omniture

แนวปฏิบัติระหว่างประเทศในด้านการบริหารและความร่วมมือทางทะเล

National Institute for South China Sea Studies, China
2022-11-09 16:07 97

ซานย่า, จีน, 9 พ.ย. 2565 /พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ระหว่างวันที่ 3 ถึง 4 พฤศจิกายน 2565 "การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทร" (Ocean Cooperation and Governance Forum) ประจำปี 2565 ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการศึกษาทะเลจีนใต้ (National Institute for South China Sea Studies หรือ NISCSS) ได้เริ่มต้นขึ้นในเมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน โดยในส่วนของการบริหารมหาสมุทรทั่วโลก นักวิชาการจากหลากหลายประเทศเสนอแนะมุมมองที่แตกต่างกันไป รวมถึงในด้านนโยบาย กฎหมาย และความมั่นคง โดยนักวิชาการบางคนชี้ให้เห็นว่าการขาดกลไกด้านความมั่นคงในปัจจุบันเป็นปัญหาระดับโลก ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นแล้ว ภูมิภาคทะเลจีนใต้ประสบความสำเร็จมากมายมหาศาลในการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันในด้านความมั่นคงทางทะเลตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรระดับโลก ประจำปี 2565 เสร็จสิ้นลงอย่างประสบความสำเร็จ ณ เมืองซานย่า ประเทศจีน
การประชุมความร่วมมือทางทะเลและการบริหารมหาสมุทรระดับโลก ประจำปี 2565 เสร็จสิ้นลงอย่างประสบความสำเร็จ ณ เมืองซานย่า ประเทศจีน

ในแง่ของกฎระเบียบในทะเลจีนใต้ ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคี (DOC) และการเจรจาเรื่องแนวปฏิบัติ (COC) โดย DOC ซึ่งลงนามโดยจีนและสิบประเทศอาเซียนในปี 2545 มีบทบาทสำคัญในการรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้มาเป็นเวลานาน ด้วยการเปิดการเจรจาแบบตัวต่อตัวรอบใหม่และความคืบหน้าในการทบทวนวาระที่ 2 อย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าการเจรจา COC ระหว่างจีนกับ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะกลายเป็นหนึ่งในความพยายามร่วมกันที่สำคัญที่สุดในการตั้งกฎเกณฑ์ในภูมิภาค

ในเรื่องของความร่วมมือในการพิทักษ์ทรัพยากรการประมง นักวิชาการบางคนแนะนำว่าเราสามารถลองสำรวจและสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศผ่านองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการต่อสู้กับกิจกรรมการทำประมงที่ผิดกฎหมาย เพราะปัญหาการประมงไม่สามารถแก้ไขได้โดยประเทศใดประเทศหนึ่งเพียงแห่งเดียว และจำเป็นต้องใช้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ รวมถึงต้องมีความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ในประเด็นการใส่ใจความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อตอบสนองต่อภาวะโลกรวน ประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบความร่วมมือ และจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันในระดับหน่วยย่อยนอกเหนือจากความร่วมมือในระดับชาติด้วย

ขณะเดียวกัน นักวิชาการชาวญี่ปุ่นนำเสนอการส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศของรัฐบาลญี่ปุ่นในอ่าวโตเกียว และกล่าวว่ามีรัฐบาลแผนที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และกำลังดำเนินกิจกรรมบลูคาร์บอน (Blue carbon) หรือการเก็บเครดิตคาร์บอนจากภาคพื้นทะเลอยู่ในขณะนี้

ส่วนอาเซียนยังยืนยันความมุ่งมั่นในด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue economy) ในการประชุมสุดยอดผู้นำบรูไน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระดับภูมิภาค ทั้งนี้ เศรษฐกิจสีน้ำเงินหมายถึงการจัดการ การอนุรักษ์ และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน และยังรวมถึงทรัพยากรชายฝั่งและการคุ้มครองระบบนิเวศ ซึ่งอาศัยความร่วมมือกันในกลุ่มทางสังคมต่าง ๆ โดยกลุ่มผู้นำอาเซียนตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจสีน้ำเงินเป็นอย่างดี

Source: National Institute for South China Sea Studies, China
Keywords: Maritime/Shipbuilding Transportation
Related News