ปักกิ่ง, 28 ก.ย. 2565 /พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
การแข่งขันคัดและมัดถั่ว ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมฉลองเทศกาลเก็บเกี่ยวของเกษตรกรจีนในเขตซิงปิน เมืองหลายปิน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เขตเซิงปิน เมืองหลายปิน เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงทางตอนใต้ของจีน ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลเก็บเกี่ยวของเกษตรกรจีน ตลอดจนเพื่อแสดงความสำเร็จของการสร้างชนบทที่เข้มแข็งในเขตซิงปิน ซึ่งต่อยอดสู่วัฒนธรรมการเกษตรท้องถิ่น และสะท้อนจิตวิญญาณของเกษตรกร
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขตซิงปินได้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนและยกระดับโครงสร้างอุตสาหกรรมการเกษตรในท้องถิ่นอย่างครอบคลุม ดำเนินยุทธศาสตร์การฟื้นฟูชนบทอย่างจริงจัง เร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ และส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองของอุตสาหกรรมในชนบท
ปัจจุบัน ด้วยอุตสาหกรรมหลัก 6 กลุ่ม ได้แก่ ธัญพืช อ้อย ผัก ผลไม้ การเลี้ยงสัตว์ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เขตซิงปินกลายเป็นฐานการผลิตอ้อยระดับอำเภอ (เขต) ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน รวมทั้งเป็นฐานการผลิตเมล็ดพืชระดับชาติ
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เขตซิงปินมีมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรรวมอยู่ที่ 3.039 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี และรายได้ต่อหัวที่แท้จริงของประชาชนในเขตชนบทเพิ่มขึ้น 6.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 10,566 หยวน จากการเปิดเผยของลู่หยานหยู (Lu Yanyu) ผู้อำนวยการกรมสารนิเทศของเขตซิงปิน
เขตซิงปินมีพื้นที่เพาะปลูก 2.8442 ล้าน mu (ประมาณ 190,000 เฮกตาร์) ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรทางการเกษตร เช่น "อ้อยหลายปิน" (Laibin Sugarcane) ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ระดับประเทศสำหรับสินค้าเกษตร ขณะที่ "ข้าวเป๋ยฮุย" (Beihui Rice) และ "กุ้งซานลี่" (Sanli Crayfish) ได้รับการรับรองจากศูนย์มาตรฐานและการทดสอบแห่งฮ่องกง ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรกรรมสมัยใหม่ให้แก่ท้องถิ่น และช่วยสนับสนุนการเก็บเกี่ยวผลผลิตของเกษตรกร
ในขณะเดียวกัน เขตซิงปินเดินหน้าสนับสนุนบริษัทด้านการเกษตรชั้นนำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงความสำเร็จในการผลักดันบริษัท 8 แห่งให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำแถวหน้าในอุตสาหกรรมสุกร เช่น นิวโฮป กรุ๊ป (New Hope Group), อีสต์ โฮป กรุ๊ป (East Hope Group) และมู่หยวน (Muyuan) โดยปัจจุบันการผลิตสุกรของเขตซิงปินมีขนาดใหญ่ถึง 90% และฟาร์มขนาดใหญ่มีกำลังการผลิตสุกรถึง 1.47 ล้านตัว
สำหรับในอนาคต เขตซิงปินจะทุ่มเทต่อไปกับการผลิตธัญพืช การผลิตสุกร อุตสาหกรรมปศุสัตว์และแกะ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมประมงและผลไม้ชนิดพิเศษ เสริมสร้างการใช้ฟางพืชอย่างครอบคลุมเพื่อการพัฒนาการเกษตรที่มีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น การผลิตน้ำตาล
ลิงก์ข่าวต้นฉบับ: https://en.imsilkroad.com/p/330299.html