ปักกิ่ง--17 กรกฎาคม 2566--พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
รายงานโดย CRI Online
ในช่วงเช้าวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน ครั้งที่ 11 (11th Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า การประชุมนวัตกรรมจีน-อาเซียน ได้จัดขึ้นที่เมืองหนานหนิง ประเทศจีน งานนี้ร่วมเป็นเจ้าภาพโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และรัฐบาลประชาชนของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และจัดโดยสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีจีน-อาเซียน
The 2023 China-ASEAN Innovation and Entrepreneurship Competition was inaugurated at the 11th Forum on China-ASEAN Technology Transfer and Collaborative Innovation
การประชุมนวัตกรรมจีน-อาเซียนในปีนี้ประกอบด้วยการแลกเปลี่ยนหลายรายการที่มุ่งกระชับความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม ความเป็นผู้ประกอบการ การเผยแพร่วิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วยการแข่งขันนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการจีน-อาเซียน ประจำปี 2566 (2023 China-ASEAN Innovation and Entrepreneurship Competition) ที่มุ่งเปลี่ยนความสำเร็จด้านนวัตกรรมไปสู่การใช้งานจริง ขณะเดียวกันยังมีการเปิดตัวโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์สำหรับอาเซียน (Artificial Intelligence (AI) Development Cooperation Initiative for ASEAN) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและการกำกับดูแลเทคโนโลยี AI ทั้งในจีนและอาเซียน การประชุมครั้งนี้ยังเรียกร้องให้ทุกประเทศจัดตั้งกลไกความร่วมมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมมือกันในด้านการวิจัยและพัฒนา การแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีความสามารถ และการฝึกอบรม อีกทั้งยังมีการนำเสนอแผนงานว่าด้วยการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านการเผยแพร่วิทยาศาสตร์จีน-อาเซียน (China-ASEAN Science Popularization Exchange and Cooperation Work Plan) เพื่อพัฒนาและแบ่งปันทรัพยากรในการเผยแพร่วิทยาศาสตร์สู่สาธารณชน พร้อมกับส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศในสาขานี้
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 กรกฎาคม ในหัวข้อ "แบ่งปันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อบ้านที่ดีกว่าเดิม" (Sharing Science and Technology for a Better Home) โดยเน้นไปที่ AI และการดูแลสุขภาพเป็นหลัก ภายในงานประกอบด้วยพิธีเปิดงานและการประชุมหลัก, การประชุมนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์อาเซียนบวกสาม (10+3) ครั้งที่ 5 (5th ASEAN Plus Three (10+3) Young Scientists Forum), การประชุมความร่วมมือ AI จีน-อาเซียน (China-ASEAN AI Cooperation Forum) ครั้งแรก, การประชุมนานาชาติจีน-อาเซียนว่าด้วยนวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (China-ASEAN International Forum on Innovation and Cooperation for Sustainable Development) และการประชุมจับคู่เทคโนโลยีจีน-อาเซียน (China-ASEAN Technology Matchmaking Session) นอกจากนี้ ผู้จัดงานยังเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดนิทรรศการเทคโนโลยีขั้นสูง (Exhibition on Advanced Technologies) ในมหกรรมแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ครั้งที่ 20 (20th China-ASEAN Expo) ในเดือนกันยายน เพื่อสนับสนุนการสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกันและใกล้ชิดกันมากขึ้น