เซินเจิ้น, จีน, 19 พ.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
ในระหว่างการประชุมหัวเว่ย เอเชีย แปซิฟิก คอนเฟอเรนซ์ ประจำปี 2566 (Huawei Asia Pacific Partners Conference 2023) ซึ่งจัดขึ้นที่นครเซินเจิ้น หัวเว่ยได้แบ่งปันกลยุทธ์ด้านการสร้างพันธมิตรล่าสุดในเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนความคืบหน้าในการทำงานร่วมกันของบริษัทฯ กับพันธมิตรเพื่อสร้างสรรค์เรื่องราวการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลในภูมิภาคแห่งนี้
เอเชียแปซิฟิกถือเป็นภูมิภาคสำคัญซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังเป็นผู้นำด้านดิจิทัลและความคิดริเริ่มด้านนวัตกรรมมาอย่างยาวนาน หัวเว่ยมีพันธมิตรระดับองค์กรมากกว่า 7,900 ราย และมีพันธมิตรระบบคลาวด์มากกว่า 2,000 รายในเอเชียแปซิฟิก โดยบริษัทฯ ตั้งใจที่จะสร้างอีโคซิสเต็มพันธมิตรที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นในภูมิภาคนี้ ทั้งนี้ หัวเว่ยหวังที่จะได้เห็นธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีข้างหน้า โดยหวังว่าพันธมิตรจะสามารถสร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วนถึง 95% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัทฯ ขณะที่บรรดาพันธมิตรเองก็คาดว่าจะสามารถโกยรายได้เข้ากระเป๋าถึง 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีผ่านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการของหัวเว่ย
ในระหว่างการประชุมโต๊ะกลม "อินโนเวเชีย เทค ทอล์ก" (InnovAsia Tech Talk) แอรอน หวัง (Aaron Wang) รองประธานกลุ่มธุรกิจองค์กรประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของหัวเว่ย ได้กล่าวถึงโครงการริเริ่มด้านการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลล่าสุดของบริษัทในเอเชียแปซิฟิก
สำหรับในประเทศไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้พลิกโฉมสู่ดิจิทัลในฐานะ 'มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม' พร้อมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในสถานศึกษา ส่วนในลาว เหมืองแร่โพแทชอัจฉริยะแห่งแรกสามารถใช้งานการสนทนาผ่านทางวิดีโอได้จากใต้ดินที่ระดับความลึก 300 เมตร ด้านซีอีเอ็ม (CEM) ผู้ให้บริการด้านไฟฟ้าของมาเก๊า ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมาร์ตกริดเพื่อเพิ่มความเสถียรของการจ่ายไฟขึ้นแตะระดับ 99.9998% ในมาเลเซียมีการสร้างสนามบินที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งช่วยยกระดับทั้งประสบการณ์ของลูกค้าและประสิทธิภาพการดำเนินงาน และในสิงคโปร์ กรีนลิงก์ (Green Link) ซึ่งเป็นธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบที่กำลังเติบโต ได้รันโซลูชันการธนาคารส่วนใหญ่รวมถึงระบบงานธุรกิจธนาคารหลักบนหัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud) เพื่อเสริมความคล่องตัวทางธุรกิจ
คุณหวังเผยว่าความสำเร็จเหล่านี้ล้วนเป็นอานิสงส์จากประสบการณ์ของบริษัทฯ ในจีน โดยเฉพาะท่าเรืออัจฉริยะเทียนจิน (Smart Tianjin Port) ซึ่งสามารถลดต้นทุนลงได้ 30% รวมถึงลดการใช้พลังงานลงได้ 17% ผ่านการขับเคลื่อนอัตโนมัติและเทคโนโลยี 5G นอกจากนี้ เหมืองหงลิ่วหลิน (Hongliulin) ในมณฑลฉ่านซีได้เปลี่ยนรูปแบบการทำงานทั้งหมดมาสู่โหมดอัจฉริยะ โดยเชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดแบบดิจิทัล คุณแอรอน หวัง กล่าวว่า "เราจะรักษาความเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล พร้อมสร้างสะพานเชื่อมต่อกับพันธมิตร และเดินหน้าสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคมทั่วโลกต่อไป"
คุณโรเบิร์ต หยาง (Robert Yang) ผู้อำนวยการฝ่ายการพัฒนาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ของหัวเว่ย กล่าวว่า บริษัทวางแผนที่จะเสนอเงินทุนจูงใจมูลค่ากว่า 200 ล้านดอลลาร์แก่ตลาดบัญชีชื่อ (Named Account Market), ตลาดการค้า (Commercial Market) และตลาดการจัดจำหน่าย (Distribution Market) ของบริษัทฯ ในปีนี้ นอกจากนี้ เขายังได้กล่าวถึงโครงการกองทุนพัฒนาตลาดและโซลูชัน (Market Development and Solution Development Fund) ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะมีการจัดสรรเงินมูลค่าราว 300 ล้านดอลลาร์ในช่วง 3 ปีข้างหน้า โดยปัจจุบันโครงการนี้ได้สร้างผลประโยชน์ให้กับพันธมิตรหลายพันรายทั่วโลก ผ่านการใช้เงินทุนกว่า 50 ล้านดอลลาร์
"การพลิกโฉมสู่ดิจิทัลและระบบอัจฉริยะกลายเป็นกระแสคลื่นที่ซัดกระหน่ำไปทั่วโลก เมื่อผสานพลังของสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน มันจะสร้างพื้นที่ทางการตลาดที่มีมูลค่ามากกว่าหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ หัวเว่ยต้องการประสานงานกับพันธมิตรเพื่อคว้าโอกาสทองเหล่านี้ สำหรับตลาดเอเชียแปซิฟิก เราได้ออกแบบกลยุทธ์การพัฒนาพันธมิตรที่โดดเด่นสำหรับตลาดหลัก 3 แห่ง ได้แก่ ตลาดบัญชีชื่อ (NA), ตลาดการค้า และธุรกิจการจัดจำหน่าย สิ่งเหล่านี้ได้ช่วยตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น ทั้งหัวเว่ยและพันธมิตรของเราต่างทุ่มเทเพื่อช่วยผลักดันให้ NA ก้าวไปสู่ดิจิทัล เร่งการพลิกโฉมสู่ดิจิทัลของ SME และสำรวจบลูโอเชียนของธุรกิจการจัดจำหน่าย ในระหว่างกระบวนการนี้ เราทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันให้ประสบความสำเร็จ เราเชื่อว่าหัวเว่ยจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อพันธมิตรของเราสำเร็จด้วย ดังนั้น หัวเว่ยอยากให้ทุกฝ่ายมาร่วมมือกันเพื่อคว้าโอกาสเหล่านี้และเดินหน้าเติบโตไปด้วยกัน" คุณเดวิด หวัง (David Wang) กรรมการบริหารของหัวเว่ย ประธานคณะกรรมการจัดการโครงสร้างพื้นฐานไอซีที (ICT) และประธานกลุ่มธุรกิจองค์กร (Enterprise BG) กล่าวในการปราศรัย
ในการประชุมดังกล่าว หัวเว่ยยังได้เปิดตัวกลุ่มพันธมิตรใหม่ 6 รายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งแต่จะรายจะเข้ามาร่วมมือในภาครัฐ, การเงิน, พลังงานไฟฟ้า, อุตสาหกรรมถนน, อุตสาหกรรมทางน้ำ และอุตสาหกรรมท่าเรือ ตลอดจนในภาคส่วนผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISV) และภาคส่วนโซลูชันศูนย์ข้อมูล
นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวชุดผลิตภัณฑ์, โซลูชัน, เครื่องมือดิจิทัล และโปรแกรมสนับสนุนพันธมิตรใหม่ ๆ สำหรับตลาดเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์เครือข่ายคลาวด์อัจฉริยะระดับเรือธงตัวใหม่, ผลิตภัณฑ์ออลแฟลช และผลิตภัณฑ์ F5G