งานนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายนที่นครกว่างโจว ประเทศจีน โดยเน้นย้ำถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ในด้านการพัฒนา รวมถึงความจำเป็นในการสร้างเศรษฐกิจโลกบนพื้นฐานของความสมดุล การอยู่ร่วมกัน และความอดทนอดกลั้น
กว่างโจว, จีน--8 พฤษภาคม 2566--พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
ในการสัมมนาระหว่างการประชุมประจำปี "Understanding China – GBA Dialogue" ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการรวบรวมบุคคลสำคัญในแวดวงการเมือง วิชาการ และธุรกิจ เพื่อมาพูดคุยเกี่ยวกับโอกาสในการสร้างความร่วมมือที่รออยู่ข้างหน้าทั้งสำหรับประเทศจีนและทั่วโลก เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยุคหลังสถานการณ์โรคระบาดครั้งใหญ่
Held on April 19 in Guangzhou, China, the event highlights new development possibilities and the need to build a world economy underpinned by balance, inclusion, and tolerance.
การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นในหัวข้อ "กระบวนทัศน์ใหม่ด้านการพัฒนา และการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างสมดุล สอดประสาน และครอบคลุม" โดยร่วมมือกับสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน (China Institute for Innovation & Development Strategy) เวทีนี้เปิดให้ผู้นำจากทั่วโลกได้มาร่วมเจาะลึกในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความท้าทายที่สำคัญในปัจจุบัน รวมถึงบทบาทของจีนในการส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก
แม้ว่าเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวระดับหนึ่ง แต่แรงกดดันเชิงลบที่เกิดจากวิกฤตพลังงานและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ยังคงอยู่ โดยความตึงเครียดระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความไม่แน่นอนมากขึ้น ซึ่งบดบังแนวโน้มการเติบโตทั่วโลก
ด้วยเหตุนี้ การสัมมนาดังกล่าวจึงมีเป้าหมายในการสร้างพื้นที่สำหรับรวบรวมนักการเมือง นักวิชาการ นักคิด และผู้นำทางธุรกิจระดับโลก เพื่อมองย้อนกลับไปถึงคุณูปการของจีนในการผลักดันความก้าวหน้าทางสังคมและเศรษฐกิจ ตลอดจนสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ ๆ สำหรับจีนและประเทศอื่น ๆ เพื่อปลดล็อกการเติบโตระยะต่อไป
เหล่าวิทยากรต่างชื่นชมความพยายามของจีนในการอัดฉีดพลังงานใหม่เข้าสู่เศรษฐกิจโลกในปี 2566 นี้ รวมถึงนโยบายการรับมือโควิด-19 ที่เหมาะสม ซึ่งช่วยเพิ่มอุปสงค์ทั่วโลกและลดข้อจำกัดของห่วงโซ่อุปทาน
ในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ นายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เน้นย้ำถึงความสำเร็จของจีนในด้านการพัฒนาสังคม ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างความร่วมมือระดับโลกเพื่อรับมือกับความท้าทายที่เร่งด่วนที่สุดของโลก
นอกจากนี้ เขาได้เรียกร้องให้บรรดามหาอำนาจทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับความร่วมมือพหุภาคี ส่งเสริมการปฏิรูปเชิงสถาบันระหว่างประเทศ ปรับปรุงระบบธรรมาภิบาลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ตลอดจนมุ่งมั่นสร้างอนาคตที่มั่งคั่ง เท่าเทียม และยั่งยืน
ลอร์ดโอนีลแห่งแกตลีย์ (Lord O'Neill of Gatley) ที่ปรึกษาอาวุโสของสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร (Royal Institute of International Affairs) ได้แสดงทรรศนะที่สอดคล้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โดยเน้นย้ำว่าจิตวิญญาณของความร่วมมือระดับโลกระหว่างสมาชิก G20 ต้องได้รับการฟื้นฟูเพื่อตอบสนองต่อปัญหาระดับโลก เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ความขัดแย้งในภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสาธารณสุข เป็นต้น
นายสวี่ เจิ้งจง (Xu Zhengzhong) รองผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐศาสตร์ของสถาบันธรรมาภิบาลแห่งชาติจีน (National Academy of Governance) กล่าวว่า พิมพ์เขียวด้านการพัฒนาใหม่ของจีนจะช่วยวาดแผนที่นวัตกรรมระดับโลกขึ้นมาใหม่และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโลก ตลอดจนยกระดับมาตรฐานและบรรทัดฐานระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ได้รับประโยชน์จากโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ
นายหลิว ซิงหัว (Liu Xinghua) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจจีนแห่งสถาบันนวัตกรรมและยุทธศาสตร์การพัฒนาแห่งประเทศจีน เน้นย้ำว่าทุกประเทศมีความรับผิดชอบร่วมกันในการเดินบนเส้นทางการพัฒนาอย่างสันติและร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ เขาได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการสร้างกรอบเศรษฐกิจโลกที่ยุติธรรมและเท่าเทียมกัน โดยให้ความสำคัญกับความสมดุล ความสอดประสานกัน ความครอบคลุม ความร่วมมือ และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน