ปักกิ่ง--13 ธันวาคม 2565--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์
กลุ่มประเทศอาหรับที่ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อของทวีปเอเชีย แอฟริกา และยุโรป มีชื่อเสียงระดับสากลในด้านทำเลที่ตั้งอันโดดเด่นและแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์
ความร่วมมือด้านพลังงานซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของความร่วมมือจีน-อาหรับ ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีมานี้ โดยความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเกิดจากความสำเร็จที่เอื้อประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย
อุปทานน้ำมันของจีน 70% จากทั้งหมดมาจากการนำเข้า ในปี 2564 จีนนำเข้าน้ำมันดิบ 265 ล้านตันจากกลุ่มประเทศอาหรับ คิดเป็นสัดส่วน 51.6% ของทั้งหมดในประเทศ
จนถึงปัจจุบัน มีการดำเนินโครงการความร่วมมือขนาดใหญ่ด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานมากกว่า 200 โครงการ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเกือบ 2 พันล้านคน
ความร่วมมือด้านพลังงานใหม่จีน-อาหรับ
ภูมิภาคตะวันออกกลางได้รับแสงแดดสูงที่สุดในโลก และซาอุดีอาระเบียก็เป็นฐานการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคกำลังสร้างความหลากหลายด้านพลังงานผ่านโครงการพลังงานใหม่ขนาดใหญ่ โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบียได้ตอกย้ำแผนการ 5 ปีในการเปลี่ยนครึ่งหนึ่งของพลังงานทั้งหมดให้มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2573
สิ่งนี้จะช่วยวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับความร่วมมือจีน-ตะวันออกกลาง เนื่องจากบริษัทจีนเป็นผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์รายใหญ่
จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่ซาอุดีอาระเบียเป็นผู้จัดหาพลังงานที่สำคัญที่สุดของจีน และเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันตกและแอฟริกา
ข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศจีนระบุว่า การค้าระหว่างสองประเทศมีมูลค่าสูงถึง 8.731 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 30.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี
ข้อตกลงซื้อขายก๊าซ LNG จีน-กาตาร์ ระยะยาว 27 ปี
ในด้านพลังงาน กาตาร์เป็นผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) รายใหญ่ที่สุดในโลก
ในขณะที่ทุกสายตาจับจ้องไปที่พิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลโลก เวิลด์ คัพ กาตาร์ 2022 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ของจีนอย่างซิโนเปค (Sinopec) และบริษัทกาตาร์เอนเนอร์จี (QatarEnergy) กำลังลงนามข้อตกลงซื้อขายก๊าซ LNG ระยะยาว 27 ปี โดยกาตาร์เอนเนอร์จีจะจัดหาก๊าซ LNG จำนวน 4 ล้านตันต่อปีให้แก่ซิโนเปค
ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงซื้อขายระยะยาวฉบับแรกภายใต้โครงการนอร์ทฟีลด์อีสต์ (North Field East Project) ของกาตาร์ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มการผลิตในปี 2569
นายหม่า หย่งเชิง (Ma Yongsheng) ประธานบริษัทซิโนเปค กล่าวว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้จีนสามารถตอบสนองความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติและปรับโครงสร้างพลังงานของประเทศให้เหมาะสม ส่วนทางด้านกาตาร์ก็พอใจกับข้อตกลงระยะยาวเช่นกัน
ผลงานจีนเป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อม
กาตาร์เป็นประเทศที่ "น้ำแพงกว่าน้ำมัน"
ด้วยการสนับสนุนจากจีน กาตาร์สามารถสร้างถังเก็บน้ำขนาดใหญ่พิเศษ 15 แห่งทั่วประเทศ เพื่อรับประกันความปลอดภัยของน้ำในช่วงการแข่งขันฟุตบอลโลก
นอกจากนี้ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อัลคาร์ซาห์ (Al Kharsaah) ขนาด 800 เมกะวัตต์ในกาตาร์ ซึ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในตะวันออกกลางและสร้างโดยบริษัทจีน ยังช่วยเพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนการใช้พลังงานของกาตาร์ และสนับสนุนความเป็นเลิศด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย