้านค้าของพวกเขามียอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ในช่วงเวลาดังกล่าว


"ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2021 เราสังเกตเห็นว่าผู้คนใช้เวลาอยู่บ้านน้อยลง แล้วไปร้านค้าและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจมากขึ้น จากเทรนด์ดังกล่าว หากมองเทียบกับความสำเร็จจากเทศกาลช้อปปิ้งออนไลน์ส่งท้ายปีแล้ว จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาเลือกซื้อสินค้าผ่านหลากหลายช่องทางมากกว่าที่เคย ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ เพิ่มความคุ้มค่า และมอบความสะดวกสบาย" แม็กนัส เอ็คบอม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ของลาซาด้า กรุ๊ป กล่าว

นอกจากนี้ ผลการศึกษาฉบับที่ 3 นี้ยังสะท้อนว่าในช่วงการแพร่ระบาดและความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 นั้น ผู้ขายยังคงมีความมั่นใจตลอดปี 2021 และมีมุมมองเชิงบวกต่อยอดขายของพวกเขา โดย 70% ของผู้ตอบแบบสอบถามในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2021 คาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% ในไตรมาสถัดไป ตามด้วยสัดส่วนผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 76% ที่ระบุเช่นเดียวกันในไตรมาสที่ 3 และ 74% จากรายงานล่าสุดในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ซึ่งชี้ให้เห็นชัดเจนว่า แม้จะไม่มีเทศกาลช้อปปิ้งที่เป็นงานขนาดใหญ่ ผู้ขายสินค้าออนไลน์ก็ยังสามารถปรับตัวได้

รายงานฉบับล่าสุดนี้จัดทำขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 โดยมีผู้ขายสินค้าออนไลน์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ 1,126 ราย ซึ่งพบว่าผู้ขาย 76% จะเพิ่มสินค้าคงคลังอย่างน้อย 10% ในช่วงสามเดือนแรกของปี 2022

นอกจากนี้ จากการที่ผู้บริโภคค่อยๆ ปรับพฤติกรรมการช้อปปิ้งให้ครอบคลุมทั้งการเลือกซื้อสินค้าที่หน้าร้านและการช้อปปิ้งออนไลน์ เพื่อความสะดวกคุ้มค่า ผู้ขายสินค้าในหมวดหมู่ต่างๆ จึงมีมุมมองเชิงบวกต่อยอดขายที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้คนวัยทำงานส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้มีนโยบายการทำงานแบบไฮบริด คือผสมผสานทั้งแบบทำงานจากที่บ้านและแบบเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้ขายสินค้าหมวดหมู่แฟชั่น (75%) และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (73%) นั้นคาดการณ์ในทางบวกมากที่สุดว่ายอดขายของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้านี้

บรรดาธุรกิจต่างรู้ดีว่าต้องพยายามดึงดูดลูกค้าให้มาซื้อของออนไลน์มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องมั่นใจว่าสินค้ามีราคาที่แข่งขันกับตลาดได้ โดยผู้ขายหลายคนตระหนักถึงประโยชน์ของแพลตฟอร์มออนไลน์ในการดึงดูด รักษา และมีส่วนร่วมกับผู้บริโภคผ่านกลยุทธ์ใหม่ๆ เช่น การสร้างความบันเทิงในประสบการณ์การช้อปปิ้ง หรือที่เรียกว่า Shoppertainment ซึ่งสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้ขายช่วงปีที่ผ่านมา จากรายงานในไตรมาสที่ 4 ปี 2021 ที่ระบุว่า ผู้ขาย 59% ที่ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่าพวกเขาสามารถดึงดูดให้นักช้อปมาเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ได้มากขึ้น และ 54% กล่าวว่า การแข่งขันด้านราคาที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นโอกาสในการเติบโตสองอันดับแรกในไตรมาสที่ 1 ปี 2022

ชอง ฮิน อึ้ง ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอของ Asia Insight กล่าวว่า "ทุกวันนี้ พฤติกรรมการช้อปปิ้งของลูกค้า (customer shopping journey) ซับซ้อนกว่าเดิมมาก โดยมีการสลับไปมาระหว่างช่องทางออฟไลน์และออนไลน์มากขึ้น เทรนด์เดียวกันนี้เกิดขึ้นกับสินค้าทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการช้อปเครื่องสำอาง แฟชั่น แม้กระทั่งอาหารกับของใช้ทั่วไปก็ด้วย แม้พฤติกรรมนี้จะไม่ใช่เรื่องใหม่ไปทั้งหมด แต่ก็ได้รับการกระตุ้นจากการที่ผู้คนอยู่บ้านเพิ่มมากขึ้น หรือระบบเศรษฐกิจการใช้จ่ายและบริโภคที่บ้านในช่วงโควิด (stay-home economy) ดังนั้น เพื่อให้มีโอกาสชนะใจลูกค้ามากขึ้น แบรนด์ต่างๆ จำเป็นต้องผสมผสานประสบการณ์การซื้อของแบบออนไลน์และออฟไลน์ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อเพิ่ม 'Human Touch' บนหน้าจอดิจิทัลมากยิ่งขึ้น"

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (Digital Commerce Confidence Index: DCCI) ถือเป็นการสำรวจฉบับแรกๆ ที่มุ่งให้เห็นถึงเทรนด์ของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอมเมิร์ซ ด้วยการจัดทำดัชนีความรู้สึกและความเชื่อมั่นของผู้ขายออนไลน์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชี้วัดความเชื่อมั่นทางธุรกิจจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ขายออนไลน์ทั่วภูมิภาค (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์) ซึ่งในไตรมาสที่ 4 ของปี 2021 ลาซาด้าได้ทำการสำรวจผู้ขาย 1,126 ราย เกี่ยวกับยอดขายออนไลน์ในปัจจุบัน และความคาดหวังที่มีต่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอนาคต ทั้งนี้ ดัชนีแบ่งเป็น 0 ถึง 100 โดย 0 หมายถึง "มีมุมมองเชิงลบอย่างมาก" และ 100 หมายถึง "มีมุมมองเชิงบวกอย่างมาก"

เกี่ยวกับลาซาด้า กรุ๊ป 

ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2012 ลาซาด้า กรุ๊ป เป็นผู้นำแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ขับเคลื่อนและพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ด้วยการนำเสนอธุรกิจการค้าและเทคโนโลยีอันทันสมัย พร้อมระบบโลจิสติกส์ที่แข็งแกร่ง และเครือข่ายการชำระเงินที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ลาซาด้าได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทั่วภูมิภาค พร้อมความมุ่งมั่นที่จะให้บริการเหล่านักช้อปออนไลน์กว่า 300 ล้านคนภายในปี 2030 ทั้งนี้ นับตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ลาซาด้าได้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญของกลุ่มอาลีบาบาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้รับการขับเคลื่อนโดยโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีระดับโลก

[1] รายงานเทรนด์การเดินทางในสถานการณ์โควิด-19 จัดทำโดย Google (Google COVID-19 Mobility Trends)

 

Source: Lazada Group
Keywords: Computer/Electronics Electronic Commerce Retail Web Site