omniture

"ฟอเรสต์ ซิตี" ของคันทรี การ์เดน คว้ารางวัลต้นแบบระดับโลกด้านงานก่อสร้างสีเขียวอัจฉริยะในงาน SCAHSA 2022

Country Garden Forest City
2022-12-21 15:34 63

ฝอซาน, จีน, 21 ธ.ค. 2565 /พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ฟอเรสต์ ซิตี (Forest City) เมืองบูรณาการเพื่อการอยู่อาศัยในประเทศมาเลเซีย ผลงานการสร้างของคันทรี การ์เดน (Country Garden) คว้ารางวัลต้นแบบระดับโลกด้านงานก่อสร้างสีเขียวอัจฉริยะ (Global Model of Green and Intelligent Construction Award) จากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อัจฉริยะเพื่อสิ่งแวดล้อม ในงานประกาศรางวัลบนเวทีระดับโลกด้านการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ และด้านเมืองที่ยั่งยืนและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ประจำปี 2565 (Global Forum on Human Settlements (GFHS) & Sustainable Cities and Human Settlements Awards Ceremony 2022 (SCAHSA 2022)) ซึ่งจัดขึ้นเป็นปีที่ 17 เมื่อวันที่ 15-16 ธันวาคม

SCAHSA 2022
SCAHSA 2022

SCAHSA 2022 ต้องการให้ความสำคัญกับผลลัพธ์จากการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อม จึงได้เชิดชูผลงานความสำเร็จที่โดดเด่นในด้านเมืองที่ยั่งยืนและการถิ่นฐานของมนุษย์ โดยโครงการฟอเรสต์ ซิตีเป็นตัวอย่างสำคัญด้านแนวคิด เทคโนโลยี และประสบการณ์การสร้างสรรค์นวัตกรรม

นับเป็นการคว้ารางวัลในงาน SCAHSA เป็นปีที่ 7 ติดต่อกันสำหรับโครงการฟอเรสต์ ซิตีของคันทรี การ์เดน หลังจากที่ก่อนหน้านี้โครงการดังกล่าวเคยได้รับรางวัลต้นแบบระดับโลกด้านการออกแบบและการวางผังเมืองคาร์บอนต่ำ (Global Model of Low-Carbon City Planning and Design) ในปี 2564 รางวัลต้นแบบระดับโลกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาชายฝั่ง (Global Model of Coastal Ecological Environment Protection) ในปี 2563 รางวัลเมืองสีเขียวอัจฉริยะระดับโลก (Global Green Smart City) ในปี 2562 รางวัลต้นแบบระดับโลกด้านการบูรณาการเมือง-อุตสาหกรรม (Global Model on City-Industry Integration) ในปี 2561 รางวัลต้นแบบระดับโลกด้านนิคมอุตสาหกรรมการก่อสร้างสีเขียว (Global Model of Green Building Industrial Park) ในปี 2560 และรางวัลการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ระดับโลกด้านการวางผังเมืองและการออกแบบ (Global Human Settlements Award on Planning and Design) ในปี 2559

ฟอเรสต์ ซิตีคว้ารางวัลต้นแบบระดับโลกด้านงานก่อสร้างสีเขียวอัจฉริยะในงาน SCAHSA 2022
ฟอเรสต์ ซิตีคว้ารางวัลต้นแบบระดับโลกด้านงานก่อสร้างสีเขียวอัจฉริยะในงาน SCAHSA 2022

เมื่อเดือนกันยายน 2563 ในงานเปิดตัวห้องแสดงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์สิ่งแวดล้อมขั้นที่ 1 (Eco Museum Phase 1 Exhibition Hall) ฟอเรสต์ ซิตีเผยแพร่แผนปฏิบัติการการพัฒนาระบบนิเวศของฟอเรสต์ ซิตี (Forest City Ecological Development Action Plan) ซึ่งแสดงให้เห็นเป้าหมายการพัฒนา ดำเนินการ และบริหารจัดการเมืองนิเวศ (Eco-city) นับตั้งแต่เริ่มโครงการเมื่อปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนความคาดหวังในอนาคต ตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ฟอเรสต์ ซิตีจะดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นรากฐานสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของเมืองไปพร้อม ๆ กับการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง โดยมุ่งหมายที่จะสร้างเมืองสีเขียวที่น่าตื่นตาตื่นใจด้วยอุตสาหกรรมและวัฒนธรรมที่หลากหลาย

ในโครงการฟอเรสต์ ซิตีประกอบไปด้วยสวนสาธารณะต่าง ๆ และพื้นที่สีเขียวรูปแบบอื่นในความสูงระดับต่าง ๆ จากพื้นดินขึ้นไปจนถึงหลังคาอาคารทั่วทั้งเมือง ครอบคลุมพื้นที่แนวกว้างขนาด 2.86 ล้านตารางเมตร และพื้นที่แนวตั้งเป็นระยะทาง 256,000 เมตร ทำให้โครงการสามารถใช้พืชในการกักเก็บคาร์บอนได้เป็นผลสำเร็จ พร้อมลดปรากฏการณ์เกาะความร้อน (Heat island effect) และลดการใช้พลังงานผ่านระบบควบคุมอุณหภูมิ นอกจากนี้ยังได้เสริมสร้างเมืองให้มีความแข็งแกร่งและยืดหยุ่น ด้วยระบบคมนาคมอัจฉริยะที่สะดวกรวดเร็วผ่านแอปพลิเคชันทางโทรศัพท์สมาร์ตโฟน ทำให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สอดรับกับการคมนาคมเพื่อสุขภาพ ประกอบกับการส่งเสริมความเคลื่อนไหวเชิงนิเวศด้วยการสนับสนุนให้คนเดินและใช้จักรยาน นอกจากนี้ยังมีการใช้แอปพลิเคชันเทคโนโลยีอันทันสมัยทั่วทั้งเมือง จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และมอบทางเลือกวิถีชีวิตที่ดีให้แก่ชาวเมือง ด้วยแนวทางการดำเนินงานอัจฉริยะ 5 ประการผ่านการบูรณาการระบบอัจริยะในด้านการบริหารจัดการ การคมนาคมขนส่ง ความปลอดภัย ชุมชน และบ้าน

นอกจากนี้ โครงการฟอเรสต์ ซิตียังยึดมั่นในแนวคิดเมืองฟองน้ำ (หรือ Sponge City เป็นคุณสมบัติบ่งบอกถึงเขตเมืองที่อุดมไปด้วยพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ทะเลสาบ สวนสาธารณะ หรือผลงานการออกแบบอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการดูดซับน้ำฝนและป้องกันน้ำท่วม) และได้สร้างระบบรีไซเคิลน้ำ ทำให้มีการรวบรวมและบำบัดน้ำเสียจากส่วนกลาง ขณะเดียวกันก็สร้างระบบนำน้ำกลับมาใช้ใหม่แยกต่างหากสำหรับใช้ดูแลและรดน้ำพื้นที่สีเขียวบนหลังคา พื้นที่สีเขียวแนวตั้ง พื้นที่สีเขียวนอกอาคาร ปัจจุบัน น้ำส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ดูแลพื้นที่สีเขียวในโครงการมาจากน้ำที่ดึงกลับมาใช้ใหม่ ในภายภาคหน้าเมืองมีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพน้ำด้วยการใช้เทคโนโลยีการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล

โรงงานระบบก่อสร้างเชิงอุตสาหกรรมของซีจีพีวี (CGPV Industrialized Building System หรือ CIBS) ซึ่งเริ่มดำเนินการไปเมื่อปี 2560 เป็นโรงงานก่อสร้างอัจฉริยะที่ทันสมัยและครบวงจร ครอบคลุมห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การออกแบบอาคารที่ได้มาตรฐาน การผลิตชิ้นส่วนสำเร็จรูปด้วยระบบอัตโนมัติ โลจิสติกส์อัจฉริยะ และการก่อสร้างอาคารสำเร็จรูปครบวงจร โรงงานแห่งนี้เป็นโรงงานก่อสร้างคุณภาพสูง มีการทำงานที่รวดเร็วและปลอดภัย มีพื้นที่อาคารรวม (GFA) ขนาดประมาณ 400 เอเคอร์ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยลดระยะเวลาการก่อสร้างลงได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 แต่ยังมีส่วนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนลดของเสียที่เกิดจากการก่อสร้างลงไปได้อีกเป็นจำนวนมาก

Source: Country Garden Forest City
Keywords: Construction/Building Environmental Products & Services Green Technology Real Estate Awards
Related News