การรีไซเคิลขยะพลาสติกในเชิงเคมีถือเป็นแนวทางหลักในการพัฒนาความยั่งยืนของอุตสาหกรรมเคมี
ปักกิ่ง, 14 มีนาคม 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
คุณหม่า หยงเชิง (Ma Yongsheng) ประธานบริษัท ไชน่า ปิโตรเลียม แอนด์ เคมิคอล คอร์ปอเรชัน (China Petroleum & Chemical Corporation) หรือซิโนเปค (Sinopec) (HKG: 0386) เรียกร้องให้รวมโครงการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน หรือซีซียูเอส (CCUS) ไว้ในระบบลดการปล่อยมลพิษภาคสมัครใจของจีน
ซีซียูเอสเป็นเทคโนโลยีการลดคาร์บอนที่สำคัญ ซึ่งมีศักยภาพในการลดการปล่อยก๊าซลงอย่างมาก และเป็นตัวช่วยหลักเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย "คาร์บอนคู่ขนาน" (Dual Carbon) ในขณะที่เทคโนโลยีและโครงการซีซียูเอสของจีนกำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ขนาดของโครงการซีซียูเอสยังค่อนข้างเล็กเมื่อเทียบกับปริมาณการปล่อยมลพิษทั้งหมด และช่องว่างของเทคโนโลยีหลักบางประการโดยเฉพาะต้นทุนที่สูง ก็เป็นข้อจำกัดในการใช้งานเชิงพาณิชย์ในวงกว้าง
ข้อเสนอของคุณหม่าในการรวมโครงการซีซียูเอสเข้าไว้ในระบบลดการปล่อยก๊าซโดยสมัครใจของจีน เรียกร้องให้มีการสร้างตลาดซีซีอีอาร์ (CCER) แห่งชาติที่เป็นหนึ่งเดียว นั่นคือการจดทะเบียนสำหรับคาร์บอนเครดิตโดยสมัครใจที่ได้รับการรับรองในประเทศจีน (China Certified Emission Reduction) หรือไม่ก็เปิดตัวใหม่ เพื่อให้โครงการลดคาร์บอนสามารถเข้าร่วมในตลาดคาร์บอนได้มากขึ้น และกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ ดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซ
"ในระหว่างนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการวิจัยและเผยแพร่ระเบียบวิธีของซีซียูเอสในระดับชาติ หรือให้การรับรองวิธีวิจัยที่บริษัทต่าง ๆ ดำเนินการเสร็จสิ้น และเผยแพร่อย่างทันท่วงที เพื่อส่งเสริมการพัฒนาขนาดโครงการของซีซียูเอส" คุณหม่า กล่าว
คุณหม่าแนะนำให้แก้ไขข้อบังคับในอุตสาหกรรมซีซียูเอส ขอบข่ายของกฎหมายและองค์กร และข้อกำหนดทางเทคนิค เพื่อเปิดตัวมาตรฐานระดับชาติในการรับรองซีซียูเอสเชิงปริมาณ และสำรวจนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ เช่น การกำหนดภาษีซีซียูเอสและการให้เงินสนับสนุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน
การรีไซเคิลขยะพลาสติกในเชิงเคมีเป็นแนวทาง "เปลี่ยนขยะให้เป็นทรัพย์" อย่างยั่งยืน เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมเคมีและการกลั่นน้ำมันให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อปรับปรุงอัตราการใช้ทรัพยากรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่จีนกำลังดำเนินการวิจัยทางเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ แต่ก็ยังมีความท้าทายในการจัดหาวัตถุดิบ ขาดความพร้อมด้านเทคโนโลยี และความสามารถในการวางแผนโดยรวมของห่วงโซ่อุตสาหกรรมทั้งหมด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะสร้างอุตสาหกรรมสาธิตและห่วงโซ่อุตสาหกรรมรีไซเคิลเชิงเคมี ตลอดจนวัตถุดิบและระบบมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์
คุณหม่าได้เสนอให้เร่งการวางแผนระดับสูงสุด และส่งเสริมบริษัทต่าง ๆ ให้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดการกับเทคโนโลยีหลัก เสริมสร้างการพัฒนาเชิงพาณิชย์และการใช้ทรัพยากรภายใต้คำแนะนำของรัฐบาล เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจสีเขียวของอุตสาหกรรมต่อไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ซิโนเปค