omniture

CGTN: จีนขับเคลื่อนสู่ความทันสมัย หวังทำให้ชีวิตในชนบทดีขึ้น

CGTN
2023-03-13 20:48 103

ปักกิ่ง, 13 มีนาคม 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต

สำหรับคุณเซี่ย ฟู่ซิน (Xie Fuxin) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกองุ่นแล้ว สิ่งหนึ่งที่เขาภูมิใจที่สุดในชีวิตคือการได้เห็นชาวสวนองุ่นในเมืองหนานผิงของมณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน สามารถสลัดความยากจนทิ้งไปและมีรายได้มากขึ้นหลังจากปลูกองุ่นที่เขาได้เผยแพร่ไว้

คุณเซี่ยเกิดเมื่อปี 2486 เขาได้อุทิศชีวิตการทำงานทั้งหมดให้กับการส่งเสริมเทคนิคการปลูกองุ่นสายพันธุ์ต่าง ๆ ในหมู่บ้านที่เมืองหนานผิง และเขายังคงทำต่อไปเป็นเวลาอีก 12 ปีหลังจากเกษียณไปแล้ว

คุณเซี่ยเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 225 คนที่ถูกส่งไปยังหมู่บ้าน 215 แห่งในปี 2542 เพื่อทำให้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรเป็นที่นิยมในเมืองหนานผิง คุณเซี่ยเคยขี่จักรยานไปที่โรงเรือนปลูกองุ่นในแถบชนบทของเมืองหนานผิง เพื่อสอนเทคนิคต่าง ๆ ให้แก่ชาวบ้าน

ในปี 2545 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของจีน ซึ่งยังเป็นผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยนอยู่ขณะนั้น ได้ชื่นชมมาตรการของเมืองหนานผิงในบทความชิ้นหนึ่ง โดยกล่าวว่า เป็นการสำรวจที่เป็นประโยชน์เพื่อนำนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในชนบท

ระหว่างที่พูดคุยกับคุณเซี่ยในปี 2545 นายสีได้รู้ว่าองุ่นหนึ่งหมู่ (ประมาณ 0.07 เฮกตาร์) มีมูลค่าผลผลิต 7,000 หยวน (ประมาณ 1,014 ดอลลาร์สหรัฐ) และบอกให้คุณเซี่ยส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกองุ่นมากขึ้น

คุณเซี่ยกล่าวว่า ปัจจุบันมีองุ่นมากกว่า 70,000 หมู่ในพื้นที่ภูเขาในเมืองหนานผิง และเสริมว่าอุตสาหกรรมองุ่นทำรายได้ต่อปีมากกว่า 600 ล้านหยวน ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านอย่างมากหลังจากที่ได้หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว

การพัฒนาที่เกิดขึ้นในเมืองหนานผิงแสดงถึงความสำเร็จของจีน ที่พยายามบรรเทาความยากจนและฟื้นฟูชนบทในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

การบรรเทาความยากจนแบบพุ่งเป้า

ประธานาธิบดีสีหยิบยกแนวคิด "การบรรเทาความยากจนแบบพุ่งเป้าหมาย" ในระหว่างการตรวจเยี่ยมมณฑลหูหนานทางตอนกลางของจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556

การพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสม การกำหนดทำเลที่ตั้งใหม่ และการชดเชยด้านสภาพแวดล้อม ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเฉพาะเจาะจงที่ใช้เพื่อขจัดความยากจนทั้งสิ้น

ปธน.สี กล่าวในการประชุมระดับชาติ ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่งเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บรรดาผู้ยากไร้ในเขตชนบทจำนวน 98.99 ล้านคน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ภายใต้เส้นแบ่งความยากจน ก็ได้รับการยกระดับคุณภาพชีวิต และเขตพื้นที่ที่ยากจนทั้ง 832 แห่ง รวมถึงหมู่บ้านยากจนอีก 128,000 หมู่บ้านได้ถูกนำออกจากบัญชีผู้ยากไร้แล้ว

ในช่วงเวลาที่จีนสามารถขจัดปัญหาความยากจนอย่างที่สุดออกไปได้ ความสำเร็จในการบรรเทาปัญหาความยากจนและการพลิกฟื้นชนบท ได้กลายเป็นปัจจัยที่จีนต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ในการสานฝันสร้างความเจริญร่วมกันในสังคมสมัยใหม่ให้เป็นจริง

เดินหน้าฟื้นฟูชนบทเต็มกำลัง

ปธน.สี มองว่างานที่ใหญ่ที่สุดและหินที่สุดที่จีนต้องเผชิญในการสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่ในทุกมิตินั้น ล้วนอยู่ในพื้นที่ชนบทเป็นส่วนใหญ่ โดยได้ให้คำมั่นระหว่างการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) ครั้งที่ 20 เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมาว่า จะทุ่มเทให้มากขึ้นเพื่อพลิกฟื้นชนบทในทุกพื้นที่

นอกจากนี้ การพลิกฟื้นชนบทยังมีความสำคัญอย่างมากในการประชุมทั้งสองครั้งในปีนี้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดบนปฏิทินการเมืองของจีน

จากรายงานการทำงานของรัฐบาลปี 2566 ซึ่งถูกส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา จีนตั้งเป้าจะสร้างเสถียรภาพให้กับผลผลิตธัญพืชและพัฒนาพื้นที่ชนบทในปีนี้

รายงานระบุว่า จีนมีแผนจะรักษาพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชให้อยู่ในระดับที่มั่นคง และเพิ่มแรงผลักดันใหม่ในการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก 50 ล้านตัน รวมถึงเตรียมส่งเสริมอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์และสนับสนุนการพัฒนาด้านเกษตรศาสตร์ เทคโนโลยี และเครื่องมือเครื่องใช้

https://news.cgtn.com/news/2023-03-11/China-strives-for-better-rural-living-in-its-modernization-drive--1i5p7ULP2Te/index.html 

Source: CGTN
Keywords: Agriculture Computer/Electronics Multimedia/Online/Internet Publishing/Information Service
Related News