กรุงเทพฯ--19 กันยายน 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
ในระหว่างการประชุมหัวข้อ "เร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษา" (Accelerate the Digital Journey of Education) ในงานหัวเว่ย คอนเนกต์ ประจำปี 2565 หรือ HUAWEI CONNECT 2022 ซึ่งกำลังจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ หัวเว่ยได้เผยแพร่สมุดปกขาวว่าด้วยโอกาสสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษา (White Paper on Opportunities for Digital Transformation of Education) ซึ่งเป็นการสำรวจโมเดลการประเมินความพร้อมของการศึกษาอัจฉริยะเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ หัวเว่ยยังเสนอให้ใช้ประโยชน์จากโซลูชันการศึกษาสำหรับทุกสถานการณ์ เพื่อสร้างสรรค์รูปแบบการสอน ส่งเสริมทรัพยากรการศึกษาแบบครอบคลุม ปรับปรุงความสามารถในการวิจัย และยกระดับการจัดการ เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษา
คุณมาร์ก หยาง (Mark Yang) ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาและการดูแลสุขภาพ กล่าวว่า "สมุดปกขาวว่าด้วยโอกาสสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษา ประกอบด้วยกลยุทธ์และแนวปฏิบัติระดับโลกจากลูกค้า คู่ค้า และหัวเว่ยเอง ในระหว่างที่ร่วมกันสำรวจเส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษา โดยมีการให้คำจำกัดความเกี่ยวกับแนวคิดและกรอบการทำงานของการศึกษาอัจฉริยะ นอกจากนั้นยังมีการสำรวจโมเดลการประเมินความพร้อมของการศึกษาอัจฉริยะเป็นครั้งแรก ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วนย่อย และ 5 ระดับ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้โรงเรียนสามารถประเมินตนเอง เพื่อกำหนดทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนาสารสนเทศการศึกษาในอนาคต"
คุณแพทริก โลว์ (Patrick Low) ผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายการศึกษาและการดูแลสุขภาพ ได้อธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับโซลูชันการศึกษาสำหรับทุกสถานการณ์ของหัวเว่ย พร้อมกับอ้างอิงเรื่องราวความสำเร็จระดับโลกของหัวเว่ย "โซลูชันการศึกษาอัจฉริยะสำหรับทุกสถานการณ์ของหัวเว่ยมีเป้าหมายเพื่อสร้างกรอบการทำงานที่ครอบคลุมสำหรับการศึกษาอัจฉริยะ ตอบสนองสถานการณ์ทางธุรกิจที่แตกต่างกัน สนับสนุนการสอนที่หลากหลาย ตลอดจนบรรลุเป้าหมายด้านการสอน การเรียนรู้ การจัดการ และการวิจัยอัจฉริยะในทุกสถานการณ์ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้กับการฝึกอบรมผู้มีความสามารถในหลายประเทศ"
การศึกษาที่ครอบคลุมทั่วถึงเป็นประเด็นร้อนในการประชุมนี้ นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาการศึกษา (UniNet) เปิดเผยว่า เครือข่ายการศึกษาและการวิจัยของไทยจะเชื่อมโยงมหาวิทยาลัย 155 แห่ง และเปลี่ยนผ่านสู่ 100 Gbit/s อย่างราบรื่น เพื่อมอบการเชื่อมต่อเครือข่ายคุณภาพสูงสำหรับลูกค้าในภาคการศึกษาทุกรายในไทย ตลอดจนส่งเสริมการศึกษาที่ครอบคลุมทั่วถึงและเท่าเทียม
การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็วทำให้จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมผู้มีความสามารถ คุณโกลเดน หยาง (Golden Yang) รองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีวศึกษา บริษัท เอวิก อินเตอร์เนชันแนล โปรเจกต์ เอ็นจิเนียริง คอมพานี (AVIC-INTL Project Engineering Company) กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลทำให้เกิดการศึกษาอัจฉริยะที่จะเข้ามาช่วยยกระดับการฝึกอบรมผู้มีความสามารถและขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีได้อย่างมหาศาล รวมถึงบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
หัวเว่ยช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยมากกว่า 2,800 แห่ง ในกว่า 80 ประเทศ อีกทั้งยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกว่า 2,000 แห่ง ในกว่า 100 ประเทศและดินแดน เพื่อสร้างสถาบันไอซีทีและฝึกอบรมนักศึกษามากกว่า 150,000 คนต่อปี หัวเว่ยให้การรับรองแก่ผู้มีความสามารถด้านไอซีทีมากกว่า 580,000 คนทั่วโลก คุณแอรอน หวัง (Aaron Wang) รองประธานกลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย กล่าวว่า "ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา 273 แห่ง เพื่อสร้างสถาบันหัวเว่ย ไอซีที (Huawei ICT) พร้อมกับให้การฝึกอบรมนักศึกษามากกว่า 16,000 คนต่อปี หัวเว่ยมุ่งมั่นสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีให้แก่ภาคการศึกษาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หัวเว่ยนำเทคโนโลยีมาใช้กับการศึกษาเพื่อปลดปล่อยผลิตภาพเชิงดิจิทัลและเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคการศึกษา"