omniture

สมาคมโสมเกาหลีเผยโสมแดงช่วยลดความเหนื่อยล้าและความเครียด

The Korean Society of Ginseng
2022-04-27 09:57 179

โซล, เกาหลีใต้--27 เม.ย. 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ภาพจากสมาคมโสมเกาหลี
ภาพจากสมาคมโสมเกาหลี

สมาคมโสมเกาหลี (The Korea Society of Ginseng) เปิดเผยผลการศึกษาที่มีชื่อว่า ผลของโสมแดงต่อการเพิ่มความต้านทานความเหนื่อยล้า ความเฉื่อยชา และความเครียด (The Effect of Red Ginseng on Improving Fatigue, Lethargy and Stress Resistance) ในการประชุมสมาคมโสมเกาหลีประจำฤดูใบไม้ผลิปี 2565 ซึ่งจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเซจอง เมื่อวันที่ 21 เมษายนที่ผ่านมา โดยผลการศึกษาดังกล่าวมีความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากเผยแพร่ออกมาในช่วงที่ผู้คนจำนวนมากขึ้นต่างบ่นถึงอาการเหนื่อยล้าและความเฉื่อยชาหลังหายจากโรคโควิด-19

- โสมแดงช่วยลดความเหนื่อยล้าและความเครียดอย่างได้ผล

คิม คยอง-ชอล (Kim Kyung-chul) ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ได้วิเคราะห์อาสาสมัครชายและหญิงจำนวน 76 คน ที่มีอายุระหว่าง 20-70 ปี ซึ่งมีอาการเหนื่อยล้าและเครียดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เขาได้เปรียบเทียบอาสาสมัครเหล่านี้ โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับโสมแดง (50 คน) และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (26 คน) หลังจากการศึกษาเสร็จสิ้น เขายืนยันว่ากลุ่มที่ได้รับโสมแดงรู้สึกอ่อนล้าและเฉื่อยชาน้อยลง ทั้งยังช่วยเสริมความต้านทานต่อความเครียดอีกด้วย ผลลัพธ์ยิ่งชัดเจนขึ้นในกลุ่มผู้ที่มีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรังจากอาการระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

- การบริโภคโสมแดงช่วยบรรเทาอาการเหนื่อยล้าและเพิ่มศักยภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระ

ศาสตราจารย์จอง แท-ฮา (Jeong Tae-ha) ประจำแผนกเวชศาสตร์ครอบครัวจากโรงพยาบาลวอนจู เซอเวอแรนซ์ คริสเตรียน และศาสตราจารย์ลี ยอง-เจ ประจำแผนกเวชศาสตร์ครอบครัวจากโรงพยาบาลกังนัม เซอเวอแรนซ์ ได้ทำการศึกษาแบบสุ่ม ปกปิดสองทาง ควบคุมด้วยยาหลอก เป็นเวลา 8 สัปดาห์ในกลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน 63 ราย ผลการศึกษาได้รับการยืนยันผ่านการทดลองทางคลินิกที่ควบคุมด้วยยาหลอกแบบสุ่มว่า จำนวนของยีนไมโทคอนเดรียและฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น รวมถึงอาการเหนื่อยล้าดีขึ้นในกลุ่มโสมแดงในฐานะตัววัดอายุทางชีวภาพ

นอกจากนี้ ผลการศึกษาจำนวนมากก่อนหน้านี้ได้ยืนยันว่า โสมแดงมีผลช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้า

- การรับประทานโสมแดงช่วยลดความเหนื่อยล้า ปรับอารมณ์ เพิ่มความสามารถในการเดิน และความสุขในชีวิตของกลุ่มผู้ป่วยโรคมะเร็ง

นักวิจัยจากสถาบัน 15 แห่งในเกาหลีใต้ รวมถึงศาสตราจารย์คิม ยอล-ฮง (Kim Yeol-hong) ประจำแผนกเนื้องอกวิทยาและโลหิตวิทยาจากโรงพยาบาลอนัม มหาวิทยาลัยเกาหลี ได้สุ่มเลือกผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ 438 คน ที่ได้รับยาเคมีบำบัดสูตร mFOLFOX-6 โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มโสมแดง (219 คน) และกลุ่มยาหลอก (219 คน) โดยกลุ่มโสมแดงได้รับโสมแดง 1,000 มก. 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 16 สัปดาห์ในระหว่างการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ซึ่งส่งผลให้ระดับความเหนื่อยล้าของกลุ่มโสมแดงดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอก

*อ้างอิง

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8777686/

https://journals.lww.com/md-journal/Fulltext/2021/10290/Ginseng_adjuvant_therapy_on_COVID_19__A_protocol.12.aspx

https://www.ejcancer.com/article/S0959-8049(20)30072-1/fulltext

Source: The Korean Society of Ginseng
Related Stocks:
Korea:033780 OTC:KTCIY
Keywords: Food/Beverages Health Care/Hospital Supplementary Medicine Survey, Polls & Research
Related News