omniture

"หัวเว่ย" ปลดปล่อยศักยภาพของไฟเบอร์ พร้อมก้าวสู่ F5.5G

Huawei
2022-10-31 10:17 170

กรุงเทพฯ--31 ตุลาคม 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ในระหว่างการประชุมอัลตราบรอดแบนด์ ฟอรัม ครั้งที่ 8 (Ultra-Broadband Forum หรือ UBBF) นายริชาร์ด จิน (Richard Jin) ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคัลของหัวเว่ย กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ "ปลดปล่อยศักยภาพของไฟเบอร์ พร้อมก้าวสู่ F5.5G" (Unleashing Fiber Potential and Striding to F5.5G) ซึ่งเขาได้แสดงความสำคัญของการสื่อสารด้วยไฟเบอร์ที่มีต่อการพัฒนาของสังคม และนำเสนอความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สำคัญ 8 ประการของหัวเว่ยในการเข้าถึงเครือข่ายไฟเบอร์และการรับส่งสัญญาณข้อมูลด้วยออปติคัล ตลอดจนประโยชน์ของไฟเบอร์ออปติกที่มีต่ออุตสาหกรรม พร้อมเรียกร้องให้อุตสาหกรรมตลอดทั้งห่วงโซ่ทำงานร่วมกันเพื่อก้าวสู่ F5.5G

นายริชาร์ด จิน ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคัลของหัวเว่ย
นายริชาร์ด จิน ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ธุรกิจออปติคัลของหัวเว่ย

เครือข่ายไฟเบอร์กลายเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับอนาคต โดยในช่วงของการเปลี่ยนแปลงจาก F5G เป็น F5.5G นั้น นวัตกรรมเทคโนโลยีการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการตรวจจับไฟเบอร์จะช่วยปลดปล่อยศักยภาพของไฟเบอร์และเปิดตลาดใหม่ ทั้งนี้ หัวเว่ยได้สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี 8 ประการ เพื่อเร่งการการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมสู่ F5.5G ได้แก่

1. ความเข้ากันได้ของ 50G PON: 50G PON เป็นเทคโนโลยี PON รุ่นต่อไปที่ออกโดยหน่วยงานกำหนดมาตรฐาน ITU-T โครงสร้างส่วนประกอบและนวัตกรรมการประมวลผลทำให้หัวเว่ยสามารถปรับปรุงกำลังส่งและความไวของตัวรับสัญญาณของโมดูลออปติคัล 50G PON เพื่อให้ครอบคลุมถึง 40 กิโลเมตร นอกจากนี้ หัวเว่ยยังรวม GPON, 10G PON และ 50G PON ไว้ในพอร์ตเดียวโดยใช้เทคโนโลยีการติดตั้งที่มีความแม่นยำสูงพิเศษ นวัตกรรมนี้จะช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายอัปเกรดจาก GPON และ 10G PON เป็น 50G PON ได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องสร้างเครือข่ายขึ้นใหม่ พร้อมมอบประสบการณ์การใช้งาน 10G ทุกหนทุกแห่งได้อย่างรวดเร็ว

2. สเปกตรัม Super C+L: หัวเว่ยได้ทำการทดลองและใช้นวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาโซลูชันใหม่สำหรับการขยายสเปกตรัม และการปรับปรุงแบนด์วิดท์สำหรับรับส่งข้อมูล โดยในระหว่างกระบวนการผลิตนั้น ฟลักซ์ของก๊าซและอุณหภูมิความร้อนจะถูกควบคุมอย่างแม่นยำเพื่อให้ได้สารเจือ (doping) ที่มีความเข้มข้นสูง และเพิ่มอัตราขยายของย่านความถี่ L นวัตกรรมเหล่านี้ช่วยเพิ่มสเปกตรัมการส่งสัญญาณ Super C+L เป็น 12 THz และเพิ่มแบนด์วิดท์ได้ถึง 50% เพื่อประสิทธิภาพการส่งสัญญาณที่สูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราความยาวคลื่นเดียวที่ 400G และ 800G ช่วยรองรับการเข้าถึงด้วยความเร็ว 100 Tbps ต่อไฟเบอร์ ซึ่งจะสนับสนุนการเดินหน้าสู่ยุค 10G 

3. การเชื่อมต่อข้ามช่องสัญญาณแบบออปติคัล (Optical Cross-Connect: OXC): ระบบ OXC ของหัวเว่ยใช้อัลกอริทึมดอทเมทริกซ์ 3 มิติ ซึ่งช่วยเพิ่มความหนาแน่นของสายเคเบิลของแบ็คเพลนที่เป็นออปติคัลทั้งหมดได้อีก 35% ลดการเชื่อมต่อไฟเบอร์ภายนอกของ ROADM (Reconfigurable Optical Add/Drop Multiplexer) ลดขนาดของทั้งระบบลงถึง 90% และลดการใช้พลังงานลงกว่า 60% นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้พัฒนาวัสดุใหม่สำหรับ OXC LCOS (Liquid Crystal on Silicon) เพื่อลดเวลาตอบสนอง LCD ที่ใช้สวิตช์แบบเลือกความยาวคลื่น (wavelength selective switching: WSS) จาก 200 ms เป็น 100 ms โดยจัดเตรียมและป้องกันความยาวคลื่นได้เร็วขึ้น รวมทั้งสร้างเครือข่ายอไจล์สีเขียวที่เป็นออปติคัลทั้งหมด

4. OptiX Alps-WDM: หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันการรวม Metro WDM ที่มีชื่อว่า OptiX Alps-WDM เพื่อแก้ปัญหาการกระจายบริการที่ไม่สม่ำเสมอ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่ำ และความยุ่งยากในการวางเครือข่ายเมโทร ทั้งนี้ การใช้สวิตช์ WSS ซึ่งหัวเว่ยเป็นผู้พัฒนา จะช่วยให้โมดูลที่เชื่อมโยงกันในเครือข่ายเมโทร และเทคโนโลยีฉลากออปติคัลแบบดิจิทัล สามารถแชร์ความยาวคลื่นระหว่างวงแหวนในสถาปัตยกรรมเครือข่ายที่เลเยอร์การเข้าถึงเครือข่ายเมโทร และสามารถจัดเตรียมและปรับแต่งได้อย่างยืดหยุ่น เทคโนโลยีเหล่านี้เพิ่มแบนด์วิดท์ 10 เท่า และลดการปล่อยคาร์บอน 90% ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายลด OPEX ลง 20% ตอบโจทย์สถาปัตยกรรมเครือข่ายเป้าหมายที่ย้ายเครือข่าย WDM ไปยังไซต์ และทำให้เกิดวิวัฒนาการของเครือข่ายที่ราบรื่นในช่วง 10 ปีข้างหน้า

5. การกระจายบริการหน่วยบริการออปติคัล (Optical Service Unit: OSU) ที่ยืดหยุ่น: เทคโนโลยีฮาร์ดไปป์คอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของหัวเว่ยที่เรียกว่า OSU ใช้การเชื่อมต่อฮาร์ดไปป์ 2 Mbps ถึง 100 Gbps สามารถปรับแบนด์วิดท์ได้อย่างยืดหยุ่นโดยไม่รบกวนบริการ โปรโตคอลที่มีการห่อหุ้มข้อมูลที่ส่ง (encapsulation) ถูกทำให้ง่ายขึ้น เพื่อลดความหน่วงในการรับส่งข้อมูลบริการ นวัตกรรมนี้ช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายสร้างเครือข่าย OTN WDM ระดับพรีเมียมที่มีแบนด์วิดท์สูง ความหน่วงต่ำ และประสบการณ์ที่คาดการณ์ได้ รวมทั้งช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายดึงดูดลูกค้าอุตสาหกรรมระดับไฮเอนด์ได้มากขึ้น

6. สถาปัตยกรรม FTTR C-WAN: ด้วยความนิยมของเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ เครือข่าย Wi-Fi ในบ้านจึงจำเป็นต้องให้สัญญาณครอบคลุมทั่วพื้นที่ มีความเสถียรสูง และสามารถรองรับทำงานพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม ในเครือข่าย Wi-Fi แบบเดิมนั้น เทอร์มินัลเครือข่ายออปติคัล (optical network terminal: ONT) แต่ละตัวมีการทำงานที่เป็นอิสระ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การรบกวน และความไม่เสถียรของบริการในสถานการณ์ที่มีการทำงานพร้อมกันสูง โซลูชัน FTTR สำหรับการเชื่อมต่อในบ้านของหัวเว่ย ใช้สถาปัตยกรรม C-WAN ที่มีการจัดการและการควบคุมแบบรวมศูนย์ เพื่อประสานเทอร์มินัล ONT ทั้งหมดบนเครือข่าย FTTR จึงช่วยลดการรบกวนและปรับปรุงการใช้แบนด์วิดท์ นอกจากนี้ เทคโนโลยีการโรมมิ่งแบบ imperceptible ที่ไม่เหมือนใคร สามารถส่งมอบบริการโรมมิ่งได้ภายใน 20 มิลลิวินาที ซึ่งมอบประสบการณ์โฮมดิจิทัลรูปแบบใหม่

7. เทคโนโลยี Fiber iris: ODN มีสัดส่วนการลงทุน FTTH สูง อย่างไรก็ตาม การบำรุงรักษา ODN เป็นปัญหาที่ท้าทายอุตสาหกรรมมาโดยตลอด โดยในอดีตนั้น การบันทึกข้อมูลพอร์ตต้องทำแบบแมนนวล ส่งผลให้ข้อมูลไม่ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งนำไปสู่ความล้มเหลวในการส่งมอบบริการ หัวเว่ยได้เปิดตัวเทคโนโลยี Fiber iris ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อติดฉลากพอร์ตไฟเบอร์จำนวนมาก วิธีนี้ช่วยให้บันทึกข้อมูลและจัดสรรพอร์ตได้อย่างถูกต้องตามเวลาจริง ทำให้ส่งมอบบริการได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการใช้อัลกอริทึม oDSP และ AI เพื่อให้ตรวจพบตำแหน่งที่ผิดปกติได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง ด้วยความแม่นยำที่ระยะหนึ่งเมตร 

8. เครือข่ายที่ควบคุมสั่งการได้ด้วยตัวเอง: ในอนาคต ขนาดของเครือข่ายจะเพิ่มขึ้น 10 เท่า และเครือข่ายอัจฉริยะที่ควบคุมสั่งการได้ด้วยตัวเองจะกลายเป็นกระแสหลัก หัวเว่ยได้สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีในด้านเครือข่ายอัตโนมัติไว้มากมาย ตัวอย่างเช่น StellarGo ที่ช่วยเปลี่ยนการจัดการเส้นทางบนเครือข่ายการขนส่งจากแบบแมนนวลและแบบ single-factor ไปเป็นการเลือกเส้นทางอัจฉริยะแบบ multi-factor และ multi-policy พร้อมทั้งให้คำแนะนำตามพฤติกรรมที่แตกต่างกันของลูกค้า ส่งผลให้อัตราความสำเร็จในการเลือกเส้นทางสูงถึง 99% และประสิทธิภาพการส่งมอบบริการดีขึ้น 70% นอกจากนี้ยังมี StellarCue ที่ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดี ด้วยการการรับรู้คุณภาพของประสบการณ์ที่ไม่ดี (poor-QoE) ภายใน 1 นาที โดยอิงจากการอบรมข้อมูล poor-QoE จำนวนมาก ซึ่งสามารถลดการร้องเรียนของผู้ใช้ได้เป็นอย่างมาก

นายจินกล่าวว่า ด้วยเป้าหมายการเชื่อมต่อ 10G ทุกหนทุกแห่งภายในปี 2568 หัวเว่ยจะยังคงสร้างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่โดยต่อยอดจากนวัตกรรมที่มีมาก่อน ตลอดจนเพิ่มมูลค่าทางการค้าสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโดยการปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายเพื่อก้าวสู่ F5.5G ท้ายสุดนี้ นายจินยังเรียกร้องให้อุตสาหกรรมร่วมกันส่งเสริมและก้าวไปสู่ F5.5G

Source: Huawei
Keywords: Computer Networks Computer Software Computer/Electronics Internet Technology Semiconductors Telecommunications Telecommunications Carriers and Services Telecommunications Equipment Trade show news