ตงกวน, จีน--27 พฤษภาคม 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
คุณเฟย เจิ้นฝู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีประจำทีมดาต้าเซ็นเตอร์ของหัวเว่ย (Huawei Data Center Facility Team) ประกาศเปิดตัวโซลูชันการจ่ายไฟรุ่นใหม่ "พาวเวอร์พอด 3.0" (PowerPOD 3.0) ในระหว่างงานเปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์แห่งอนาคตของหัวเว่ย โซลูชันนี้ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีหลักและมีการผสมผสานกันของส่วนประกอบต่าง ๆ พร้อมกับวางเลย์เอาต์อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างระบบจ่ายไฟดาต้าเซ็นเตอร์ที่ช่วยประหยัดพื้นที่ พลังงาน และเวลา
ประหยัดพื้นที่: ลดพื้นที่ลง 40%
การใช้สถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและเครื่องสำรองไฟยูพีเอส5000-เอช (UPS5000-H) ที่มีความหนาแน่นสูงเป็นพิเศษ ส่งผลให้ความหนาแน่นของพลังงานต่อตู้เพิ่มขึ้น ขณะที่เลย์เอาต์วางระบบจ่ายไฟก็ได้รับการปรับให้เหมาะสมที่สุด โดยจำนวนตู้ลดลงจาก 22 เหลือเพียง 11 ตู้ ส่งผลให้ใช้พื้นที่ลดลงอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาด 12 เมกะวัตต์ การใช้พาวเวอร์พอด 3.0 ช่วยให้ประหยัดพื้นที่และสามารถติดตั้งแร็คเพิ่มได้มากกว่า 170 แร็ค เมื่อเทียบกับโซลูชันการจ่ายไฟแบบทั่วไป
ประหยัดพลังงาน: ลดการใช้พลังงานลง 70%
ประสิทธิภาพการเชื่อมต่อของโซลูชันการจ่ายไฟโดยทั่วไปจะต่ำกว่า 94.5% ขณะที่โซลูชันพาวเวอร์พอด 3.0 มีประสิทธิภาพสูงถึง 97.8% และลดความยาวของการเชื่อมต่อลง นอกจากนี้ เครื่องสำรองไฟยูพีเอส5000-เอช ยังมีประสิทธิภาพสูงถึง 99.1% ในโหมดเอส-อีโค (S-ECO) ซึ่งช่วยลดการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้โซลูชันพาวเวอร์พอด 3.0 ในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาด 12 เมกะวัตต์จะช่วยประหยัดงบประมาณได้เกือบ 300,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี
ประหยัดเวลา: ลดระยะเวลาส่งมอบลง 75%
โซลูชันการจ่ายไฟแบบทั่วไปจำเป็นต้องใช้แท่งทองแดงราว 35 แท่ง และสายเคเบิล 180 เส้นในการเชื่อมต่อในสถานที่จริง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงสูงในด้านคุณภาพ และระยะเวลาจัดส่งก็นานถึง 2 เดือน แต่โซลูชันพาวเวอร์พอด 3.0 ใช้บัสบาร์สำเร็จรูปในการเชื่อมต่อภายใน และด้วยการผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปและการสั่งทำเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่โรงงาน การก่อสร้างในสถานที่จริงจึงทำได้ภายใน 2 สัปดาห์เท่านั้น ส่งผลให้สามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้เร็วขึ้น
ไร้กังวล: อัตราความผิดพลาดของบริการลดลง 40%
โซลูชันพาวเวอร์พอด 3.0 ใช้แนวคิด "การขับเคลื่อนอัตโนมัติ" และเทคโนโลยีเอไอ มาพร้อมฟีเจอร์อัจฉริยะไอพาวเวอร์ (iPower) ซึ่งมอบความน่าเชื่อถือสองชั้นทั้งการมองเห็นที่ครอบคลุม รวมถึงการทำนายอุณหภูมิด้วยเอไอ การทำนายอายุการใช้งานของส่วนประกอบหลัก และการตั้งค่าอัจฉริยะ ทำให้สามารถเดินเครื่องและบำรุงรักษา (O&M) แบบอัตโนมัติและคาดการณ์ล่วงหน้าได้
ปัจจุบัน ดาต้าเซ็นเตอร์กำลังพัฒนาไปสู่ความหนาแน่นที่สูงขึ้นและสเกลที่ใหญ่ขึ้น ดังนั้น ระบบจ่ายไฟซึ่งเป็น "หัวใจ" ของดาต้าเซ็นเตอร์ จึงต้องรับประกันความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือตลอดวงจรชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และยังต้องบูรณาการอุปกรณ์ทั้งหมดในห่วงโซ่ระบบจ่ายไฟด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า